ยอดธรรมยอดคาถา
(ฉบับสมบูรณ์)
(หลวงพ่อสุมโนดาบส
อาศรมเวฬุวัน ไร่บุญรอด เชียงราย)
ยโขธมฺมํ ธรรมใดแล
เป็นธรรมที่ไม่มีที่ภายใน และที่ภายนอก ไม่มีที่ล่วงมาแล้ว และที่ยังมาไม่ถึง ไม่มีทั้งที่กำลังเป็นอยู่
เป็นธรรมกวมทั่ว ผ่องใสปราศจากอารมณ์ต่างๆ
อันจักพึงติดต้อง เป็นธรรมว่างเปล่า จากปวงสังขตะที่เกิดดับ (สังขตะ
คือ สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ทั้งรูปธรรม และนามธรรม)
วรํตสฺส ธรรมนั้นแล เป็นธรรมอันพึงประจักษ์เฉพาะตน อันบุคคลจักพึงเห็นเอง คือพระนิพพาน เป็นที่หลุดรอดที่เรียกว่าฝั่ง ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งแห่งความตาย อันบุคคลข้ามได้แสนยาก
เป็นธรรมประเสริฐ อันพระตถาคตเจ้าตรัสแสดงไว้ดีแล้ว
เยชนาเต บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนเหล่าใดที่เป็นผู้พ้นทุกข์เข้าถึงฝั่ง ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งแห่งความตาย อันบุคคลข้ามได้แสนยาก ชนเหล่านั้นมีประมาณน้อย ส่วนหมู่สัตว์ คือชนนอกจากนี้ๆ
คือไปแล้วในอารมณ์ต่างๆ ตามเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัส) อยู่นั่นแหละ เหมือนหลับอยู่ ก็ชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระตถาคตเจ้าตรัสแสดงไว้ดีแล้ว ชนทั้งหลายเหล่านั้น จักเป็นผู้พ้นทุกข์ เข้าถึงฝั่ง
ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งแห่งความตาย อันบุคคลข้ามได้แสนยากนั้น ฯ
ชนาวรํ ก็ชนใดทำจิตของตน ไม่ให้มีที่ภายใน
และที่ภายนอก ไม่ให้มีที่ล่วงมาแล้ว และที่ยังมาไม่ถึง ไม่ให้มีทั้งที่กำลังเป็นอยู่ ไม่ให้ตามเห็นอารมณ์ต่างๆอันมาติดต้อง ให้ว่างเปล่าจากปวงสังขตะที่เกิดดับ ชนเหล่านั้น จักเป็นผู้พ้นทุกข์
เข้าถึงฝั่ง ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งแห่งความตาย อันบุคคลข้ามได้แสนยากนั้นฯ หรือมิฉะนั้น
ชนใดเป็นผู้กำหนดรู้อารมณ์ อันใดอันหนึ่งเป็นที่ตั้ง (มีรูปารมณ์ เป็นต้น)
โดยความแยบคายแห่งจิตอยู่เฉพาะ ชนนั้นก็จักประจักษ์แจ้งอารมณ์ต่างๆ ตามความเป็นจริง ที่ไม่จริง คือว่างเปล่า
แล้วระอาท้อถ้อย เหนื่อยหน่าย
คลายวาง ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งแห่งความตาย อันบุคคลข้ามได้แสนยากนั้น ฯ
โกจิตฺตํสํ ก็จิตของเรานี้เล่า มันเพลินเที่ยวไปแล้วในอารมณ์ต่างๆ ตามเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัส) เหมือนหลับอยู่
ขตํมุตฺโต ไฉนเล่า เราจักเป็นผู้พ้นทุกข์ จิตของเราจักเข้าถึงฝั่ง
ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งแห่งความตายนั้นได้ ฯ
เอโสปารโม เหตุนั้น ! กาลบัดนี้ ! เราจักทำจิตของเรา ไม่ให้มีที่ภายใน และที่ภายนอก
ไม่ให้มีที่ล่วงมาแล้ว และที่ยังมาไม่ถึง ไม่ให้มีทั้งที่กำลังเป็นอยู่ ไม่ให้ตามเห็นอารมณ์ต่างๆ
ให้ผ่องใส ปราศจากอารมณ์ต่างๆ
อันมาติดต้อง ให้ว่างเปล่าจากปวงสังขตะที่เกิดดับ
ทุกฺขํขโย เป็นผู้พ้นทุกข์ เข้าถึงฝั่ง ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งแห่งความตาย อันบุคคลข้ามได้แสนยากนั้น ฯ หรือมิฉะนั้น เราจักกำหนดรู้อารมณ์
อันใดอันหนึ่งเป็นที่ตั้ง (มีรูปารมณ์ เป็นต้น)
โดยความแยบคายแห่งจิตอยู่เฉพาะ เพื่อประจักษ์แจ้งอารมณ์ต่างๆ ตามความเป็นจริง ที่ไม่จริง คือว่างเปล่า
แล้วระอาท้อถ้อย เหนื่อยหน่าย
คลายวาง เป็นผู้พ้นทุกข์เข้าถึงฝั่ง ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งแห่งความตาย อันบุคคลข้ามได้แสนยากนั้นฯ ซึ่งเป็นธรรมที่ประเสริฐ
คือพระนิพพานเป็นที่หลุดรอด ตามที่พระตถาคตเจ้าตรัสแสดงไว้ดีแล้ว..นั้น..นั่นแล ฯ
คุณแห่งความว่างบริสุทธิ์
(หลวงพ่อสุมโนดาบส)
ความกำหนัดสิ้นไป เพราะใจว่างบริสุทธิ์
ทุกข์ดับหมดไป เพราะใจว่างบริสุทธิ์
เครื่องร้อยรัดผูกพันไม่มี เพราะใจว่างบริสุทธิ์
* การทำจิตให้ว่างเป็นทั้งธรรม
ฝ่ายเหตุ(คือมรรค) และผล(คือนิโรธ) *
ผลการปฏิบัติธรรม
ตามแนวยอดธรรมยอดคาถาสูตร
(หลวงพ่อสุมโนดาบส)
๑. ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมอันบริสุทธิ์ จะสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล จนถึงพระอรหันต์ได้ในชาติปัจจุบัน
๒. ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม แต่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งธรรม จะได้ไปเกิดในสวรรค์ จนถึงพระศรีอริยเมตไตรยมาตรัส จึงจะสำเร็จธรรมเป็นพระอรหันต์
๓. ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติโดยการท่องจำ รู้ความหมาย หมั่นภาวนา จะมีอายุยืน มีความสุข
๔. ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติท่องจำได้ แต่ไม่รู้ความหมาย ดำรงไว้ในตน จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และเดียรฉาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น