วิโมกข์ ๓
(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระธรรมปิฏก(ป.อ.ปยุตฺโต)
วิโมกข์ หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลส มี
๓ ประเภท คือ
๑. สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นรูปนามเป็น
"อนัตตา" (ไม่ใช่อัตตาตัวตนเราเขา) เมื่อเห็นรูปนามเป็นอนัตตาแล้ว
ก็ถอนความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามได้
๒. อนิมิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นรูปนามเป็น"อนิจจัง"(ไม่เที่ยง ไม่คงที่ สภาพที่เกิดมีแล้วก็ดับล่วงไป) เมื่อเห็นรูปนามเป็นอนิจจังแล้ว
ก็ถอนนิมิตทั้งปวงได้
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นรูปนามเป็น
"ทุกข์" (ภาวะที่บีบคั้น หรือทนได้ยาก) เมื่อเห็นรูปนามเป็นทุกข์แล้ว
ก็ถอนความปรารถนาเสียได้
(รูปนาม ได้แก่ ขันธ์ ๕
คือ รูปเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น