สมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ใครเล่า ! จะรู้ถึงความตายแม้พรุ่งนี้....
เวลาที่เหลืออยู่เป็นเวลาให้โอกาสเราไม่ใช่หรือ?
พระธรรมเทศนา
พระอธิการจรัญ ทักขญาโณ วัดหลวงขุนวิน
(สาขาวัดสังฆทาน
จ.นนทบุรี) ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
จิตมีพลังที่คึกคะนองอยู่ในโลกนี้
สมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน
เป็นอุบายฝึกจิตให้ยอมสำนึกตน ให้รู้จักดีชั่ว จิตนี้ฝึกได้ ลดเหตุแห่งการคึกคะนองได้ เดิมเราจะเห็นจิตไม่ยอมรับการฝึก เพราะจิตหลงทาง
เราจึงเอาจิตไม่อยู่ จิตจะเห็นพฤติกรรมเก่าก่อนของตนว่า หลงทาง เดินทางผิดมานาน เมื่อจิตรู้ถูกก็เริ่มประพฤติตนให้ถูก
รู้ว่าศีลเป็นของดีจิตก็กัดฟันรับ แล้วศีลจะเริ่มดีขึ้น
จากเดิมที่จิตรับรู้แล้วแต่ไม่ยอม เพราะจิตดื้อ เมื่อจิตเห็นแล้วยอม รับเอาศีลเป็นเครื่องอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันกลางคืน ไม่ยอมไปไหน
พระพุทธองค์เปรียบเสมือนสารถีที่ฝึกบุรุษที่ไม่มีใครยิ่งกว่า สามารถฝึกได้ทั้งจิตของมนุษย์และเทวดาทั้งหมด จิตเหมือนสัตว์ป่าแต่ฝึกให้ดีได้ อย่างเช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ฝึกได้นำมาใช้งานได้ อัศจรรย์ว่ามีอย่างนี้ในโลกนี้ด้วยหรือ ? ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่รู้ สับสน จึงต้องเรียนรู้ตามที่มีบุคคลมาชี้แจงอธิบายของลึกให้เป็นของตื้น ของไม่สว่างให้สว่าง เหมือนจุดประทีปโคมไฟส่องให้เห็นทางที่มืด ขั้นตอนไม่ลักหลั่น จะพยายามอธิบายให้ละเอียดที่สุด ให้ชาวบ้านทั่วไปเข้าใจง่ายขึ้น
พระพุทธองค์เปรียบเสมือนสารถีที่ฝึกบุรุษที่ไม่มีใครยิ่งกว่า สามารถฝึกได้ทั้งจิตของมนุษย์และเทวดาทั้งหมด จิตเหมือนสัตว์ป่าแต่ฝึกให้ดีได้ อย่างเช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ฝึกได้นำมาใช้งานได้ อัศจรรย์ว่ามีอย่างนี้ในโลกนี้ด้วยหรือ ? ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่รู้ สับสน จึงต้องเรียนรู้ตามที่มีบุคคลมาชี้แจงอธิบายของลึกให้เป็นของตื้น ของไม่สว่างให้สว่าง เหมือนจุดประทีปโคมไฟส่องให้เห็นทางที่มืด ขั้นตอนไม่ลักหลั่น จะพยายามอธิบายให้ละเอียดที่สุด ให้ชาวบ้านทั่วไปเข้าใจง่ายขึ้น
การพิจารณาตัวให้เห็นชัดเจน จนจิตเห็นร่างกายชัดแจ้งระดับหนึ่ง จิตจะคลายความสงสัยว่า จิตไม่มีตัวแท้จริงในร่างนี้ ร่างกายเหมือนหุ่นที่เรามาอาศัย จิตเข้าใจความเห็นล็อคไว้
จนจิตละสักกายทิฐิ ละความเป็นตัวตนได้ไม่สงสัย
จิตเห็นแล้วสลดสังเวช สำนึกตัวเองกลับเป็นจิตที่ดีได้
นำไปสู่การถือศีลที่ถูกต้อง
เมื่อพิจารณาตัวเห็นตัวแจ้งขึ้นจิตจะไม่สงสัยแล้ว เมื่อก่อนจิตไม่เห็นจิตจะสงสัย ทำตรงนี้จิตจะเข้าสู่กระแสแห่งความถูกต้อง
ทำได้ถึงขนาดนั้นแล้วยังไม่พอ
จิตจะเริ่มเห็นร่างกายคืออาการ ๓๒ เห็นตลอดเวลาว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อก่อนจิตรู้เข้าใจแต่ไม่เห็นจึงไม่ยอม
บัดนี้จิตยอม เมื่อเห็นพฤติกรรมที่ตัวเองหลงผิดมาก่อน
จิตเห็นแล้วจิตวิจารณ์เอง จิตจะเห็นว่าเมื่อตัวเราไม่เที่ยง ก็ไม่ควรจะคิดอะไร ?
เพื่อใคร ? เพื่อเราหรือ ? ไม่มีในที่นี้
เพราะเราที่แท้จริงนั้นก็ไม่มี เราจะทำเพื่อใคร ?
เราอยากจะดับความปรุงแต่ง
ต้องแก้ด้วยกัมมัฏฐาน ๕ แรกๆ
ไม่เข้าใจทำไปก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้
จิตจะเริ่มเข้าใจว่า “ความปรุงแต่งเกิดจากความยึดมั่นของจิตว่าอันโน้นอันนั้นเป็นเรา
เมื่อถึงตรงนี้จิตจะเข้าใจระบบโครงสร้างความปรุงแต่งทั้งมวลเกิดจากความไม่รู้เห็นกาย จิตจึงวิ่งออกไปเป็นรูปของอารมณ์ทั้งหมด เป็นเหตุจากแหล่งนี้ เป็นตัวผลิต” เริ่มรู้ว่าเหตุของความปรุงแต่งเกิดจากแหล่งนี้เป็นตัวกำเนิด
จิตผิดหวังในการกระทำที่กอบโกยเอาสิ่งต่างๆมาเพื่อตน
เมื่อร่างอันนี้เป็นของว่างเปล่า ไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร ปรุงแต่งเพื่ออะไร
จะบอกตัวเองว่าเราโง่มานานว่า เราคิดผิดเห็นผิด
เมื่อเห็นตัวชัดแล้วรู้ว่า พระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรม พระสงฆ์มีจริง
คนนั้นเริ่มเข้าถึงพระรัตนตรัยแล้ว จิตเลื่อมใสเลย
จากที่เมื่อก่อนยังมองไม่เห็นตัวเองแล้ว หลงยึดว่าเป็นตัวตน บัดนี้ไม่มีตัวตน
ไม่รู้จะปรุงแต่งเพื่อใคร จะรู้ความจริงว่าความปรุงแต่งเกิดจากการยึดมั่นในร่างกายเป็นเหตุ เราดับความปรุงแต่ง โดยรู้ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้ทางดับทุกข์
ทางอย่างไรทำให้ดับทุกข์ได้ การรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การรู้ทางดับทุกข์ เป็นการเปิดทางเป็นระดับต้นลงสู่การชนะแล้ว จิตจะไม่เปลี่ยนแปลงความเห็นตัวเห็นตน จะไม่หายไปไหน การเห็นตัวเองจะทำให้เข้าใจอริยสัจ ๔ ประการชัด คนนั้นจะไม่สงสัยว่าพระพุทธเจ้ามีจริงไหม ? เริ่มจับหลักได้เห็นทางแล้ว รู้ระบบโครงสร้างทั้งหมดแล้ว ตรงดิ่ง ทำให้แจ้งชัดขึ้นอีก จิตมั่นคง สมาธิตรงนั้นมหาศาล เป็นสมาธิที่ใหญ่โตโอฬาร ความเพียรไม่ย่อท้อถดถอย ความเพียรระดับนี้จะไม่ถดถอย แรกๆจะฝืน เรารู้และเข้าใจได้ แก้ไขภาวะปัจจุบัน เช่น ภาวะไฟไหม้บ้านหมดแล้ว ยังไม่ได้ดับเลย ขอให้มีความเพียรทำให้มากขึ้น แรกๆจะไม่รู้ไม่เห็นแจ้ง ให้ทำไปก่อนตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ กัมมัฏฐาน ๕ ที่ซ่อนเหตุและผลที่ไม่อยู่ตำแหน่งเดียวกัน อุปมาดังซ่อนทองไว้ในผ้าขี้ริ้ว เราจึงนึกไม่ถึงซุกปมแก้ไขไว้ในอาการ ๓๒ ประการ เป็นความฉลาดของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าก็ทรงค้นคว้าจนพบ
ทางอย่างไรทำให้ดับทุกข์ได้ การรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การรู้ทางดับทุกข์ เป็นการเปิดทางเป็นระดับต้นลงสู่การชนะแล้ว จิตจะไม่เปลี่ยนแปลงความเห็นตัวเห็นตน จะไม่หายไปไหน การเห็นตัวเองจะทำให้เข้าใจอริยสัจ ๔ ประการชัด คนนั้นจะไม่สงสัยว่าพระพุทธเจ้ามีจริงไหม ? เริ่มจับหลักได้เห็นทางแล้ว รู้ระบบโครงสร้างทั้งหมดแล้ว ตรงดิ่ง ทำให้แจ้งชัดขึ้นอีก จิตมั่นคง สมาธิตรงนั้นมหาศาล เป็นสมาธิที่ใหญ่โตโอฬาร ความเพียรไม่ย่อท้อถดถอย ความเพียรระดับนี้จะไม่ถดถอย แรกๆจะฝืน เรารู้และเข้าใจได้ แก้ไขภาวะปัจจุบัน เช่น ภาวะไฟไหม้บ้านหมดแล้ว ยังไม่ได้ดับเลย ขอให้มีความเพียรทำให้มากขึ้น แรกๆจะไม่รู้ไม่เห็นแจ้ง ให้ทำไปก่อนตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ กัมมัฏฐาน ๕ ที่ซ่อนเหตุและผลที่ไม่อยู่ตำแหน่งเดียวกัน อุปมาดังซ่อนทองไว้ในผ้าขี้ริ้ว เราจึงนึกไม่ถึงซุกปมแก้ไขไว้ในอาการ ๓๒ ประการ เป็นความฉลาดของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าก็ทรงค้นคว้าจนพบ
ลองทำดู
การทำสมาธิแบบสมถกัมมัฏฐาน จิตนิ่ง เมื่อคลายจากสมาธิจิตกลับสู่สภาวะเดิม
แต่วิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นการค้นคว้าใช้สติปัญญามาก ความฉลาดเฉลียวที่จะรู้ซอกแซก ผู้มีปัญญามากคือพระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาเลิศ การรู้แจ้งเห็นตนชัดขึ้นไปๆ
เหมือนเร่งระดับเสียงจนถึงที่สุดของเสียง อย่างเราเห็นแล้วจิตส่งออกนอกหมด
แต่พระอนาคามีความเป็นหญิงเป็นชายจะไม่เหลือ เมื่อเห็นตรงนี้แล้ว
จะทึ่งในคำสอนของพระพุทธเจ้า แก้ธรรมชาติทางจิตล็อคไว้ ไม่มีกระแสอะไรรบกวน
เพราะจิตคลายออกตามลำดับ จิตเข้าใจความรู้ชัดของปัญญา
จิตจะสงบไม่กลับกลอก จิตจะเปลี่ยนจากสถานะเดิม
จุดนี้เป็นอย่างไรในระยะต่างกัน
เมื่อยังไม่ได้ปฏิบัติก็สับสน
เมื่อผ่านการประพฤติปฏิบัติจิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้
รู้จักเราไปก่อนก็รู้จักโลก
ถ้าไม่รู้จิตของเราก็ไม่รู้จักโลก
เราก็มาแก้ที่เหตุอันนี้ ความสงสัยจะสิ้นไปคนนั้นจะดับทุกข์ได้ ความเห็นนั้นไม่ดับไม่หาย
พิจารณาความตายให้เห็นตัวเอง ทำไปให้เกิดเห็นตัว เป็นการเห็นอย่างเห็นตัวรู้
เหตุทำไว้อย่างไรก็ได้อย่างนั้น ประพฤติปฏิบัติทั้งคืนทั้งวันแล้ว
จะเห็นทั้งกลางวันกลางคืน
แรงที่ผลิตออกไปเป็นกระแสต้านสงครามสู้กับกามตัณหา
ภวตัณหา และวิภวตัณหา
คนที่ชนะกิเลส ๓ อย่าง จะเป็นเอกเทศที่ไม่มีอะไรทำให้จิตล่องลอยออกไปได้อีก
เราต้องอบรมจิต บังคับจิตให้นิ่งลงในท่ามกลางกระแสกิเลส ตะล่อมจิตให้อยู่ในจุดนั้น
ไปสู้กับจิตที่จะออกข้างนอก หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ พยายามทำเข้าไป ต่อไปเกิดการพัฒนาจิตจะชำนิชำนาญ
ไปสู้จิตทั้งที่มีกระแสอยู่เหมือนมีการงาน แต่ทิ้งการงานไว้ก่อน แล้วไปนอนให้จิตสงบ
ฉะนั้นจะหยุดเสียทีเดียวไม่ได้ต้องบังคับ
เรากับอารมณ์ต้องสู้กัน ใครจะเพียรมากกว่ากัน
ให้จิตกำจัดอารมณ์ออกไป ก่อนนั้นจิตตั้งอยู่ในอารมณ์
จิตสงบมากขึ้นจนเหลือจิตหนึ่งเดียว
พยายามทำสมาธิเลี้ยงไว้ เป็นสมาธิเบื้องต้น
แต่กิเลสไม่หมดเหมือนการขีดเขียนผืนทรายบนชายหาด น้ำซัดเข้ามาก็ลบหายไป คลื่นที่มาเป็นระลอกซัดเข้ามาแรงก็ทำให้ภาพหายไปหมด สมาธิเลี้ยงจิตให้นิ่งได้นาน แต่ในที่สุดก็จะถอนออกมา มีอารมณ์เข้ามารบกวนตลอด เรากำหนดรู้ก็ดับไปเหมือนกัน อารมณ์มาแล้วสลัดทิ้งไป
พิจารณาอารมณ์ว่าเกิดจากกิเลสทั้งหมดที่มีอยู่
เราจะรักษาจิตประคับประคองไว้เลี้ยงไว้ตลอดเวลา
และเราจะไม่พบจุดจบของสมาธิที่สูงสุด ต้องคอยประคองตลอดเวลา
นิ่งไม่ตลอดเพราะอารมณ์เหมือนมียุงมากวน ยุงมีตลอดกาล เราจะปัดป้องอารมณ์ออกไปให้จิตเป็นจิตว่าง หวังว่าสักวันอารมณ์นี้จะหมดไป
ลักษณะเดียวกันจึงเหมือนกับยุงมารบกวน สมาธิมี ๒ ประเภท คือ แบบสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนาญาณ
ประเภทแรก
คือ “สมถกัมมัฏฐาน” เป็นการทำให้จิตนิ่งรักษาความนิ่งให้มากที่สุด
อะไรเข้ามากำหนดรู้ดับ เราคิดว่าสักวันอารมณ์นี้จะหมดไป
มีอารมณ์เกิดดับไปเรื่อยๆ โดยหาที่สิ้นสุดไม่ได้ มีทั้งอารมณ์ยินดียินร้าย บางขณะสงบแต่ไม่สงัด
ไม่ปราศจากอารมณ์ การทำสมาธิทำให้จิตสงบลึกเข้าไป บางครั้งบางคราวนิ่งเข้าไป จนบางครั้งจิตวูบ ถ้ารู้เด่นชัดจนจิตเป็นอันเดียว
ถ้าจิตลึกมากจะเห็นตัวเองนั่งอยู่
จิตสั่งร่างกายไม่ได้ ยกแขนยกมือไม่ได้ เป็นอัปปานาสมาธิ จิตจะว่างนิ่งอยู่ถึงจุดหนึ่งจะอิ่มแล้วคลายออกมา เริ่มรู้ตัว จิตกับตัวสัมพันธ์กัน จิตคอยปัดอารมณ์อยู่เรื่อย อารมณ์เหมือนลอยตามลมมากระทบจิตเอง
ถ้าไม่เข้าข้างตัวเองต้องยุติธรรมว่า อารมณ์เหล่านั้นมาจากจิตของเราเอง ความว่างเหล่านั้นซ่อนอยู่ด้วยกิเลส
ดุจดังความว่างของอากาศเต็มไปด้วยคลื่น
ถ้าคนนั้นไม่เข้าข้างตัวเอง อารมณ์เหล่านั้น คือ
กิเลสของตัวแสดงให้เห็น จิตจะสงบจนกระดิกเนื้อกระดิกตัวไม่ได้เลย
ซึ่งได้เท่านี้ยิ่งกว่านี้ไม่ได้ ทางตันอยู่ตรงนี้ สมาธิประเภทนี้ เป็นสมาธิแบบโลกีย์ มีมากในครั้งพุทธกาล มีผลทำให้เป็นผู้รู้
ผู้เห็น ด้วยตาทิพย์ หูทิพย์
ประเภทที่สอง
คือ “แบบวิปัสสนากัมมัฏฐาน” เป็นสมาธิที่สงบถาวร
เรานั่งนิ่งแล้วยุงมากวนทำให้เรานั่งอยู่ไม่ได้
ยุงเปรียบกับอารมณ์คงไปไม่รอด ยุงมีวงจรเกิดตายตลอด ถ้าเราจะให้ตัวเองนิ่งจิตนิ่งต้องไม่มียุง
เขาจะสาวลึกกว่าคนประเภทแรกเห็นแต่อารมณ์มี โดยการตัดสิ่งนี้เพียงอย่างเดียว ถ้าไม่มียุงก็คงนั่งนิ่งโดยไม่จำเป็นต้องตัด
ยุงเป็นสาเหตุของการนิ่งไม่ได้ ถ้าคิดอารมณ์ไม่นิ่งคอยปัดไม่จบสิ้น อารมณ์เป็นเหตุให้นิ่งไม่ได้ต้องค้นหาสาเหตุ
สาวลึกว่าเกิดจากอะไรเป็นเหตุ
เช่น ยุงมีเพราะมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ก็ทำลายที่เพาะพันธุ์ยุง อารมณ์มีเพราะมีแหล่งเกิดอารมณ์ ก็ทำลายแหล่งผลิตอารมณ์
เราจำเป็นต้องบีบบังคับจิตให้สงบ
อารมณ์เป็นปฏิกิริยาต่อจิต บังคับจิตให้นิ่งหนีอารมณ์ จิตจะเป็นสมาธิเอง เราต้องทำลายสาเหตุ คือ อารมณ์
ใช้ปัญญาใคร่ครวญเป็นวิปัสสนา ถ้าไม่มีอารมณ์จิตนิ่งตลอดกาล โดยไม่กระเพื่อม จุดเน้นให้เปลวไฟนิ่งตลอดปรารถนาว่าไม่มีลม
จิตยึดมั่นในอารมณ์เกิดเป็นกระแส ถ้าผลักให้ล้มลงกระแสจะรุนแรงมาก
เราต้องลิดรอนกระแสให้เบาบางลง โดยการอบรมมรรคมีองค์ ๘
ทางให้สัตว์ทั้งหลายล่วงออกจากทุกข์ได้
อารมณ์เหมือนน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ลาดต่ำ
เราต้องทำลายความหยุดของสายน้ำให้เหือดแห้งลง
ความนิ่งแบบที่สองนี้ เป็นความนิ่งแบบถาวร เป็นสมาธิแบบโลกุตตระ จะต้องไม่มีอารมณ์ใดๆในโลกนี้ โดยการเจริญสติปัฏฐานหรืออบรมมรรค เจริญสติและปัญญา บ่มอินทรีย์ ๕ ให้แก่กล้า
ได้แก่ ศรัทธา สติ วิริยะ สมาธิ ปัญญา ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาลึกซึ้งจนครบมรรคมีองค์ ๘ ความยึดมั่นในร่างกายนี้แยบคายมาก
จนเรามองไม่ออก อย่างเช่นเมื่อมีคนมาด่าเรา เราโกรธ
ความโกรธของเรามาจากการรักตัวเอง ทำให้เราโกรธตอบ
การยึดมั่นตัวเองไม่ปรากฏ เป็นความลับอันหนึ่งที่เราจะถามจิตดวงนี้
ถ้าเราจะถึงที่สุดทุกข์ จะไม่ถึงด้วยสงบนิ่ง
ให้ดำริออก ๓ อย่าง คือ รัก ชัง เฉยๆ
จิตจะไปข้างนอกทางตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจเราดำริออก เดินทางเส้นใหม่ จิตจะหยุดอย่างไร จิตคิดเป็นทุกข์ ความปรุงแต่งจะเป็นทุกข์มาก ยิ่งสงบ ยิ่งเห็นทุกข์ อึดอัดเสียดแทง ทำสมาธิอย่างแรกเพื่อเรียนรู้
บังคับให้สงบก็มีความสุขมากตามความลึกตื้นของสมาธิ
เห็นจิตปรุงแต่งจะเป็นทุกข์ จะเริ่มเห็นเมื่อทำสมาธิแบบแรก เห็นว่าการที่จิตคิดเป็นทุกข์ การยึดมั่นในตัวตนเป็นทุกข์ เริ่มแรกมีอริยสัจข้อ ๑ เป็นเบื้องต้น
ที่มาสาเหตุของความปรุงแต่ง คือ ไม่เห็นตัวเอง
ดับความปรุงแต่ง โดยทำให้แจ้งในสิ่งที่มืดอยู่ นึกแล้วมืด สิ่งใกล้เป็นไกลสุด
รู้ทุกข์ รู้การดับทุกข์ ปัญญาแทงได้มีสัมมาทิฏฐิ
มีความเห็นชอบนำไปสู่การเจริญสติ
เจริญความเห็นทั้งกลางวันกลางคืน รู้อริยสัจระดับหนึ่ง
รู้โครงสร้างทำให้แจ้ง เมื่อจะทำจริง จิตคิดข้างนอกไม่พบจุดจบ
ไม่มีสิ้นสุดเวิ้งว้างกว้างไกลหาที่สุดไม่ได้ ต่อไปเราปิดทางเส้นนั้น เอาจิตถอนออกเดินสู่ทางเส้นใหม่ โดยพิจารณาร่างกายในอาการ ๓๒ ทำทั้งวันทั้งคืน พิจารณาร่างกายให้แจ้งตรงใดตรงหนึ่ง
ไม่อยากจะให้เหมือนหยิบของมามองแล้ววาง อยากใช้คำว่าทำให้แจ้งเป็นภาพความรู้สึก
แจ้งอย่างไร ? แจ้งอย่างที่คิดปรุงแต่งข้างนอก
แล้วให้มาแจ้งข้างในตัวเอง นึกเห็นชัดรูปร่างหน้าตาของตนทั้งกลางวันกลางคืน
จิตสร้างภาพสว่างไสวข้างนอก แจ้งข้างนอกอารมณ์ของเราไม่สิ้นสุด
ทำให้แจ้งข้างในโดยนึกถึงสรีระตรงใดตรงหนึ่งเป็นอุบาย
ทำอย่างไรจะเห็นตนชัดแจ้งถึงที่สุด
คือมองร่างกายของตัวเองให้เห็นชัดแจ้งเหมือนอย่างที่เห็นแจ้งข้างนอกคือร่างกายของผู้อื่น
อารมณ์จะลดกระแสลงเรื่อยๆ เราจะพิจารณากายมากที่สุด จะสังเกตเห็นว่าอบรมนานเข้าๆ
จิตจะเหนื่อยแล้วนิ่ง เราต้องทำให้แจ้งให้เห็นชัด ไม่ให้จิตออกข้างนอกให้จิตว่างอยู่ภายใน
ให้จิตพิจารณาน้อมไปในทางไตรลักษณ์อย่างเดียว จิตเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ให้ความเห็นนั้นคงอยู่
การอบรมนานเป็นเดือนเป็นปี
แม้ว่าเป็นสิ่งรู้ได้ยากก็จะรู้ได้ นานเข้าเราจะเห็นตัวเองชัดขึ้น
จิตจะสร้างภาพตามความนึกคิดของเรา
จิตจะมีที่อยู่ใหม่ คือ ตัวเรา จิตเหมือนกับน้ำต้องมีที่รองรับ จิตมีธรรมชาติลื่นไหลนำมาผูกไว้กับความเห็นตัวเรา
คงไว้ซึ่งความพอกพูนความเห็นนั้น ทำให้ไพบูลย์ จะเกิดความรู้ตัวทั่วพร้อม
มีสติปัฏฐาน สมาธิ และปัญญา จิตไม่อยู่ข้างนอก เห็นตัวเองภายใน
จิตจะค้นคว้าพิจารณาอบรมแก่กล้า จะเห็นตัวเองขึ้นทีละน้อยๆ ชัดขึ้นๆ
ความรู้เห็นแก่กล้าขึ้นลุกลามไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย
จิตจะเป็นสมาธิถาวรที่ไม่แกว่ง เกิดผลคุ้มค่า
เป็นสมาธิที่ไม่เสื่อมไม่หาย เป็นสมาธิที่ยั่งยืนต่อเนื่องไปตามลำดับ ทำมากขึ้นเห็นตัวเองชัดขึ้น
เพียรอุดรูรั่วของจิต ไม่ให้จิตรั่วออก การอุดกลางคืนจิตไปรั่วกลางวัน ทำให้มากขึ้นนานเข้าเกิดเป็นสติสัมปชัญญะ
เห็นสรีระทั้งหมด ความจริงความเห็นนี้ไม่ดับไม่หาย จิตรู้ความจริงของสกนธ์กาย
หลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็น ความเห็นยั่งยืนตลอดเวลา ๒๔
ชั่วโมง รู้ตัวทั่วพร้อม เกิดสลดสังเวช ร่างกายเรามีอย่างไร คนอื่นก็มีอย่างนั้น ตัวตนในร่างนี้ไม่มี ความรู้เห็นจะเป็นพยาน
จิตจะยอมเชื่อคลายกิเลสออก เห็นตนไม่มีอะไร เห็นความโง่ของตัวที่คว้าอารมณ์ คว้าคนอื่นมาเป็นของเรา และสมบัติพัสถานต่างๆ มาเป็นของเรา
เรารู้เราเข้าใจแต่จิตไม่เห็น
รู้แต่ไม่เห็น เพราะจิตไม่เคยอบรมมา เพื่อให้จิตยอมรับสำรอกกิเลสออก
เห็นตนประดุจซากศพ ไม่เป็นหญิงเป็นชาย ราคะที่เกิดแล้วก็เบาบางลง
ราคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิด ถูกลิดรอนอำนาจลง จิตนิ่งลงตามลำดับ กระแสเบาลงๆเหมือนการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จิตทำลายอารมณ์เป็นวิปัสสนา
จิตทั้งหมดเห็นตัวเองเป็นของว่างเปล่า
เห็นตนประดุจซากศพ จิตเห็นชัดในมหาภูตรูปทั้ง ๔
เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ จิตยอมรับ เห็นสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง
จิตเป็นผู้เข้าใจในอายตนะทั้ง ๖ อันได้แก่ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ รู้ทุกข์ที่เกิดตามเป็นจริง รู้ทางออกจากสิ่งนี้ตามจริง รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นของว่างเปล่า สุขทุกข์ที่แสวงหามาเพื่อร่างกายนี้ก็ว่างเปล่า ตาวิ่งไปในรูปถูกตัดออก มีตาสักแต่ว่าเห็น จิตไม่ออกทางตา
มีหูสักแต่ว่าได้ยิน จิตไม่ออกทางหู
ผัสสะนำมาซึ่งเวทนา รูปไม่เที่ยง อายตนะก็ไม่เที่ยง
รู้การดับสนิทเป็นสมาธิยั่งยืน เป็นสมาธิที่ไม่กลับกลอก เป็นสมาธิถาวรตลอดชีวิต
คนๆนั้นพ้นจากโลกนี้ได้ไม่แปรสภาพ "จิตเป็นหนึ่งตลอด
ไม่มีอารมณ์" เพราะจิตไม่ออกข้างนอก
จึงไม่ต้องควบคุมอีกต่อไป จิตเป็นเอกเทศ
จิตเป็นหนึ่งโดยไม่ต้องประคอง ผลที่ได้เป็นเกณฑ์ของความถูกต้อง
ความเลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธเจ้าถึงที่สุด
กราบไหว้พระพุทธองค์อย่างซาบซึ้งถึงใจว่า
พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นสิ่งประเสริฐเลิศที่สุดในโลก
เพราะการเรียนรู้เข้าถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นสิ่งรู้ได้ยากเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญ
เป็นสิ่งที่พิจารณาตรึกตรองเอาไม่ได้
ดับกิเลสได้ใจเป็นหนึ่ง จิตดวงเดียว สมาธิไม่แปรสภาพ
แม้จะเข้าสมาธิหรือออกจากสมาธิก็สงบตลอดอายุของคนๆนั้น ไม่มีการเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้
การเนสัญชิกจะได้เท่าที่ได้ทำไว้
ลงทุนขนาดไหนก็ได้เท่าที่เราทำได้ เราวางตำแหน่งไว้ตรงไหนแล้วทำได้แค่ไหน อดทนต่อการหลับการนอนเพื่อสอนตัวเองให้มีนิสัยและเพื่อให้ต่อสู้
เรามองเห็นตัวเองแค่ไหนก็จะรู้ได้มาก
จนชนิดว่าทำทั้งวันทั้งคืนจะเป็นเครื่องอยู่ของจิต
ใช้เวลานานประมาณ ๓ ปี ยากเย็นเหลือเกิน เมื่อยังไม่เห็นก็ไม่ยอมทำเรื่อยไป
ทำจนการเห็นตัวเองเป็นเครื่องอยู่ตลอดเวลา
ดูความอยู่ของจิตเป็นมาตรฐาน เหตุทำไว้น้อยจะหวังผลเอาเป็นปีหรือเป็นเดือนไม่ได้
การเห็นตัวทีละน้อยๆ จะค่อยๆลุกลามไปเอง การเห็นจะมากขึ้นๆจนเห็นทั่วทั้งตัว
เมื่อเห็นแจ้งแล้วจะละสักกายทิฏฐิได้ จิตเป็นหนึ่งเดียว
จิตดับความปรุงแต่งได้ไม่มีเหลือ
ไม่ต้องประคองเพราะสั่งสมไว้มากทำไว้มาก จะลดกระแสเดิมให้ชะลอตัวช้าลงเป็นมาตรฐาน
อินทรีย์จะแก่กล้าขึ้นตามลำดับตามความเพียร
การอบรมมรรคทำให้เกิดผลงดงาม
มาตรฐานเป็นเรื่องเข้าใจได้ยาก สมาธิยั่งยืนเป็นสมาธิหนึ่งเดียวมีอยู่ไม่ต้องประคับประคอง จิตไม่ออกไปข้างนอก
ระบบนี้จิตจะเพิกถอนไม่มีความปรุงแต่งใดๆ อวิชชาดับ สังขารดับ วิญญาณดับ
สฬายตนะดับ จิตดับสนิท อายตนะถูกรื้อถอน มีตา มีหู
เป็นมาตรฐานที่ทำให้เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าทรงสอนเรื่องจริง มีจริง พิสูจน์ได้จริง
มีความสุขจริงตามที่เสวยอยู่ จิตเป็นหนึ่งเดียว
หยุดการคิดนึก เพราะจิตรู้ว่าไม่มีอะไร อบรมจนจิตให้คลายอารมณ์ออกสงบระงับแล้ว ไม่ต้องทำความเพียรอีก
เป็นมาตรฐานตลอดเวลา สมาธิถูกต้อง เป็นสัมมาสมาธิ จิตพ้นจากภาวะทั้งปวง พยายามอบรมให้เกิดขึ้น ขอให้รู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วนำไปพิจารณาด้วยสติปัญญา
ความเพียรของตนสู่การพ้นทุกข์
ผู้ที่รู้ความจริงของขันธ์ ๕ ภิกษุก็ดี สมณพราหมณ์ก็ดี ที่รู้ความเป็นจริงของขันธ์
๕ แล้วรู้คุณรู้โทษ รู้อุบายออก รู้ปฏิปทาออก ชื่อว่า
รู้ในสิ่งที่เป็นเลิศ รู้ประเสริฐ รู้อย่างเลิศ รู้ทางออกจากขันธ์ ๕
ตามความเป็นจริง รู้แล้วจึงจะออกได้ ถ้าไม่รู้ก็ออกไม่ได้ เอาความรู้อันนี้เป็นที่มาของการออกจากทุกข์
ทำจริงๆ
ก็ได้ผลจริงๆ ถ้าไม่ทำจริงเราก็ไม่ได้ผล ที่สุดก็คือเห็นแจ้งที่ตัวเรา แจ้งขันธ์ ๕
เมื่อประพฤติปฏิบัติแล้วจะมีอาการซึมเศร้า
ผิดหวังที่เราคึกคะนองอยู่ในโลกนี้ เมื่อเราพิจารณาอสุภะ อ๋อ !
ไม่มีอะไร จิตห่อเหี่ยวหมดเลย ห่อเหี่ยวไม่ใช่ไม่ดีนะ ดีจิตจะได้หยุดคึกคะนองซะที
เป็นอุบายให้จิตยอมสำนึกตนให้รู้จักดีรู้จักชั่ว
จิตนี้ฝึกได้ หยุดได้ ลดการคึกคะนองของตัวเองลงตามลำดับ สิ่งนี้เป็นเหตุว่า
ตนเองเริ่มจะผิดหวังกับการที่รู้ว่าตัวเองไม่มีอะไร เมื่อก่อนก็รู้ว่าไม่เที่ยง
ใจเห็นอย่างหนึ่ง ตาเห็นอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน การคิดไปข้างนอกทำให้เราสลดข้างนอก แต่ใจไม่ยอมสลด การที่จิตเห็นตนเองว่าไม่เที่ยงแล้วยอมรับ จิตจะได้หายพยศ
เพราะจิตผิดหวังในความเป็นจริงว่า
ตัวของเราไม่เที่ยงจริงๆ เราก็รู้มาก่อนแล้วว่ากายไม่เที่ยง แต่จิตไม่เห็นจึงไม่ยอมรับ บัดนี้ จิตหยุด เริ่มชะงักแล้ว เริ่มจะทบทวนความไม่ดีของตัวเองว่า โอ้ ! เราหลงทางแล้ว
จิตก็ไม่รู้มาก่อนว่า หลงทาง เราเองก็งงตามจิตไปด้วย ต่างคนต่างไม่รู้พากันหลงมาตลอด เมื่อรู้ตรงนี้จิตจะเริ่มเห็นพฤติกรรมเก่าก่อนของตนว่า
เดินมานี้หลงผิด เดินทางผิดมานาน
เมื่อรู้ผิดก็ย่อมจะรู้ถูก เมื่อรู้ถูกก็เริ่มจะประพฤติในสิ่งที่ถูก เมื่อจิตเป็นอย่างนี้ ศีลจะเริ่มดีขึ้นแล้ว
บางครั้งเรารับศีล แต่จิตไม่ค่อยยอมรับ เราต้องยัดเยียดให้ ไม่ยอมไม่เป็นไร
ยัดเยียดให้เพราะจิตมันดื้อ แต่เมื่อถึงตรงนี้แล้ว
จิตเริ่มยอมรับแล้ว เออ....ดีๆ ศีลนี้ดี รู้สึกว่าการรักษาศีลแล้วตัวเองจะปลอดภัย เมื่อก่อนไม่ค่อยเห็นหรอก บุญก็ไม่อยากเอา
รู้ว่ามีประโยชน์แต่ไม่อยากเอา เพราะจิตมันดื้อ ถ้าศีลเป็นของดี คนก็แย่งกันถือนะซิ แต่คนไม่แย่งกันเลยไปแย่งอย่างอื่นซะ เพราะการไม่ยอมรับ จิตไปเห็นตัวเองอย่างนั้นก็เริ่มยอมรับเลย แล้วความเห็นอันนั้นก็ไม่หาย
เห็นกายไม่ได้หาย แล้วจิตจะเปลี่ยนแปลง
จิตที่เห็นแจ้งจะเป็นระบบที่รักษาเอาไว้เป็นเครื่องอยู่
ให้จิตอยู่แล้วเห็นตลอดเวลา เราทำทั้งกลางวันและกลางคืน
เราก็เห็นแจ้งตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่มีหายไป จิตประกบไว้เลย
ความเห็นอันนั้นประกบกับจิตเป็นตัวเดียวกัน เลยไม่หายไปไหน สลดใจก็อยู่ตรงนี้ ไม่สลดใจก็อยู่ตรงนี้ ดื้อขนาดไหนก็อยู่ตรงนี้
จิตถึงจะเริ่มยอม
จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงเปรียบเหมือนสารถีที่ฝึกบุรุษไม่มีใครยิ่งกว่า คือ
การฝึกจิตนี่เอง ฝึกมนุษย์และเทวดาทั้งหลายให้ดีได้ เทวดาก็ฝึกจิตตนนั่นเอง เป็นสัตว์ป่าเลยนะ ป่าเถื่อนเหมือนกันนะ
แต่ฝึกให้เป็นจิตที่ดีได้ ช้าง ม้า วัว ควาย ที่เป็นสัตว์ป่า เขาก็ยังฝึกใช้งานได้ ฉันใดจิตนี้ก็เหมือนกันฝึกได้ฉันนั้น
ก็อัศจรรย์ว่ามีอย่างนี้ด้วยหรือโลกนี้
ไม่มีใครสอนนอกจากพระพุทธเจ้า
แต่เราถือกันมาแบบไม่เป็นรูปธรรมอย่างนั้น
เราก็เข้าใจไม่ได้ซิ
จึงเป็นที่มาของความมืดมนและสับสนว่า พระพุทธศาสนาดียังไงหรือไม่ดียังไง ? เชื่อว่าพุทธศาสนาดีแน่นอนแต่ไม่รู้ว่าดียังไง ? คำสอนของพระพุทธองค์ที่สั่งสอนกันมาเราก็เข้าใจไม่ได้ จึงต้องมาเรียนรู้จากบุคคลอื่นที่ชี้แจง
ทั้งๆ ที่เราเคยรู้มาก่อนแต่ก็แยกแยะไม่ออก
เข้าใจไหมนี่ เคยได้ยินใครที่ไหนอธิบายอย่างนี้
ก็อยากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆชาวบ้านฟังรู้เรื่อง
ของลึกต้องให้เป็นของตื้น ลึกแล้วให้ลึกกันไปอีก ก็ยิ่งไปกันใหญ่ เราจะเห็นภาชนะที่คว่ำอยู่ให้หงายออก
ของที่ไม่สว่างให้สว่าง เป็นประทีปโคมไฟให้เห็นทางส่องทาง ได้พยายามอธิบายชี้แจงอย่างละเอียดที่สุด ชัดเจนมีเหตุมีผลในตัว และเป็นขั้นตอนที่ไม่ลักหลั่นเป็นไปตามลำดับแล้ว จนถึงที่สุดของการดับทุกข์ เท่าที่มีเวลาเอื้ออำนวยให้
ความจริงเรื่องที่จะนำมาสอนนั้นมีมากมาย สอนกันทั้งวันทั้งคืนก็ไม่หมด
แต่พยายามจะให้ยุติตรงไหนเท่านั้นเอง
ถ้าเราพิจารณาตัวได้ชัดเจนขึ้นมา
ความเชื่อสนิทของใจไปเห็นร่างกายอันไม่เที่ยงของตัวเองชัดระดับหนึ่ง
คำว่าระดับหนึ่งนี่คือ ยังไม่สิ้นสุด ต้องถึงอีกระดับหนึ่งที่เป็นมาตรฐานเพียงพอ
จิตนั้นจะคลายความสงสัยว่า ไม่มีตัวของเราที่แท้จริงในร่างอันนี้ ตัวตนของตนก็ไม่มี ตัวของเราเหมือนหุ่นอันหนึ่งที่เรามาจับจองเอาไว้
ที่เรามาอาศัยแล้ว
ความเห็นอันนั้นประกบจิตเอาไว้ไม่ให้แปรเปลี่ยน
ความเห็นเข้าใจแล้วล็อคไว้เลยไม่ให้จิตกลับกลอก
จนจิตนั้นละสักกายทิฐิ ละความเป็นตัวตนของตน ความเห็นที่ว่าเป็นเราเป็นเขา
ไม่สงสัย จิตเมื่อเห็นอย่างนี้จะสลดสังเวช
แลเห็นความไม่ดีของตัวเราไปทางที่เลวทรามต่ำช้า
เมื่อก่อนนี้จะเลวทรามต่ำช้าอย่างไรไม่สำนึกเลย แต่เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว
เขาจะกลับสำนึกตัวเองแล้ว เป็นจิตที่ดีได้ เรียกว่า “ถือศีลที่ถูกต้อง”
ถ้าเราพิจารณาตัวให้แจ้งขึ้นไปๆๆๆ
การเห็นตัวตนเห็นความไม่เที่ยงของตัวเองไม่สงสัยแล้ว
เมื่อก่อนก็เข้าใจนะไม่ได้สงสัยมาก่อน หรือสงสัยแต่จิตไม่เห็น
เมื่อจิตเห็นแล้วจะละความสงสัยเอง ตัวเราไม่สงสัยแต่จิตสงสัย
ทำตรงนี้แล้วจิตถึงจะเข้าสู่กระแสแห่งความถูกต้อง จิตเริ่มลงสู่กระแสแล้วว่า
บุคคลนี้รู้และเข้าใจ แม้ถึงขนาดนั้นยังไม่พอ จิตจะเริ่มเห็นว่าร่างกายอาการ ๓๒
ของเราเห็นอยู่ตลอดเวลาว่า ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง สักแต่ว่าร่างกายประชุมกันด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้ว เมื่อก่อนไม่รู้หรือ?
ก็รู้และเข้าใจ แต่จิตไม่เห็น จิตจึงไม่ยอม
เมื่อจิตเห็นแล้วจิตนั้นยอม
ก็จะเห็นลักษณะพฤติกรรมของจิตที่ชัดเจนขึ้นว่า
อะไรไม่ถูกต้องและรู้ว่าตัวเองหลงผิดอย่างไร
อันนี้เราคิดเองไม่ได้ต้องเป็นอาการของจิตที่เกิดขึ้นเอง เราจะต้องพาจิตนี้ไปก่อน
แล้วให้จิตไปเห็นเอง แล้วเป็นผลขึ้นมา จิตเองจะเห็นว่า เมื่อตัวเราไม่เที่ยง
เราก็ไม่ควรจะคิดอะไรเพื่อใครซิ แล้วเราก็เข้าใจว่า ความคิดนี้ก็เป็นความทุกข์ ปรุงแต่งไปแล้วจะปรุงเพื่อใคร?
ในเมื่อเราก็ไม่มีในที่นี้แล้วจะปรุงแต่งเพื่ออะไร?
เพราะตัวเราแท้จริงก็ไม่มีอะไร
การปรุงแต่งก็ไม่ได้อะไร ไม่รู้จะทำเพื่อใคร จึงมีการมองระบบการปรุงแต่ง โดยมองว่าเราอยากจะดับความปรุงแต่งให้จิตสงบ
แต่ทำไมต้องแก้ที่กัมมัฏฐาน ๕
เราอยากจะดับความปรุงแต่งแล้วเกี่ยวข้องอะไรกับ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แต่ทีแรกเราไม่เข้าใจ ไม่เป็นไรทำไปก่อน
จิตจะเริ่มเข้าใจว่า ความปรุงแต่งเกิดจากความยึดมั่นของจิตว่า อันโน้นเป็นเรา
อันนั้นเป็นเรา จึงทะเยอทะยานตลอด
เมื่อถึงตรงนี้จิตจะเข้าใจระบบโครงสร้างของความปรุงแต่ง
ที่เกิดจากการไม่รู้เห็นตรงนี้ ความเหนื่อย
แข้งขาปวดเมื่อย ทุ่มเททำไปเถิด แม้จะเหน็ดเหนื่อยมาก แต่ผลที่ได้สุดคุ้ม
ไฉนเลยเราจะดูถูกความสามารถของตน ความสุข ความเกียจคร้าน ความไม่ก้าวออก
เราก็จมอยู่ในสังขารนี้อยู่ แล้วติดสุขอยู่ในสังขารอยู่แล้ว
การอดหลับนอนเมื่อยล้าต่างๆก็เป็นสังขารร่างกายของเราอยู่แล้ว ไหนๆจะต้องทิ้งขว้าง
เราก็จับเขามาใช้ก่อนๆ ที่จะทิ้งขว้างเพื่อเอาสาระในสิ่งที่ไม่ใช่สาระ
แต่สาระก็มีอยู่ในสิ่งนั้นเอง “ไฉนเลยเราจึงไม่ก้าวเดินล่ะ
อย่าดูถูกความสามารถของตน ตนของตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน
ใครอื่นจะเป็นที่พึ่งของเราเล่า ใครเล่าจะรู้แม้แต่ความตายในวันพรุ่งนี้ การผัดเพี้ยนของพญามัจจุราชไม่มีเลยสำหรับเรา"
การผัดผ่อนว่าขอให้อย่าตายนะ
อย่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่มีสำหรับเรา
เวลาที่เหลืออยู่เป็นเวลาให้โอกาสเราไม่ใช่หรือ ?
โอกาสมีอยู่แล้ว แต่อยู่ที่การทำตนของตนนั่นแหละ
เราจะทำลายตนหรือเราจะทำกิจที่เป็นประโยชน์ของตนก็คิดดู
ก้าวเดินซิ
! ก้าวเดิน ! เดินขึ้นไป
! สังสารวัฏอันยาวไกลนี้
เราจะต้องร้องไห้หัวเราะไปอีกนาน จงมองเห็นโลกโดยความเป็นโลก และโดยความเป็นโทษ
ถึงอย่างนั้นความเป็นโทษก็มองได้ยาก จะเห็นได้ต้องมองไปตามลำดับ
จึงจะเห็นโทษของความเป็นโลก
จิตนี้ไม่ได้หมายถึงว่าเขาจะเป็นอยู่อย่างนี้
จิตที่ถูกฝึกจะวิวัฒนาการไปสู่ความรู้แจ้งหรือความสงบระงับ
เราโชคดีเจอพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้แล้ว
คำสอนยังอุบัติอยู่ในโลก และเป็นคำสอนที่ยังสมบูรณ์อยู่ โอกาสคงไม่ใช่มีแก่เราอย่างง่ายๆ แต่โอกาสนี้มีอยู่
เราจะปล่อยให้โอกาสล่วงเลยไปหรือ ? โอกาสอย่าล่วงเลยแก่เราเลย
อย่าปล่อยโอกาสให้ล่วงเลยไป ฉะนั้น จงทำเสีย
ทำความเพียรตั้งแต่วันนี้นั่นเทียว พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้อย่างนั้น ใครเล่าจะรู้ความตายอาจมาถึงแม้ในวันนี้หรือพรุ่งนี้
พฤติกรรมของจิตที่วิ่งออกไป กิริยาจิตก็ต้องวิ่งตาม กิริยาจิตที่วิ่งไปจึงเป็นที่มาของการสร้างกายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม แล้วสุจริต ๓ ทุจริต ๓
ก็เกิดขึ้นตามมาไปสู่ระบบของการท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏอันยาวไกลโดยทางจิตนี้ เพราะความหลง ความไม่รู้มีประการต่างๆ
เราโชคดีแล้วเจอพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ไฉนหนอ !
จะทำให้เราสำนึกว่า จะประมาทอยู่ไยเล่า ! ถ้าโอกาสเป็นเหมือนลมพัดผ่านเราไปแล้ว
จะมีไหมหนอ ! ที่จะเกิดมาเจอคำสอนของพระพุทธองค์อีก จะเกิดเป็นอะไรก็ไม่ทราบในอนาคตข้างหน้า
แล้วเราจะไปหล่นอยู่ในสภาวะไหนของโลกนี้ ในเมื่อเรายังไม่มีอำนาจในตัวของเราเอง เราขึ้นอยู่ในอำนาจของกิเลสทั้งสามนั้นเป็นตัวครอบงำ เราคิดบ้างไหมว่า เราจะเป็นอิสรภาพเมื่อใด จะเป็นอิสรภาพหรือไม่
ดูเอาเถิดจิตช่างวิ่งหาอารมณ์น้อยใหญ่เสียมากมาย เหมือนจะไม่เบื่อหน่าย แม้แต่เจ้าของจิตเองก็วิงวอนจิตนั้นอยู่ตลอดเวลาว่า เธออย่าไปเลย
ก็หาได้ฟังไม่ เขาก็จะไปตามอำนาจของเขาเอง
เราก็ถูกลากไปตามเขานั่นเอง
เหมือนรอยเกวียนที่ตามรอยเท้าโคไปเรื่อยๆ และดุจเงาตามตัวเรา จะถึงสิ้นสุด ณ ที่ใดหนอชีวิตนี้ น่าคิดนะ !
“บุคคลที่เกิดมาแล้วอาศัยคำสอนพระพุทธองค์ทรงยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ คนนั้นแลชื่อว่าโชคดีที่สุดและเป็นบุคคลที่เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นกำลังของบุรุษที่ล่วงทุกข์ได้ทั้งปวง บุคคลนั้นแลเป็นผู้สงบระงับ เป็นผู้สิ้นแล้วซึ่งการท่องไปในโลกกว้าง” จิตนั้นต้องรู้ว่า ท่องไปในโลกกว้าง ถ้าจิตดวงนั้นเลิกเสียแล้ว ทุกอย่างก็ยุติ คนนั้นก็ถึงสันติสงบระงับ การก้าวเดินของความเพียรเป็นสิ่งอันควรแท้ที่เราจะต้องทำ นั้นแหละจะนำมาซึ่งความพ้นทุกข์ได้ เราต้องทำให้ได้นะ นาทีสุดท้ายแล้วได้ยินเสียงระฆังยามเช้าดังแล้ว
“บุคคลที่เกิดมาแล้วอาศัยคำสอนพระพุทธองค์ทรงยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ คนนั้นแลชื่อว่าโชคดีที่สุดและเป็นบุคคลที่เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นกำลังของบุรุษที่ล่วงทุกข์ได้ทั้งปวง บุคคลนั้นแลเป็นผู้สงบระงับ เป็นผู้สิ้นแล้วซึ่งการท่องไปในโลกกว้าง” จิตนั้นต้องรู้ว่า ท่องไปในโลกกว้าง ถ้าจิตดวงนั้นเลิกเสียแล้ว ทุกอย่างก็ยุติ คนนั้นก็ถึงสันติสงบระงับ การก้าวเดินของความเพียรเป็นสิ่งอันควรแท้ที่เราจะต้องทำ นั้นแหละจะนำมาซึ่งความพ้นทุกข์ได้ เราต้องทำให้ได้นะ นาทีสุดท้ายแล้วได้ยินเสียงระฆังยามเช้าดังแล้ว
สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนมีความสุขความเจริญ
ทำตนของตนให้พ้นทุกข์
แล้วทำความเพียรให้รู้แจ้งเห็นจริงในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ขอให้ทุกคนประสบแต่ความสำเร็จความเจริญจนถึงที่สุด
รู้แจ้งเห็นจริง และสิ้นอาสวะทั้งหลาย ในที่สุดในอนาคตกาล ทุกคน ทุกท่าน เทอญ
.........
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น