ขันธ์ ๕
นำพระอธิการจรัญ ทกฺขญาโณ
วัดหลวงขุนวิน
(สาขาวัดสังฆทาน
จ.นนทบุรี)
หมู่ที่ ๗ ต.ดอนเปา
อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
******
เจริญสุขสาธุชนผู้รับฟัง รายการอมตธรรมนำชีวิต วันนี้จะแสดงธรรมเรื่อง “ขันธ์ ๕” ขันธ์ ๕ คืออะไร การรู้แจ้งขันธ์ ๕ เป็นอย่างไร
ขันธ์
๕ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
รูปกับนาม(กายและจิต) กองรูปมี ๑ กอง คือร่างกายนี้ ส่วนนามมี ๔ กอง คือ เวทนา
สัญญา สังขาร และวิญญาณ ในพระไตรปิฎก กล่าวเรื่องการเกิดดับของขันธ์ ๕
ไว้ว่า
รูปเกิดจากอาหาร เพราะความดับไปแห่งอาหาร ความดับรูปจึงมี
เวทนาเกิดจากผัสสะ เพราะความดับไปแห่งผัสสะ ความดับเวทนาจึงมี
สัญญาเกิดจากผัสสะ เพราะความดับไปแห่งผัสสะ ความดับสัญญาจึงมี
สังขารเกิดจากผัสสะ
เพราะความดับไปแห่งผัสสะ
ความดับสังขาร จึงมี
วิญญาณเกิดจากนามรูป เพราะความดับไปแห่งนามรูป
ความดับวิญญาณจึงมี
ขันธ์ ๕ เป็นเรื่องของความละเอียดอ่อน
เป็นหลักใหญ่ที่ต้องทำความรู้จักอย่างมาก ต้องเข้าถึง เข้าใจ และรู้แจ้ง
ด้วยการอบรมกายคตาสติตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้าจึง จะ รู้รูปเป็นอย่างนี้ รู้เวทนาเป็นอย่างนี้ รู้สัญญาเป็นอย่างนี้ รู้สังขารเป็นอย่างนี้ และรู้วิญญาณเป็นอย่างนี้ จึงจะพ้นจากอุปาทานขันธ์
๕ ได้
รูปคืออะไร? “รูป” คือ ร่างกายนี้ รู้ว่าอะไรคือการเกิดของรูป อะไรคือการดับของรูป อะไรคือคุณของรูป อะไรคือโทษของรูป อะไรคืออุบายออกจากรูป และอะไรคือปฏิปทาออกจากรูปนี้
ความเกิดของรูป คือการเกิดจากอาหาร ความดับของรูปคือ ความดับไปแห่งอาหาร สุขโสมนัสใดๆที่อาศัยรูปนี้เกิดขึ้น
สุขโสมนัสนั้นๆ คือ รสอร่อยของรูปนี้ เป็นคุณของรูป
แต่รูปไม่เที่ยงจะมีการแตกดับกระจัดกระจายไปนี้ คือโทษของรูปนี้ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปนี้เสียได้ เป็นอุบายออกจากรูป มรรคมีองค์ ๘ เป็นปฏิปทาออกจากรูปนี้ได้
เมื่อรู้รูปโดยความเป็นรูปแล้ว ก็มารู้เวทนาโดยความเป็นเวทนา ร่างกายตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้าเป็นรูปหยาบคือร่างปัจจุบัน
เราต้องรู้รูปหยาบเสียก่อน แล้วไปรู้รูปละเอียดที่ซ่อนอยู่ในรูปหยาบต่อไป คือ เวทนา
สัญญา สังขาร และวิญญาณ
เวทนาคือะไร? “เวทนา” คือ การเสวยอารมณ์
เสวยอารมณ์เป็นสุขบ้าง
เสวยอารมณ์เป็นทุกข์บ้าง
เสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ตัวเราทั้งหมดประกอบด้วยขันธ์
๕ นี้ แบ่งเป็นฝ่ายรูปและนาม นามคือฝ่ายจิตแบ่งความรู้สึกออกไปทางทวารที่ ๖
ไปสัมผัสกับอารมณ์ภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
แล้วก็เกิดความรู้สึกปฏิกิริยาขึ้นมา เมื่อกระทบแล้วมีความสุข เขาเรียกว่า สุขเวทนา เมื่อกระทบแล้วมีความทุกข์
เขาเรียกว่า ทุกขเวทนา เมื่อกระทบแล้วไม่สุข ไม่ทุกข์
กลางๆ เฉยๆ เขาเรียกว่า อทุกขมสุขเวทนา เวทนาทั้ง ๓นี้ เป็นความเกิดของความทุกข์ของคนที่มีอุปาทานในขันธ์ ๕
เพราะจิตไปข้องเกี่ยวกับอารมณ์ข้างนอก
อะไรคือการเกิดของเวทนา อะไรคือการดับของเวทนา อะไรคือคุณของเวทนา อะไรคือโทษของเวทนา อะไรคืออุบายออกจากเวทนา
และอะไรเป็นปฏิปทาออกจากเวทนานี้
ความเกิดของเวทนา คือความเกิดของผัสสะ(การกระทบ) ความดับของเวทนา คือความดับไปแห่งผัสสะ สุขโสมนัสใดๆที่อาศัยเวทนาเกิดขึ้น สุขโสมนัสนั้นๆ
เป็นรสอร่อยของเวทนานี้คือคุณของเวทนา แต่เวทนาไม่เที่ยงแปรเปลี่ยนเสมอนั่นคือโทษของเวทนา การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในเวทนานั้นเสียได้นั่นคืออุบายออกจากเวทนา มรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือปฏิปทาที่นำไปสู่การดับเวทนานั้นๆ
วันๆหนึ่งนั้น เรามีเวทนา ๓ นี้ตลอดวัน
สังเกตดูจะเห็นว่าจิตของเราคิดปรุงแต่งไปในอารมณ์ต่างๆ แบ่งเป็นอารมณ์ ๓ อย่างเท่านั้น คิดแล้วชอบเป็นราคะ
คิดแล้วไม่ชอบเป็นโทสะ คิดแล้วเฉยๆกลางๆเรื่อยๆไปเป็นโมหะ แล้วเราจะพ้นจากเวทนา ๓
นี้ได้อย่างไร วันๆหนึ่งขันธ์ ๕ นี้ทำงานตลอดเวลา กายเราก็ยึดมั่น
และยึดมั่นในเวทนานั้นด้วย
เราก็มีเวทนาทั้งวัน บางคนบอกว่านั่งทำสมาธินานๆแล้ว มีอาการเจ็บปวดขึ้นมา
แล้วบอกว่านั่นคือเวทนา จะต้องข้ามเวทนาให้ได้ ต้องข่มขี่เวทนานั้นไปให้ได้
นั่นคือดับเวทนา เวทนาที่ว่านี้ เวทนาที่กล่าวนี้ ที่เข้าใจนี้ยังไม่ถูกต้องกับเวทนาตามความเป็นจริงเมื่อเทียบกับพระไตรปิฎกแล้วยังไม่ได้ตรงทั้งหมด เพราะเป็นเวทนาทางกายเท่านั้น ยังเข้าใจไม่ถูกต้อง
เวทนาทั้งหมดในพระไตรปิฎกคือเวทนา
๓ ได้แก่ สุขเวทนา สุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนานี้เอง เราต้องกำจัดเวทนา ๓ นี้ออกไป เราจะต้องกำจัดอารมณ์ทั้ง
๓ นี้ให้หมดไป ไม่ให้มีเลย นั่นคือการกำจัดเวทนาที่แท้จริงของขันธ์ ๕
บางคนกล่าวถึงเวทนา แต่ให้ความหมายเวทนาผิดๆไม่ถูก
เทียบกับพระไตรปิฎกตามคำสอนของพระพุทธเจ้า หมายถึง “เวทนาทางใจ” ที่เราคิดออกไปแบบต่างๆ
ซึ่งเท่ากับ วันๆหนึ่งเราคิดทั้งวัน มีเวทนาทั้งวัน “จิตคิดออกไปเป็นสุข คือสุขเวทนาเป็นราคะ จิตคิดออกไปเป็นทุกข์ คือทุกขเวทนาเป็นโทสะ จิตคิดออกไปกลางๆไม่สุขไม่ทุกข์
คืออทุกขมสุขเวทนาเป็นโมหะ พระอรหันต์ไม่เวทนา ๓ อย่างนี้” เท่ากับจิตไม่ส่งออกนอกเลย
ไม่มีการคิดปรุงแต่งเลยนั่นเองอันเดียวกัน ถ้าบุคคลใดรู้แจ้งขันธ์ ๕
เป็นของไม่เที่ยง แล้วทำลายอุปาทานในขันธ์
๕ ต้องมีผลเช่นนี้ออกมาด้วย
ถ้าไม่มีผลนี้ออกมา
แล้วบอกว่ารู้แจ้งในขันธ์ ๕ แล้ว ชื่อว่า รู้ไม่จริง เห็นไม่จริง
เพราะไม่มีผลนั้นออกมา ถ้ามีผลเช่นนี้ออกมา ชื่อว่า รู้จริงเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ คือไม่มีเวทนาทั้ง
๓ นี้ ฉะนั้น นักปฏิบัติต้องสำรวจตัวเองว่าดับเวทนา ๓ ได้หรือยัง เวทนา ๓
ยังมีอยู่หรือไม่
ความจริงเวทนาทั้ง ๓ นี้ ดับได้ เราต้องดับได้
ไม่ใช่ดับไม่ได้ การดับของเราต้องดับได้ด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้อง คือมรรคมีองค์ ๘
เท่านั้น ถ้าจะใช้สมาธิดับนี้ ไม่มีทางๆ ดับไม่ได้ ลองทำดูก็ได้ ใช้มรรคมีองค์ ๘
ดับได้แน่นอน คนๆหนึ่งนี้ มีการปรุงแต่งตลอดเวลา
ต้องดับการปรุงแต่งให้เป็นมาตรฐานตลอดเวลา ตลอดวันตลอดคืน และตลอดไป
คนที่นั่งสมาธิแล้วจิตดับ ไม่มีการไป ไม่มีการมา เวทนา ๓ ไม่มี
กลางวันออกจากสมาธิยังมีเวทนาเหมือนเดิมนั้นไม่ใช่
เอาตรงจิตดับตอนกลางคืนนั้นมาพูดไม่ได้ คนที่ดับเวทนาได้ต้องดับตลอดเวลา
และดับตลอดชีวิต
ดังนั้น
การปฏิบัติจึงจำเป็นต้องเทียบอาศัยอ้างอิงพระไตรปิฎกเสมอๆ เพื่อไม่ให้ผิดพลาด ถ้าไม่ตรงตามพระไตรปิฎกนี้ไม่ได้เลย
เพราะจะไม่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น
เวทนาที่เขากล่าวกันกับเวทนาในคำสอนของพระพุทธเจ้ามันคนละเรื่องกัน
ที่จริงผัสสะนี้เองทำให้เกิดเวทนา เป็นเหตุทำให้เกิดทุกข์
สมัยหนึ่งมีปาริพาชกถามพระสารีบุตรว่า “พระพุทธเจ้าสอนให้ดับทุกข์นั้น ทุกข์ทั้งปวงมีคนทำให้หรือ?”
พระสารีบุตรตอบว่า “หามิได้”
ปาริพาชกถามว่า “ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เราทำเองหรือ?”
พระสารีบุตรตอบว่า “หามิได้”
ปาริพาชกถามว่า “เราก็ไม่ได้ทำ คนอื่นก็ไม่ได้ทำหรือ? ทุกข์จึงเกิดขึ้น”
พระสารีบุตรตอบว่า “หามิได้”
ปาริพาชกถามว่า “เราทำด้วย คนอื่นทำด้วยหรือ? ”
พระสารีบุตรตอบว่า “หามิได้”
ปาริพาชกถามว่า “ถ้าเช่นนั้นแล้ว
ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากอะไรเล่า?”
พระสารีบุตรตอบว่า “ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากผัสสะ
ผัสสะเกิดทุกข์จึงเกิด ผัสสะไม่มี ทุกข์จึงไม่มี”
ในพระไตรปิฎกได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่อง “เวทนา” ไว้ว่า
เพราะอาศัยจักขุ(ตา)และรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ(ความคลายกำหนัดยินดี)
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส อุปายาสะจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวง มีได้ด้วยประการ ฉะนี้
เพราะอาศัยโสตะ(หู)และเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงเกิด
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ(ความคลายกำหนัดยินดี)
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสะจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวง มีได้ด้วยประการ ฉะนี้
เพราะอาศัยฆานะ(จมูก)และกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ(ความคลายกำหนัดยินดี) อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส อุปายาสะจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวง มีได้ด้วยประการ ฉะนี้
เพราะอาศัยชิวหา(ลิ้น)และรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ(ความคลายกำหนัดยินดี) อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส อุปายาสะจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวง
มีได้ด้วยประการ ฉะนี้
เพราะอาศัยกาย และโผฏฐัพพะ(สัมผัส)
กายวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ(ความคลายกำหนัดยินดี) อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสะ
จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวง มีได้ด้วยประการ ฉะนี้
เพราะอาศัยมโน(ใจ)
และธรรมารมณ์(อารมณ์ที่รู้ด้วยใจ) มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ(ความคลายกำหนัดยินดี)
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสะจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวง
มีได้ด้วยประการ ฉะนี้
นี้เป็นการเปรียบเทียบว่าที่พูดมาทั้งหมดนั้น ตรงในพระไตรปิฎกหรือไม่
ตรวจสอบผลการปฏิบัติของตนว่ายังมีเวทนา ๓ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา
อทุกขมสุขเวทนาอยู่หรือไม่ ถ้ามีอยู่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ถ้าไม่มีแสดงว่าปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว
ฉะนั้น “ผัสสะนี้เองทำให้เกิดทุกข์
ผัสสะเกิด ทุกข์จึงเกิด ผัสสะไม่เกิด ทุกข์ก็ไม่เกิด”
นักกรรมฐานทั้งหลายที่ฝึกสมาธิมานาน และสำคัญตนว่ารู้แจ้งเห็นจริง
ให้ตรวจสอบดูเวทนา ๓ ตามพระไตรปิฎกนี้ว่า ตนยังมีอยู่หรือไม่ ถ้ามีอยู่เป็นของปลอม
ถ้าไม่มีเป็นของแท้
เพราะรู้ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนั้น เวทนาที่เขากล่าวกันกับเวทนาในคำสอนของพระพุทธเจ้ามันเป็นคนละเรื่องกัน
สัญญาคืออะไร? “สัญญา” คือ ความจำได้หมายรู้
จำไว้ หมายรู้ไว้ ที่เกิดจากการกระทบหรือผัสสะ ทำให้เกิดเวทนา ๓ แล้วจำไว้
อะไรที่ผ่านมาทางอายตนะ ๖ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วจำเหตุการณ์ได้ทั้งหมด
ส่วนที่ลืมก็ลืม ส่วนที่จำก็จำ ได้แก่ สัญญาในรูป(รูปสัญญา) สัญญาในเสียง(สัททสัญญา)
สัญญาในกลิ่น(คันธสัญญา) สัญญาในรส(รสสัญญา) สัญญาในสัมผัส(โผฏฐัพพสัญญา)
และสัญญาในธรรมารมณ์(ธัมมสัญญา)
รู้ว่าอะไรคือการเกิดของสัญญา อะไรคือความดับของสัญญา อะไรคือคุณของสัญญา อะไรคือโทษของสัญญา อะไรคืออุบายออกจากสัญญา
และอะไรคือปฏิปทาออกจากสัญญานี้
ความเกิดแห่งสัญญา คือความเกิดแห่งผัสสะ ความดับของสัญญา คือความดับแห่งผัสสะ สุขโสมนัสใดๆที่อาศัยสัญญานี้
เป็นรสอร่อยของสัญญานี้ คือคุณของสัญญา แต่สัญญาไม่เที่ยงแปรปรวนไปนี้ คือโทษของสัญญา การกำจัดฉันทราคะ
การละฉันทราคะในสัญญานี้เสียได้ เป็นอุบายออกจากสัญญา มรรคมีองค์ ๘ เป็นปฏิปทาออกจากสัญญานี้ได้
อารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่เราผ่านพบมา
ความจำเป็นอารมณ์ ความจำเป็นสิ่งที่รกรุงรังรบกวนหัวใจเราไปหมด
เมื่อจำได้แล้วทำให้จิตใจของเราเสวยเวทนา
เมื่อรู้แจ้งแล้วเป็นสัญญา รู้แล้วปรุงแต่งเป็นสังขาร รู้แล้วจำเป็นสัญญาในอดีตเป็นข้างหลัง
สังขารปรุงแต่งไปข้างหน้าคืออนาคต กับปรุงแต่งในปัจจุบันก็เป็นสังขารในอนาคต
และเป็นสังขารในปัจจุบัน ความเกิดแห่งสังขารคือความเกิดแห่งผัสสะ
แล้วก็เป็นสัญญาตามมา และเป็นสังขารตามมาอีก จิตกระทบสัมผัสที่เดียว เกิดอาการ ๓
อย่างตามมา คือเวทนา สัญญา สังขาร
สังขารคืออะไร? “สังขาร” คือการปรุงแต่ง ปรุงแต่งข้างนอก เจตนาปรุงแต่ง เป็นตัวสังขาร
การปรุงแต่งของจิตทำให้เกิดอารมณ์มากมาย ปรุงแต่งไปทาง ๖ ประตู คือ ตา หู จมูก
ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ตามมามากมาย เวลานั่งสมาธิ จะเข้ามารบกวนมาก เวทนา
๓ ก็มี สัญญาก็มี สังขารก็มี ทำงานเดินเครื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน
รู้ว่าอะไรคือการเกิดของสังขาร อะไรคือความดับของสังขาร อะไรคือคุณของสังขาร อะไรคือโทษของสังขาร อะไรคืออุบายออกจากสังขาร
และอะไรคือปฏิปทาออกจากสังขารนี้
ความเกิดของสังขาร คือความเกิดของผัสสะ
ความดับของสังขาร คือความดับของผัสสะ สุขโสมนัสใดๆที่อาศัยสังขาร นี้เป็นรสอร่อยของสังขาร นี้คือคุณของสังขาร แต่สังขารไม่เที่ยงแปรปรวนไป นี้คือโทษของสังขาร การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในสังขารนี้เสียได้ เป็นอุบายออกจากสังขาร มรรคมีองค์ ๘ เป็นปฏิปทาออกจากสังขารได้
วิญญาณคืออะไร? “วิญญาณ” คือ การรับรู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์
หรืออารมณ์ภายนอก ทั้งที่เป็นเวทนา สัญญา และสังขาร ผ่านทางประตูทั้ง ๖ คือ ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ เวทนา สัญญา สังขาร
ผ่านประตู ๖ คือวิญญาณ เขาเรียกว่า จักขุวิญญาณ(รับรู้รูปด้วยตา)
โสตวิญญาณ(รับรู้เสียงด้วยหู)
ฆานวิญญาณ(รับรู้กลิ่นด้วยจมูก)
ชิวหาวิญญาณ(รับรู้รสด้วยลิ้น)
กายวิญญาณ (รับรู้สัมผัสด้วยกาย)
และมโนวิญญาณ(รับรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ)
วิญญาณทั้ง ๖ นี้ ทำงานเฉพาะทางของเขา
เอาหูไปแทนตาก็ไม่ได้ เอาตาไปแทนหูก็ไม่ได้ จิตมีดวงเดียว แต่การรับรู้ผ่านประตูทั้ง
๖ นี้
จิตเหมือนกระแสไฟฟ้าเป็นกลางๆ ถ้าเราอยากเห็นภาพก็ไปเปิดทีวี ถ้าต้องการฟังเสียงก็เปิดเครื่องเสียง
ทุกอย่างต้องใช้ไฟฟ้า ทีวีเป็นใหญ่ในเรื่องภาพ เครื่องเสียงเป็นใหญ่ในเรื่องเสียง
ตู้เย็นเป็นใหญ่ในการทำความเย็น เตารีดเป็นใหญ่ในการทำความร้อน
จะเอาทีวีไปแทนตู้เย็นก็ไม่ได้ เอาพัดลมไปแทนเครื่องเสียงก็ไม่ได้
ไฟฟ้าเป็นตัวกลางของเครื่องใช้ทั้งหมด ไฟฟ้าก็เหมือนจิต
เครื่องใช้หมายถึงวิญญาณ ๖ วิญญาณ ๖
เป็นผู้ใช้ไฟฟ้า จะใช้ให้ร้อนก็ได้ จะใช้ให้เย็นก็ได้ จิตเป็นตัวกลาง
วิญญาณเป็นของใช้เฉพาะทาง ต้องผ่านวิญญาณ ๖ ผัสสะที่เป็นเวทนาก็ดี สัญญาก็ดี
สังขารก็ดี ต้องผ่านจิต
อะไรคือการเกิดของวิญญาณ อะไรคือความดับของวิญญาณ
อะไรคือคุณของวิญญาณ
อะไรคือโทษของวิญญาณ
อะไรคืออุบายออกจากวิญญาณ และอะไรคือปฏิปทาออกจากวิญญาณนี้
ความเกิดของวิญญาณ คือความเกิดของนามรูป
ความดับของวิญญาณ คือความดับของนามรูป
สุขโสมนัสใดๆที่อาศัยวิญญาณนี้ เป็นรสอร่อยของวิญญาณนี้ คือคุณของวิญญาณ แต่วิญญาณไม่เที่ยงแปรปรวนไปนี้ คือโทษของวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ
การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้ เป็นอุบายออกจากวิญญาณนี้
มรรคมีองค์ ๘ เป็นปฏิปทาออกจากวิญญาณนี้ได้
วิญญาณมี เพราะมีกายและใจ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงมีความหมาย
เพราะตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อาศัยนามรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยรูปนาม ตามีต้องมีจิตและกาย
จิตไม่มีตาจะไม่สำเร็จประโยชน์อะไร เช่น คนตายไม่มีความรู้สึก
ถ้าตามีความรู้สึกของตาก็ไม่มี เหมือนคนตาบอดก็ขาดจักขุวิญญาณ
คนหูหนวกก็ขาดโสตวิญญาณ แต่ก็จะออกทางประตูอื่นที่ใช้งานได้อีก
การกำจัดฉันทราคะ ด้วยวิราคธรรม(ความคลายความกำหนัดยินดี)
เราต้องทำลายด้วยวิญญาณ ๖ เพราะวิญญาณ ๖
นี้เป็นตัวการทำให้เห็นตัวเราทั้งตัว เมื่อเห็นตัวก็เห็นตาด้วย เห็นหูด้วย
เห็นจมูกด้วย เห็นลิ้นด้วย เห็นกายด้วย และเห็นใจด้วย ถ้าจะให้เบื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ต้องเห็นกายเรา คือเห็นกายหยาบแล้วจึงจะเห็นรูปนาม การเบื่อหน่ายเป็นอุบายออก
เราต้องไปรู้ด้วยการกำจัดฉันทราคะในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ การกำจัดฉันทราคะต้องเบื่อกายก่อนจึงจะดับวิญญาณได้
การดับวิญญาณนั้นทำได้ยากมาก เราต้องทำลายอุปาทานขันธ์ให้ดับไปให้ได้
ทุกวันนี้ขันธ์ ๕ มันทำงานอยู่ตลอดเวลา เดินเครื่องอยู่ตลอดเวลา
เพราะเรายึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เป็นตัวตน เป็นเรา เป็นของเราตลอดเวลา
วันๆ หนึ่งขันธ์ ๕ คือ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ทำงานอยู่ตลอดเวลา พระอรหันต์ท่านดับเวทนา ๓
ขันธ์ ๕ ได้ไม่เหลือแล้ว ท่านรู้แจ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ตามความเป็นจริง นามขันธ์ดับไปก่อน คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เหลือแต่รูปขันธ์ ชีวิตยังมีสืบต่อไปอยู่ แต่ความยินดีในรูปไม่มี ละอุปาทานขันธ์ ๕
ได้แล้ว ก็ดับฉันทราคะในขันธ์ ๕
ได้ในที่สุด
ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
******
อนุโมทนาสาธุ สาธุ ค่ะ หาตั้งนานน่ะค่ะ ไม่ค่อยมีคนทอดเทปพอจ.มาเลย
ตอบลบเพิ่งเจอค่ะ ขอให้เจริญในธรรมจนถึงนิพพานเลยน่ะค่ะ
Blue Titanium Iron Blade - Titanium Art - Titanium Art
ตอบลบType of Metal thinkpad x1 titanium Blade, titanium 3d printing Material, Comes snow peak titanium flask in titanium drill bit set Color, omega titanium In Color
additional resources dog dildo,wholesale dildo,love dolls,dildo,dog dildo,realistic sex dolls,sex chair,wholesale sex toys,dog dildo browse around these guys
ตอบลบ