สุญญตสมาธิ
(พระอาจารย์นพพร อาทิจฺจวํโส อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่)
การประพฤติปฏิบัติอบรมกาย
วาจา ใจ ของเราให้ว่าง คือการทำสมาธิแบบ “สุญญตสมาธิ” คำว่า “สุญญะ” แปลว่า ว่าง ถ้ากายวาจาใจของเราไม่ว่างแล้ว
กายวาจาใจของเราก็ไม่สงบ เราก็ไม่สามารถเข้าสู่นิพพานได้
คำว่า
“อบรมกาย วาจา ใจให้ว่าง” ก็คือ
กาย
ไม่ไปฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วาจา
ไม่พูดมุสา ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ
เหลวไหลไร้สาระ ใจ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท
ไม่เห็นผิดจากคลองธรรมที่ชอบ เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐
เว้นจากการทำชั่วทั้งทางกาย วาจา ใจแล้ว
เราก็ว่างจากกรรมเวร วิบากกรรมเวร เศษกรรมเวร
เว้นขาดจากกรรมชั่ว วิบากกรรมชั่ว จากปาณา อทินนา กาเม มุสา สุรา
แล้วทำให้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อวิชชา
"ใจเราว่างแล้ว จิตของเราก็บริสุทธิ์" ไม่มีอะไร ตาเห็นรูปจิตก็ว่างจากรูป
หูได้ยินเสียงจิตก็ว่างจากเสียง จมูกได้กลิ่นจิตก็ว่างจากกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรสจิตก็ว่างจากรส
กายได้สัมผัสจิตก็ว่างจากสัมผัส
ใจรับรู้ธรรมารมณ์จิตก็ว่างจากธรรมารมณ์ พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่าสิ่งเหล่านั้น
“ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา”
เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา
“เราก็รับรู้แต่ไม่รับเก็บ” ก็ว่างแล้ว
เพราะตาเรายังดีอยู่ก็มีสิทธิจะเห็นได้ หูเรายังดีอยู่ก็มีสิทธิที่จะฟังได้ จมูกเรายังดีอยู่ก็สูดดมได้ ลิ้นเรายังดีอยู่ก็รู้รสได้ กายสัมผัสดีอยู่ก็สัมผัสได้
ใจเราปกติดีอยู่ก็รับรู้อารมณ์ได้ แต่เรารับรู้ว่าไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ก็ว่างแล้ว
"ในขณะที่จิตเราไม่ได้ระลึกถึงอะไร
? "
ไม่ว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ "นั่นแหละว่าง ! " เดี๋ยวจะนึกว่าว่างยาก ! ความจริงมันว่างง่าย ! แต่ต้องรู้จักว่าง !
ถ้าไม่รู้จัก จิตก็ไม่ว่าง วาจาก็ต้องพูด กายก็ไม่ว่าง
กายก็ต้องเดินไปเดินมา ทำโน่นทำนี่ไม่หยุด ก็จะมีแต่ทุกข์ ไม่รู้จบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น