นิโรธสัญญา
๑
(หลวงพ่อพระดาบสสุมโน
อาศรมเวฬุวัน จังหวัดเชียงราย)
นิโรธ แปลว่า ความดับ ดับไม่เหลือ เช่นเดียวกับคำว่า นิพพาน ดับทุกข์
สัญญา แปลว่า ความจำหมาย จำได้
นิโรธสัญญา ก็คือ จำหมาย หมายรู้ ในความดับ
การปฏิบัติในแนวทางนี้
ได้แก่ การทำสมาธิภาวนา รวมทั้งการรักษาศีลด้วย ศีลเป็นส่วนหนึ่งของประตูทางเข้าสู่พระนิพพาน ผู้มีศีลย่อมอยู่ใกล้พระนิพพาน
พระนิพพานมิได้อยู่ไกลเกินเอื้อม แท้จริงอยู่ใกล้กว่ามือเราเอื้อมออกไป คืออยู่ที่ใจของเรานั่นเอง
หลักการปฏิบัตินิโรธสัญญานี้ ก็คือการทำจิตใจให้ว่างนั่นเอง เพียรทำใจให้ว่าง ก็ชื่อว่า นิโรธสัญญา หรืออุปสมานุสสติกรรมฐาน มีหลักการทำ ๓ อย่าง
อย่างแรก คือ สำเหนียกโน้มใจเข้าหาความว่าง อย่างที่สอง คือ สำเหนียกในอันสละปล่อยวางอารมณ์ในสิ่งทั้งปวง เพื่อให้ว่าง
อย่างที่สาม คือ อย่างทั่วๆ ไป มีอารมณ์ โดยสำเหนียกพิจารณา เพื่อรู้ความจริงทุกสิ่งเป็นของว่าง
(พิจารณาเห็นสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง
สังขารทั้งหลายหาสาระตัวตนไม่ได้ เป็นของว่างเปล่า)
ธาตุว่าง เป็นธาตุที่อยู่เหนือธาตุทั้งหลาย เป็นธาตุอมตะ
ไม่มีเริ่มต้น ไม่มีที่สุด
ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ไม่มีปัจจุบันธาตุว่าง เป็นธาตุเบา ธาตุสงบ ธาตุอิ่ม ธาตุพอ เป็นธาตุฝ่ายเย็น
อารมณ์
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นธาตุหนัก ธาตุวุ่นวาย ธาตุขุ่นมัว ธาตุหิว ธาตุไม่พอ เป็นธาตุฝ่ายร้อน
ธาตุเย็นควรน้อมใจเข้าถึง
ธาตุร้อนควรปล่อยวาง สลัดทิ้ง เมื่อจิตหมายมาด มุ่งมั่นโน้มตัวเข้าหาความว่าง ธาตุว่าง ธาตุเบา ธาตุสงบ
ฯลฯ อันเป็นธาตุฝ่ายเย็นอย่างเดียว จิตก็จะเคลื่อนตัวแปรสภาพจากหนักเป็นเบา
จากหยาบเป็นละเอียด จากวุ่นวายเป็นความสงบ แล้วก็จะอิ่มตัวอยู่ที่ธาตุว่างอันเดียว ไม่มีต้นไม่มีปลาย มิได้สูญ อยู่เหนือกาลเวลา เป็นอมตมหานิพพาน
ผู้ทำจิตว่าง
เป็นการปฏิบัติสมาธิ ทางลัด ทางย่อ เป็นยอดของสมาธิ เพราะสมาธิทั้งหมดล้วนรวมลงที่
"จิตว่าง" ผู้มีจิตว่าง
อยู่ด้วยความว่าง ย่อมปลอดภัยจากความทุกข์ทั้งปวง
ไฉนจะไม่เป็นทางอริยะเล่า ! ไฉนจะไม่ประเสริฐวิเศษเล่า !
แม้ทำจิตให้ว่างเพียงชั่วเวลาไก่กระพือปีก ผลานิสงส์จึงสูงกว่าเทวโลก
และพรหมโลก อย่าได้สงสัย เรื่อง สมาธิทำจิตว่างเลย
(สมาธิทำจิตให้ว่างนี้ มิได้เป็นทั้ง รูปฌาน และอรูปฌาน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น