อันตรายขวางกั้นทางเข้าสู่พุทธะ
(จาก “คำสอนฮวงโป” พุทธทาสภิกขุ)
จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น
ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น
ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น
เมื่อดวงอาทิตย์ตกความว่าง ก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง
และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น
“ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง”
จิตของพุทธะ และของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเรามองดูพุทธะว่า
เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า
เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้
อันเป็นผลเกิดมาจากความคิด ยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น
จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปป์นับไม่ถ้วน
ประดุจเม็ดทรายในแม่นํ้าคงคงแล้วก็ตาม
มีแต่ "จิตหนึ่ง"
เท่านั้น และไม่มีสิ่งใด แม้แต่อนุภาคเดียว ที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ
“พุทธะ” เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง “ทาง” ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะต้องปิดบังจิตนั้นเสีย
ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง “พวกเราจะเที่ยวแสวงหาพุทธะ นอกตัวเราเอง
พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ และสิ่งอื่น ๆ
ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้ “เป็นอันตราย
และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุด” ที่กล่าวนั้น แต่อย่างใดเลย
เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุด สิ่งนั้นโดยภายในแล้ว
ย่อมเหมือนกับไม้ หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว
และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขต หรือสิ่งกีดขวางใดๆ
สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง
และไม่อาจจะหายไปได้เลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น