อุบายออกจากทุกข์
เรียนรู้ให้แจ่มชัดในทางสายเอก เป็นทางแห่งอริยมรรค
เข้าสู่โลกุตตรจิต โลกุตตรธรรม
พระธรรมเทศนา พระอธิการจรัญ ทักขญาโณ
วัดหลวงขุนวิน
ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
(นโม ๓ จบ) ขอกราบนมัสการ นอบน้อมต่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
กราบคาราวะครูบาอาจารย์
พระเถรานุเถระ และสหธรรมมิก
เจริญสุขญาติโยมที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม
วันนี้มาเรียนรู้เกี่ยวกับอุบายวิธีต่างๆ
ในการประพฤติปฏิบัติธรรม การอบรมจิตต้องอาศัยสิ่งที่เป็นเครื่องอยู่ของจิตเสมือนน้ำที่ต้องอาศัยแก้ว
เราต้องการน้ำไม่ใช่ต้องการแก้วแต่ต้องหาแก้วก่อน เหมือนไม่ตรงความต้องการแต่ที่แท้
คือตรงกับความต้องการ เราไม่ต้องการแก้ว เราต้องการน้ำ
แต่จะเอาไปยังไงในเมื่อไม่มีแก้วมาใส่น้ำ ก็ต้องไปหาแก้วก่อน เขาพูดกันอย่างนี้แต่เราเข้าใจเหมือนกัน “เราต้องการให้จิตเป็นหนึ่ง
แต่ต้องให้จิตอยู่กับตัวก่อน คือ การเจริญวิปัสสนาญาณ” ให้เกิดญาณฝังแน่นในอวัยวะต่างๆ
ในกายด้วยอาการ ๓๒ ก่อน เจริญญาณให้ได้แล้ว จิตจะเกิดญาณรู้ ทำให้จิตรู้แจ้ง เป็นหนึ่งเดียวตลอดชีวิต เกิดเป็นมหาสติ เป็นสมาธิหนาแน่น ไม่เสื่อม เราต้องการให้จิตมีสมาธิแล้วจะเกี่ยวอะไรกับผม
ขน เล็บ ฟัน หนัง เขาไม่รู้ว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็เสมือนกับแก้วนั่นแหละ
จำเป็นที่จะต้องใส่น้ำไว้ในแก้ว “ธรรมชาติของจิตต้องมีที่อาศัย
แต่ที่อาศัยของเรายังไม่มี ก็เลยสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นที่อาศัยของจิตดวงนั้น” ให้การมองเห็นกายของตัวเองเป็นการรองรับจิตดวงนั้นให้อยู่ในตัวเราให้ได้
หากคิดว่าการทำสมาธินี่ทำไปเถอะ จะเห็นตนเห็นตัวอะไรล่ะ ยุ่งจะตาย ยากก็ยาก คนนั้นจะไปไม่รอด เอาน้ำนี่แหละไม่ต้องเอาหรอกแก้ว จะไปเอาอะไรแก้ว
แต่แก้วเป็นภาชนะ อุปมาดังเช่นกายของเราเครื่องอยู่ของดวงจิตที่เห็นตัวเอง เพื่อจะให้จิตอยู่
เพราะจิตเหมือนน้ำตั้งอยู่เองไม่ได้ จะต้องมีภาชนะรองรับ ภาชนะที่รองรับเรียกว่า ฐาน
พูดอีกนัยหนึ่งคือ “สติปัฏฐาน” จะรองรับจิตนั้นอยู่ได้ จิตเป็นของเลื่อนไหล
เราจะต้องอาศัยภาชนะที่ไม่รั่วสามารถรองรับได้
เราต้องการน้ำแต่เราไม่ต้องการแก้ว จะไปยุ่งอะไรกับแก้ว ต้องยุ่งสิ เสมือนกับการทำจิตให้สงบ
จะไปเห็นอะไรกับผม ขน เล็บ ฟัน หนัง จะไปยุ่งทำไม ต้องยุ่งสิ
เพราะเกี่ยวเนื่องกันกับระบบการเข้าใจของคนนั้น แก้วนี่เข้าใจนะว่า รองรับน้ำแต่การเห็นตัวเองไม่เข้าใจ
เพราะเป็นของใหม่ที่เราไม่รู้จัก
เห็นตัวตนของเราทำไมต้องเห็นด้วย ถ้ามองไม่เห็นตัวเองจิตไม่อยู่ จิตจะไหลออกไปเรื่อย แต่ถ้าเห็นตัวตนของตนเองแล้ว จะรองรับกันได้ กายเป็นเครื่องอยู่ของจิต จิตดวงนี้จะอยู่ได้ เมื่อเห็นตัวตนแจ้งเท่านั้น
จะเป็นสมาธิที่แน่นหนามากเหมือนภาชนะขวดน้ำที่ใส่น้ำแล้วปิดฝาให้แน่น
จะโยนจับพลิกคว่ำหงาย น้ำก็ไม่ไหลออกมา
จิตของเราก็เหมือนกัน ถ้าเห็นตัวเองหมดแจ้งทั้งตัว จะเป็นการรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นภาชนะรองรับจิตดวงนี้
จิตไม่ไหลออกไปไหนเลยแม้แต่นิดเดียว จิตนั้นจะเป็นจิตที่มั่นคงมากอยู่ในทุกสภาวะได้ ไม่ใช่ในสมาธิอย่างเดียว ที่จิตสงบ
แม้แต่นอกเวลาที่ไม่ได้มีการเจริญสมาธิจิตก็สงบ
เพราะมีภาชนะที่รองรับจิตนั้นเอาไว้แล้ว เหมือนน้ำอยู่ในขวดนำไปแช่แข็งก็เป็นน้ำแข็งอยู่ในขวดนั่นเอง ถ้าเอาตากแดดไว้ ก็น้ำแข็งในขวดนั่นเองที่ละลายเป็นน้ำ
จิตก็เหมือนกันเมื่อเข้าสมาธิให้สงบ ด้วยการเจริญวิปัสสนาญาณแล้ว พอออกจากสมาธิก็ยังสงบอยู่เพราะจิตมีเครื่องอยู่แล้ว อย่างนี้แหละที่เราต้องการ หากต้องการให้จิตสงบต้องไปมองดูตัวให้แจ้งก่อน ถ้าไม่แจ้งก็สงบไม่ได้เหมือนกัน อันเดียวกัน แต่เราไม่เข้าใจ เพราะความละเอียดอ่อนของการรู้นั้นรู้ได้ยาก ตีปัญหาไม่แตก กระบวนการทั้งหมด คือ อบรมจิตให้มองเห็นตัวตนของตนให้แจ้งออกมา เห็นตนเองชัดขึ้นมาๆๆ ถ้าไม่ชัดให้พยายามมองตนเองให้เห็นเรื่อยๆ ที่แท้ก็คือการนึกเอานั่นเอง ไม่ใช่แค่นึกหรือ? ทีแรกอาตมาก็ไม่เข้าใจว่า การนึกจะเป็นวิปัสสนาหรือ?หรือเป็นเพียงวิปัสสนึก ทีแรกก็งงเหมือนกัน
วิปัสสนาเป็นยังไง ? การนึกเป็นยังไง ? ก็คือ ตัวเดียวกัน “วิปัสสนาก็คือ การนึกขึ้นมานั่นเอง เมื่อนึกขึ้นมาแล้ว ทำให้กิเลสดับได้ด้วยการนึกขึ้นมา ถ้านึกขึ้นมาเล่นๆ กิเลสเกิดได้ไหม? กิเลสเกิดได้ แสดงว่าการนึกขึ้นมาเป็นการทำให้กิเลสเกิดก็ได้ กิเลสดับก็ได้” อย่างเช่น สมมุติว่า หญิงกับชาย หนุ่มๆ สาวๆ เห็นกันแล้วเกิดชอบกัน ถ้าเราไปเห็นใครคนหนึ่งแล้วเราชอบแต่เจ้าตัวเขาไม่รู้ เราก็นึกถึงคนๆ นั้นได้ว่า เรามีความชอบความสวยความงามในตัวเขา เมื่อเรานึกชอบขึ้นมาแล้วก็เกิดกามราคะ ขณะที่นึกเจ้าตัวคนที่ถูกนึกถึงไม่รู้ตัวว่า คนอื่นเขานึกชอบ เพราะเขาแอบนึกถึงอยู่ คำว่าแอบนึก แต่นึกไปนึกมาทำให้กิเลสเกิดได้ ลองถามว่าที่นึกนั่นเป็นจริงหรือเปล่า ? เป็นจริงไหม ? ก็เปล่า จิตนึกไปเอง ถ้าไม่จริงก็เท่ากับเป็นการนึกหลอกๆสิ แต่ถามว่าหลอกแล้วกิเลสจะเกิดจริงไหม? กิเลสก็เกิดจริงแสดงว่า หลอกได้ก็เกิดจริงได้
ฉะนั้น การที่นึกให้เห็นตัวของเราตามที่เป็นจริง ก็เป็นอุบายที่นึกแล้วหลอกให้จิตเห็นตัวตนขึ้นมา เมื่อหลอกให้กิเลสเกิดได้ ก็หลอกให้กิเลสดับได้เช่นกัน ก็เท่ากับเจ๊ากันไป “นึกให้เกิดก็เกิดได้ นึกให้ดับก็ดับได้ จึงเป็นอุบายการแก้ปัญหาของจิต”
คำว่า “อุบาย” คำนี้ เราฟังดูก็เหมือนไม่จริง จะว่าจริงก็จริง จะว่าไม่จริงก็เหมือนไม่จริง อุบายหรือกุศโลบาย เราเคยได้ยินไหมว่า เขาทำสงครามกัน ทำไมในการทำศึกสงครามต้องมีอุบายต้องมีร้อยเล่ห์เพทุบาย ต้องมีอุบายต่างๆ นานา คำว่า อุบาย เป็นอาวุธชนิดหนึ่ง ที่ไม่ใช่เป็นปืนผาหน้าไม้หรือของมีคมแต่เป็นอาวุธด้านปัญญา คำว่า อุบาย เหมือนกับว่าเป็นของหลอกๆ แต่หลอกแล้ว มีอุบายแล้ว ชนะสงครามได้โดยอุบายอันนั้น การทำศึกสงครามตรงนี้ก็เหมือนศึกสงครามกิเลสนั่นแหละ
อุบายในสงครามที่จะทำให้เราชนะข้าศึก แต่อุบายเหล่านี้ เมื่อทำอุบายแล้วชนะได้จริง ก็นำอุบายมาใช้ตรงนี้ อุบายเปรียบเป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่เราจะต้องมีต้องเป็น อันเป็นการใส่ใจในอุบายที่แยบคาย หรือไม่แยบคายก็เป็นอุบายอยู่นั่นเอง “กิเลสก็มีอุบาย ต้องใช้อุบายแก้ด้วยอุบาย จึงเป็นเครื่องประหัตประหารกันได้ โยนิโสมนสิการ คือ อุบายโดยแยบคาย ใช้อุบายเป็นเครื่องประหารกิเลส”
การประพฤติปฏิบัตินั้นเราจะต้องสร้างตรงนี้ขึ้นมา ทำนานเข้าๆๆ เราจะเห็นตัวเอง ทำบ่อยๆ จิตเป็นเรื่องแปลก จิตเราอยู่ข้างนอก จิตของเราไม่สว่างไสวเป็นจิตที่มืด แต่ถ้าจิตได้ถูกอบรมให้อยู่ในตัวได้ จิตเองจะเจิดจ้าสว่างไสวในตัวมันเอง อย่างอัศจรรย์ใจขึ้นมา จิตสงบพิจารณาอยู่ในตัวท่องเที่ยวในกายนคร จิตจะแจ้งขึ้นๆๆๆ เราจะอัศจรรย์ว่า อย่างนี้ก็มีหรือ? จิตทำไมแจ้งเช่นนี้ ต้องแจ้งสิ เราไม่เคยเห็นหรอกเพราะยังไม่เคยเจอ เมื่อประพฤติปฏิบัติแล้ว ก็จะพบว่าจิตคนเรานี้เห็นแจ้งได้สว่างไสวได้ ทีแรกเหมือนกับแสงหิ่งห้อย แว็บๆๆๆ ตอนที่กำลังจะแจ้ง เราก็ไม่ต้องสนใจหรอกพิจารณาไปเรื่อยๆ นานเข้าๆๆ ความเป็นแสงหิ่งห้อยจะโตขึ้นเหมือนดวงดาว ต่อไปจะเหมือนดวงเดือน แล้วก็จะใกล้เข้ามาๆๆ จะอยู่เหนือศีรษะของเรา ใกล้เข้ามาๆๆ ต่อไปก็อยู่ตรงหน้าผาก แล้วทั้งหมดของดวงสว่างนั้นจะสวมตัวของเราลงไป ทำให้ตัวของเราทั้งหมดสว่างไสว เป็นเช่นนั้นเอง เราทำไปเรื่อยๆ พร้อมกับแสงสว่างนี้ แล้วก็เห็นแจ้งด้วย ต่อไปความสว่างนั้นจะมีอยู่ทั้งวันทั้งคืนเป็นอัตโนมัติ เป็นเครื่องอยู่ของดวงจิตของคนๆนั้นตลอดเวลากลายเป็นเรื่องของความคุ้นเคยว่ามีอย่างนั้นมานานแล้ว กลายเป็นเรื่องธรรมดากับความเป็นไปอย่างนั้น นั่นคือ ความแจ้งออกๆๆ สว่างแล้วก็เป็นสมาธิแน่นหนามาก ที่เกิดจากการทำวิปัสสนาญาณ ซึ่งสมาธิเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการอบรมจิต ด้วยการให้เกิดญาณในการพิจารณาอาการ ๓๒ เท่านั้น สมาธิตรงนี้เป็นสมาธิที่ไม่ใช่เราเองจิตดิ่งลงไปในตัวรู้ อันเป็นสมาธิที่เกิดจากการทำสมาธิแบบสมถกัมมัฏฐาน
จิตก็เหมือนกันเมื่อเข้าสมาธิให้สงบ ด้วยการเจริญวิปัสสนาญาณแล้ว พอออกจากสมาธิก็ยังสงบอยู่เพราะจิตมีเครื่องอยู่แล้ว อย่างนี้แหละที่เราต้องการ หากต้องการให้จิตสงบต้องไปมองดูตัวให้แจ้งก่อน ถ้าไม่แจ้งก็สงบไม่ได้เหมือนกัน อันเดียวกัน แต่เราไม่เข้าใจ เพราะความละเอียดอ่อนของการรู้นั้นรู้ได้ยาก ตีปัญหาไม่แตก กระบวนการทั้งหมด คือ อบรมจิตให้มองเห็นตัวตนของตนให้แจ้งออกมา เห็นตนเองชัดขึ้นมาๆๆ ถ้าไม่ชัดให้พยายามมองตนเองให้เห็นเรื่อยๆ ที่แท้ก็คือการนึกเอานั่นเอง ไม่ใช่แค่นึกหรือ? ทีแรกอาตมาก็ไม่เข้าใจว่า การนึกจะเป็นวิปัสสนาหรือ?หรือเป็นเพียงวิปัสสนึก ทีแรกก็งงเหมือนกัน
วิปัสสนาเป็นยังไง ? การนึกเป็นยังไง ? ก็คือ ตัวเดียวกัน “วิปัสสนาก็คือ การนึกขึ้นมานั่นเอง เมื่อนึกขึ้นมาแล้ว ทำให้กิเลสดับได้ด้วยการนึกขึ้นมา ถ้านึกขึ้นมาเล่นๆ กิเลสเกิดได้ไหม? กิเลสเกิดได้ แสดงว่าการนึกขึ้นมาเป็นการทำให้กิเลสเกิดก็ได้ กิเลสดับก็ได้” อย่างเช่น สมมุติว่า หญิงกับชาย หนุ่มๆ สาวๆ เห็นกันแล้วเกิดชอบกัน ถ้าเราไปเห็นใครคนหนึ่งแล้วเราชอบแต่เจ้าตัวเขาไม่รู้ เราก็นึกถึงคนๆ นั้นได้ว่า เรามีความชอบความสวยความงามในตัวเขา เมื่อเรานึกชอบขึ้นมาแล้วก็เกิดกามราคะ ขณะที่นึกเจ้าตัวคนที่ถูกนึกถึงไม่รู้ตัวว่า คนอื่นเขานึกชอบ เพราะเขาแอบนึกถึงอยู่ คำว่าแอบนึก แต่นึกไปนึกมาทำให้กิเลสเกิดได้ ลองถามว่าที่นึกนั่นเป็นจริงหรือเปล่า ? เป็นจริงไหม ? ก็เปล่า จิตนึกไปเอง ถ้าไม่จริงก็เท่ากับเป็นการนึกหลอกๆสิ แต่ถามว่าหลอกแล้วกิเลสจะเกิดจริงไหม? กิเลสก็เกิดจริงแสดงว่า หลอกได้ก็เกิดจริงได้
ฉะนั้น การที่นึกให้เห็นตัวของเราตามที่เป็นจริง ก็เป็นอุบายที่นึกแล้วหลอกให้จิตเห็นตัวตนขึ้นมา เมื่อหลอกให้กิเลสเกิดได้ ก็หลอกให้กิเลสดับได้เช่นกัน ก็เท่ากับเจ๊ากันไป “นึกให้เกิดก็เกิดได้ นึกให้ดับก็ดับได้ จึงเป็นอุบายการแก้ปัญหาของจิต”
คำว่า “อุบาย” คำนี้ เราฟังดูก็เหมือนไม่จริง จะว่าจริงก็จริง จะว่าไม่จริงก็เหมือนไม่จริง อุบายหรือกุศโลบาย เราเคยได้ยินไหมว่า เขาทำสงครามกัน ทำไมในการทำศึกสงครามต้องมีอุบายต้องมีร้อยเล่ห์เพทุบาย ต้องมีอุบายต่างๆ นานา คำว่า อุบาย เป็นอาวุธชนิดหนึ่ง ที่ไม่ใช่เป็นปืนผาหน้าไม้หรือของมีคมแต่เป็นอาวุธด้านปัญญา คำว่า อุบาย เหมือนกับว่าเป็นของหลอกๆ แต่หลอกแล้ว มีอุบายแล้ว ชนะสงครามได้โดยอุบายอันนั้น การทำศึกสงครามตรงนี้ก็เหมือนศึกสงครามกิเลสนั่นแหละ
อุบายในสงครามที่จะทำให้เราชนะข้าศึก แต่อุบายเหล่านี้ เมื่อทำอุบายแล้วชนะได้จริง ก็นำอุบายมาใช้ตรงนี้ อุบายเปรียบเป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่เราจะต้องมีต้องเป็น อันเป็นการใส่ใจในอุบายที่แยบคาย หรือไม่แยบคายก็เป็นอุบายอยู่นั่นเอง “กิเลสก็มีอุบาย ต้องใช้อุบายแก้ด้วยอุบาย จึงเป็นเครื่องประหัตประหารกันได้ โยนิโสมนสิการ คือ อุบายโดยแยบคาย ใช้อุบายเป็นเครื่องประหารกิเลส”
การประพฤติปฏิบัตินั้นเราจะต้องสร้างตรงนี้ขึ้นมา ทำนานเข้าๆๆ เราจะเห็นตัวเอง ทำบ่อยๆ จิตเป็นเรื่องแปลก จิตเราอยู่ข้างนอก จิตของเราไม่สว่างไสวเป็นจิตที่มืด แต่ถ้าจิตได้ถูกอบรมให้อยู่ในตัวได้ จิตเองจะเจิดจ้าสว่างไสวในตัวมันเอง อย่างอัศจรรย์ใจขึ้นมา จิตสงบพิจารณาอยู่ในตัวท่องเที่ยวในกายนคร จิตจะแจ้งขึ้นๆๆๆ เราจะอัศจรรย์ว่า อย่างนี้ก็มีหรือ? จิตทำไมแจ้งเช่นนี้ ต้องแจ้งสิ เราไม่เคยเห็นหรอกเพราะยังไม่เคยเจอ เมื่อประพฤติปฏิบัติแล้ว ก็จะพบว่าจิตคนเรานี้เห็นแจ้งได้สว่างไสวได้ ทีแรกเหมือนกับแสงหิ่งห้อย แว็บๆๆๆ ตอนที่กำลังจะแจ้ง เราก็ไม่ต้องสนใจหรอกพิจารณาไปเรื่อยๆ นานเข้าๆๆ ความเป็นแสงหิ่งห้อยจะโตขึ้นเหมือนดวงดาว ต่อไปจะเหมือนดวงเดือน แล้วก็จะใกล้เข้ามาๆๆ จะอยู่เหนือศีรษะของเรา ใกล้เข้ามาๆๆ ต่อไปก็อยู่ตรงหน้าผาก แล้วทั้งหมดของดวงสว่างนั้นจะสวมตัวของเราลงไป ทำให้ตัวของเราทั้งหมดสว่างไสว เป็นเช่นนั้นเอง เราทำไปเรื่อยๆ พร้อมกับแสงสว่างนี้ แล้วก็เห็นแจ้งด้วย ต่อไปความสว่างนั้นจะมีอยู่ทั้งวันทั้งคืนเป็นอัตโนมัติ เป็นเครื่องอยู่ของดวงจิตของคนๆนั้นตลอดเวลากลายเป็นเรื่องของความคุ้นเคยว่ามีอย่างนั้นมานานแล้ว กลายเป็นเรื่องธรรมดากับความเป็นไปอย่างนั้น นั่นคือ ความแจ้งออกๆๆ สว่างแล้วก็เป็นสมาธิแน่นหนามาก ที่เกิดจากการทำวิปัสสนาญาณ ซึ่งสมาธิเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการอบรมจิต ด้วยการให้เกิดญาณในการพิจารณาอาการ ๓๒ เท่านั้น สมาธิตรงนี้เป็นสมาธิที่ไม่ใช่เราเองจิตดิ่งลงไปในตัวรู้ อันเป็นสมาธิที่เกิดจากการทำสมาธิแบบสมถกัมมัฏฐาน
การทำสมาธิที่เกิดจากวิปัสสนาญาณ
กลายเป็นสมาธิที่แน่นหนามาก จิตอยู่ธรรมดาๆ แต่สมาธิเมื่อเกิดมากขึ้น จะเกิดความสุขมากขึ้นตามลำดับ ความเบากายเบาใจมีความสงบในจิตของตน
ทำให้สัมผัสถึงอรรถรสอันสงบชุ่มฉ่ำภายในใจของเราทำให้เรามีความสุข
ความสุขเกิดที่นั้นเป็นสมาธิใหญ่โตเป็นมหาสติ
ตอนแรกที่ทำเหมือนไม่มีสมาธิเกิดขึ้น จิตอยู่ตื้นๆ เหมือนจิตธรรมดาๆ แต่ทำไปๆ
นานเข้าๆๆ จะเกิดเป็นสมาธิสั่งสมขึ้นมาใหญ่มาก สัมผัสสัมพันธ์แล้วกลายเป็นสมาธิแน่นหนา จนกลายเป็นสมาธิที่ไม่เสื่อม ถ้าใครได้สมาธิเช่นนี้
อบรมจิตระดับหนึ่งจะไม่เสื่อมจากสมาธิเลยในชีวิตนั้น อันเป็นโลกุตตระสมาธิ
ที่ไม่ใช่สมาธิแบบสมถกัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นสมาธิแบบโลกีย์หมดเลย
สมาธิแบบโลกุตตระ จะมีดุลอำนาจรักษาให้สมาธิคงที่เสมอต้นเสมอปลายที่ไม่กลับกลอกไปมา
แล้วทำให้จิตนิ่งในตัวเอง จนเกิดเป็นสมาธิที่ถาวรไม่เสื่อมได้ เมื่ออบรมให้เกิดสมาธิแน่นหนาขึ้นไปเรื่อยๆ
กลายเป็นสมาธิที่เราต้องการ การที่เราจะออกจากความปรุงแต่งของจิต มีแววที่จะเป็นไปได้
มองแล้วเป็นไปได้อย่างแน่นอน
ที่เราตั้งคำถามว่า ทำยังไงจิตเราจะพ้นจากอารมณ์เหล่านั้นทุกกรณีไม่มียกเว้นใดๆ
ความฝันเริ่มเป็นจริงแล้ว
เริ่มมีแววที่จะเป็นจริงได้ สมาธิประเภทนี้มั่นเหลือเกิน แรกๆ
การประพฤติปฏิบัติสมาธิจะมีโอกาสเสื่อมอยู่ เมื่อยังทำไม่ถึงจุดเต็มอิ่มของสมาธิ ทำต่อไปนานๆ เข้าถึงจุดที่สมาธิเต็มอิ่ม
แล้วสมาธิจะเป็นสมาธิที่มั่นคงมาก ไม่มีเสื่อมอีกต่อไป
เป็นสมาธิแบบใหม่ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน
เพราะอยู่บนพื้นฐานที่มีความรู้ทั่วพร้อมเป็นอัตโนมัติ ดั่งน้ำที่ต้องมีแก้วเข้าไปรองรับ แก้วเป็นภาชนะที่ดี จิตก็เช่นเดียวกันต้องมีการเห็นกาย มองเห็นตัวขึ้นมารองรับให้เป็นเครื่องอยู่ของจิต
จึงจะเป็นจิตที่มั่นคงได้
จิตเป็นธรรมชาติที่เลื่อนไหลต่อเมื่อมีที่อยู่ของจิตแล้ว จะไหลไปไหนเล่า ค้นคว้าธรรมชาติที่มีอยู่ แต่ว่าให้แยบยลในการพิจารณาแล้วหาทางออก
ที่มองด้วยความแหลมคมของสติปัญญาก็พบทางออกจนได้
คำสอนของพระพุทธองค์ได้ทรงจำแนกไว้หมดแล้วแต่ก็เข้าใจยาก
การอบรมเมื่อเห็นกายของตนเองแล้ว จิตจะสงบสว่างไสวอยู่ในตัวเอง
พร้อมกับทวีคูณมากขึ้นๆ จิตที่เราโอนถ่ายอำนาจจากสิ่งหนึ่งจากที่แห่งหนึ่งแล้วไปสู่อีกทีหนึ่ง เป็นการย้ายจิตสู่บ้านหลังใหม่ ผลที่ได้ราคะ
โทสะ โมหะ จะเบาบางลงๆๆ เห็นได้ชัดเจนมากๆ
คนนั้นประเมินได้ว่า กิเลสของตนที่มีอยู่ละไปได้เท่าไร และจบเหลืออีกเท่าไร
ที่มีอยู่ และที่ค้างอยู่อีกเท่าไร
เขาจะเห็นอาการทั้งสองนั้นได้ตามเป็นจริง
ความจริงแล้วการทำสมาธิไม่ได้ลึกเลย เป็นแค่สติ แต่เป็นสติที่บริบูรณ์ด้วยสมาธิในตัวเอง
เรียกว่า “สติปัฏฐาน ๔”
สตินี้ใหญ่มาก
ดังพระพุทธองค์ตรัสสอนว่า
“ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมีสติเป็นใหญ่” สติใหญ่มากจนเป็นมหาสติ
กลายเป็นสมาธิที่ไม่เสื่อม
มีสติมั่นคงตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง
มีความเห็นแจ้งอยู่ตลอดเวลา ๒๔
ชั่วโมง หลับก็มีสติ ช่วงหลับทำไม่ได้ ตื่นขึ้นมาก็ทำต่อ ถ้าไม่ทำเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะจิตรั่ว ทำให้จิตพร่องลงเหมือนน้ำในแก้ว
แก้วรั่ว น้ำที่เหลือค้างอยู่ในแก้วก็เหลือน้อย จึงเป็นปัญหาที่ทำไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย การรั่วไหลของจิตจะต้องไม่ให้มี จนสุดความพยายามของเราแล้ว
สุดๆของการจะเยียวยารอยรั่วเหล่านั้น ไม่เช่นนั้นจะเป็นสติที่ไม่บริบูรณ์ สมาธิที่เต็มอยู่ก็จะพร่องลงไป จึงจะอุดรอยรั่วให้มากๆ
ไม่เช่นนั้นการบำเพ็ญนี้จะไม่เป็นสมาธิที่บริบูรณ์ได้ จึงเรียกว่า “อินทรีย์สังวร” อินทรีย์ แปลว่า ร่างกาย สังวร แปลว่า ระวัง “ทำอย่างไรจึงเป็นการอินทรีย์สังวร ก็คือ สำรวมระวังในตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ”
การประพฤติปฏิบัติอย่างไร ในการสำรวม จิตที่ตามดู ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราจะไม่ไปตามจิตนั้น
แต่ให้น้อมจิตมาพิจารณาตัวตนของเรา
จึงทำให้ไม่เกิดการรั่วไหลของจิตอีก
สิ่งที่รั่วก็พยายามอุดรอยรั่ว เป็นการบรรเทารอยรั้วนั้น ต่อไปทำให้รอยรั่วถูกปิดไปในที่สุด
“การที่ต้องสำรวมอินทรีย์ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะเป็นเครื่องสัญจร เป็นประตูทางออกของจิตที่จะเดินทางไป” การสำรวมเหล่านี้เป็นที่มาแห่งอินทรีย์สังวร จิตที่ถูกอบรมอยู่อย่างนี้ ถ้าฝ่ายข้างในจิตถูกอบรมมากๆ เข้า ฝ่ายข้างนอกก็ถูกลิดรอนอำนาจลงไป ประพฤติปฏิบัติให้จิตข้างในมีมากเท่าไร การถ่ายโอนของจิตก็จะไปอยู่อีกภาวะหนึ่ง ไม่ใช่บ้านหลังเก่าแล้ว ฉะนั้น กิเลสที่มีอยู่ในโลกนี้พูดง่ายๆว่า ความเป็นหญิง เป็นชาย กิเลสประเภทราคะนี่จะเห็นชัดมากว่า ละแล้ว เบาบางลงเท่าไร สิ่งเหล่านี้จะเบาบางในหัวใจของคนเราตลอดเลย และมองว่าอนาคตข้างหน้าจะหมดไปแน่ๆ ประเมินออกได้ แสดงว่ากิเลสไม่ได้ละในจิตที่ลึกอะไรเลย เป็นจิตตื้นๆ ตื้นๆ นี่เอง เป็นระบบการถ่ายโอนความเห็นของสองสิ่ง จิตจะเห็นข้างนอกหรือข้างใน ถ้าเห็นข้างในกิเลสก็ละออกได้ เหมือนกระเป๋าใบเดียวที่จะหงายขึ้น หรือถ้าพลิกกลับด้านออกของก็ร่วง จะกลับไว้อย่างเดิมของก็อยู่ไม่ร่วงหล่นเท่านั้นเอง จะเอายังไง? แล้วคนๆนั้นรู้และตื่นอยู่ก็ไม่คิด ไม่เติมเชื้อเพลิงให้เผาไหม้ต่อไปอีก เพลิงกองใหญ่ถ้าเติมเชื้อเพลิงเข้าไปก็ลุกไหม้ต่อ แล้วเมื่อไหร่ไฟจึงจะดับ การที่ไม่ซ้ำเติมการคิดลงไป ก็เป็นการไม่เติมเชื้อเพลิงเข้าไปอีก ไม่ให้เกิดความสืบต่อไปมาก เพลิงก็จะมอดลงทุกขณะๆ ตรงนี้เป็นเครื่องวัดได้อย่างดีว่า การปฏิบัติมานั้นผิดหรือถูกอย่างไร? เห็นประจักษ์ชัดเจนแก่จิตว่า ความผิด หรือถูกนั้นอยู่ที่การเข้าใจ หรือการที่จะทึกทักเอาตามความเข้าใจของตนเอง นำเอาตัวกิเลสเป็นเครื่องวัด ใครจะบอกว่าผิดหรือถูกก็ไม่ทราบ แต่ว่าจิตซึ่งยอมรับแล้วว่า ทำเช่นนี้เป็นทางให้กิเลสหมดได้ ก็จะขอยึดแนวทางนี้ ถ้าทำอย่างนี้บอกได้เลยว่า กิเลสหมดได้ เช่น ความเป็นหญิง เป็นชาย กิเลสหมดแน่ๆ ขณะนี้ มีสติระลึกรู้ว่า จิตรวมสมาธิกลายเป็นสมาธิที่หนาแน่นขึ้นมาแทนที่กิเลสที่หมดไป การกระทำเช่นนี้เป็น“เนกขัมมะ” จะออกจากกามอย่างเดียวอย่างไม่น่าเชื่อว่า เป็นไปได้ แสดงว่ากิเลสเกิดตรงนี้เอง แล้วก็ดับตรงนี้เอง เกิดที่ไหนดับที่นั้น ตรงจิตตื้นๆ ถ้าเราค้นคว้าอยู่อย่างนี้ เราจะยืนอยู่ตรงจุดนี้ เราเดินทางอยู่บนเส้นทางที่มีผลคืบหน้าต่อการประพฤติปฏิบัติของเรา ไม่อย่างนั้นก็ภาวนาพุทโธๆๆ อยู่ที่เดิม การปฏิบัติจะไปถึงไหนหนอ? สิบปีที่แล้วก็พุทโธ อยู่นั่นแหละ ไม่ได้วิวัฒนาการไปได้ถึงไหนเลย ก็ย้ายไปเรื่อยตามขั้นตามตอนที่กำหนดรู้ตามไปเรื่อยๆ แล้วจะเจริญต่อขึ้นไปได้อย่างไร การภาวนา “พุทโธ” เป็นการสอนให้กับผู้ฝึกกัมมัฏฐานใหม่ เราก็จะไปทำตนฝึกใหม่กับเขาอยู่เรื่อยๆเลยไปไม่ถึงไหน ก้าวหน้าไม่ได้ คนที่ฝึกมาแล้วช่วงเวลาหนึ่งก็ต้องมีความคืบหน้าเปลี่ยนไปจากเดิม แล้วไม่อยู่ชั้นเดิมหรอก
เมื่อเราเห็นว่าเกมนี้เป็นอย่างไร ทำต่อสิ ! ทำจนถึงที่สุดนั่นแหละ ถึงที่สุดการเห็นด้วยตาในจะเห็นตัวเราแจ้งมาก เห็นชัดแจ้งมากจนตาเนื้อสู้ไม่ได้ แต่การเห็นของตาในถึงแม้ว่าในตอนแรกจะไม่เห็น ก็จะเห็นขึ้นมาได้ เมื่อถูกอบรมจิตไปเรื่อยๆ ตาในจะเห็นแจ้งชัดเจนมาก ตัวเราทั้งตัวไม่เว้นสักแห่งเดียวที่จะมองไม่เห็น เห็นทั่วกายทั้งข้างนอกข้างใน ความเห็นอันนี้จะไม่ดับเลย จะเห็นตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน แม้ว่าไม่ได้จินตนาการ ตาในก็เห็นประจักษ์อยู่เช่นนั้นไม่หายไป ตาในเปิดแล้ว เรียกว่า“เห็นแจ้ง” แก้วภาชนะนั้นดีจึงรักษาน้ำเอาไว้เสมอต้นเสมอปลาย น้ำนั้นไม่พร่องไป และพร้อมที่จะบริบูรณ์ขึ้นไปเรื่อยๆ อันเดียวกัน
การเห็นตัวนี้กลายเป็นสติสัมปชัญญะ แล้วก็เป็นความรู้เห็นที่เห็นด้วยตาในและเห็นเท่ากับลืมตา ในที่มืดก็เห็นเท่ากับในที่สว่าง ไม่เกี่ยวกับแสงเดือนแสงดาว หรือแสงอะไรทั้งนั้นเลย ในโลกนี้เป็นแสงสว่างของจิตเอง อยู่ในภาวะใดๆ ความแจ้งก็เท่าเดิมอยู่นั่นเอง ความเห็นเช่นนี้เป็นการเห็นของจิตเอง สว่างไสวอยู่ ขณะนั้นที่เห็นจิตก็จะไปค้นว่า ตัวเรามีอะไรบ้าง มีอะไรอยู่เท่าไร จิตจะไปค้น เห็นแล้วเอาความเห็นนั่นเป็นพยาน เป็นเครื่องตรวจสอบว่า เรามีอะไรอยู่ในร่างอันนี้ และค้นว่าชีวิตจริงๆของเราหรือว่าตัวของเราแท้ๆ ที่มีความรู้สึกว่า เป็นเราในที่นี้อยู่ ณ ตรงนี้ อยู่ที่ไหนภายในร่างกายนี้ ตัวตนตรงนี้เหมือนกับว่า เรามีตัวตนชนิดหนึ่งอยู่ในความรู้สึกของชีวิตว่า มีอะไรอยู่ในนี้ สักอย่างหนึ่งในชีวิต คือ ความเป็นตัวตนของเรา ความรู้สึกอันนี้มีมาตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่ทราบ แต่รู้สึกว่ามีอย่างนั้น นี่คือสัญชาตญาณหรือเป็นธรรมชาติที่คนทุกคนจะต้องคิดหรือรู้สึกอย่างนั้น
เมื่อจิตไปเปิดความเห็นตัวตนที่แท้จริงขึ้นมา เห็นว่าสิ่งที่เราเข้าใจกันนั้นอยู่ตรงไหน ก็เลยค้นดูว่าขันธ์ ๕ นั้นมีอะไรบ้าง สิ่งที่เห็นแจ้งออกมานั้นคือ ญาณรู้ ก็จะเห็นทุกอย่างตามต้องการว่ามีอะไร? เอาความเห็นนั้นเป็นพยาน มองดูแล้วนี่ปรากฏว่า ทำไปทำมาหาตัวตนไม่ได้ ตัวเรานี่ไม่มีอะไรเลยหรือ? ตัวเราก็ไม่มีหรือนี่ ! แล้วเราอยู่ตรงไหน? ของร่างอันนี้ ค้นไปค้นมาไม่มี ก็เลยเอาคำว่า “ตัวตนที่แท้จริงไม่มี” ไปลบล้างความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ เมื่อก่อนเราคิดว่าเรามีอะไรสักอย่าง ที่เป็นตัวตนของเราอยู่ในร่างกายนี้ เมื่อค้นดูแล้วพบว่าไม่มี การดูตรงนี้เป็นพยานขึ้นมา แล้วไปลบรอยความเข้าใจของเรา ที่เคยเข้าใจไว้ให้มีความเห็นใหม่ เปลี่ยนความเห็นใหม่และเปลี่ยนความเข้าใจใหม่ ความเห็นเช่นนี้เรียกว่า “ความเห็นชอบ”(สัมมาทิฏฐิ) เป็นความเห็นชอบที่เป็นวิชชาไปแทนที่ทำลายอวิชชาอันนั้น
เมื่อความเห็นในตัวตนของเราไม่มีแล้ว เราไปคิดเพื่อใคร? ใครคนนั้นก็ไม่มี จิตจะถามตนขึ้นว่า คิดเพื่อใครเล่า? หากคิดเพื่อเรา ตัวตนของเราก็ไม่มีในที่นี้ ตัวเขาก็ไม่มี ถ้าอย่างนั้น ความคิดของเราก็เป็นโมฆะ ว่างเปล่า แล้วจะคิดไปทำไม คิดไปก็ทุกข์เปล่า และทุกข์มากด้วย เพราะไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันที่จะเป็นตัวตนของเราที่แท้จริง อยู่ตรงนี้ก็เป็นทุกข์ ความคิดของเราก็ไม่ควรสิ ที่คิดอยู่แล้วให้หยุดเสีย เพราะนั่นเป็นทางผิดแล้วไม่ใช่หรือ? บรรดาความเข้าใจในระบบนี้ทั้งหมดถูกเปิดเผยออกมาแล้ว ละลายความไม่รู้ของเราทั้งหมดออก ละลายความไม่รู้ของเราทั้งหมดให้สิ้นไป ทางปฏิบัติถูกแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว จะทำลายสังขารให้ดับได้
ทีแรกเราคิดไปตัดออก ไม่ให้จิตออกไปข้างนอก แล้วเอาปัญญาไปตัดอีกทีหนึ่ง เป็นดาบเล่มแรกที่ฟันได้อย่างสนิทใจเลยว่า ต้องตัดอย่างเดียว ให้จิตที่เราคิดอยากจะตัดอารมณ์เกิด การดับกิเลสด้วยปัญญา เป็นดาบเล่มที่สองที่มีความคมกริบ ซึ่งเป็นระบบที่ว่าจะต้องหาอุบายออกอย่างนี้เท่านั้น ก็จะตัดกิเลสได้ ฉายแววแล้วว่าต้องหาทางออกได้
ฉะนั้น ตรงนี้ ยิ้มได้เลยว่า ศึกสงครามนี้มีชัยชนะแน่ มีแววแล้วมาถึงจุดนี้มีหวังชนะได้อย่างแน่นอนมีความหวังในชีวิต งานนี้สำเร็จแน่ในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ยิ้มออกสิ ยิ้มออกมีกำลังใจว่ามีทางออกจากทุกข์ได้จริงๆ รู้ได้เลยว่าความคิดทั้งหมดต้องหมดได้แน่ เพราะตีวงแคบเข้าๆพร้อมเห็นตัวบงการ คือ “อวิชชา” การเห็นวิชชาชัดเจน เป็นรูปแบบที่ว่า รู้จักทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้การดับทุกข์ รู้ปฏิปทาออกจากทุกข์ นี่แหละเรียกว่า “ดวงตาเห็นธรรมะ” ได้เข้าสู่พระอริยบุคคลเบื้องต้น(พระโสดาบัน)ตั้งแต่บัดนี้ไป
“การที่ต้องสำรวมอินทรีย์ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะเป็นเครื่องสัญจร เป็นประตูทางออกของจิตที่จะเดินทางไป” การสำรวมเหล่านี้เป็นที่มาแห่งอินทรีย์สังวร จิตที่ถูกอบรมอยู่อย่างนี้ ถ้าฝ่ายข้างในจิตถูกอบรมมากๆ เข้า ฝ่ายข้างนอกก็ถูกลิดรอนอำนาจลงไป ประพฤติปฏิบัติให้จิตข้างในมีมากเท่าไร การถ่ายโอนของจิตก็จะไปอยู่อีกภาวะหนึ่ง ไม่ใช่บ้านหลังเก่าแล้ว ฉะนั้น กิเลสที่มีอยู่ในโลกนี้พูดง่ายๆว่า ความเป็นหญิง เป็นชาย กิเลสประเภทราคะนี่จะเห็นชัดมากว่า ละแล้ว เบาบางลงเท่าไร สิ่งเหล่านี้จะเบาบางในหัวใจของคนเราตลอดเลย และมองว่าอนาคตข้างหน้าจะหมดไปแน่ๆ ประเมินออกได้ แสดงว่ากิเลสไม่ได้ละในจิตที่ลึกอะไรเลย เป็นจิตตื้นๆ ตื้นๆ นี่เอง เป็นระบบการถ่ายโอนความเห็นของสองสิ่ง จิตจะเห็นข้างนอกหรือข้างใน ถ้าเห็นข้างในกิเลสก็ละออกได้ เหมือนกระเป๋าใบเดียวที่จะหงายขึ้น หรือถ้าพลิกกลับด้านออกของก็ร่วง จะกลับไว้อย่างเดิมของก็อยู่ไม่ร่วงหล่นเท่านั้นเอง จะเอายังไง? แล้วคนๆนั้นรู้และตื่นอยู่ก็ไม่คิด ไม่เติมเชื้อเพลิงให้เผาไหม้ต่อไปอีก เพลิงกองใหญ่ถ้าเติมเชื้อเพลิงเข้าไปก็ลุกไหม้ต่อ แล้วเมื่อไหร่ไฟจึงจะดับ การที่ไม่ซ้ำเติมการคิดลงไป ก็เป็นการไม่เติมเชื้อเพลิงเข้าไปอีก ไม่ให้เกิดความสืบต่อไปมาก เพลิงก็จะมอดลงทุกขณะๆ ตรงนี้เป็นเครื่องวัดได้อย่างดีว่า การปฏิบัติมานั้นผิดหรือถูกอย่างไร? เห็นประจักษ์ชัดเจนแก่จิตว่า ความผิด หรือถูกนั้นอยู่ที่การเข้าใจ หรือการที่จะทึกทักเอาตามความเข้าใจของตนเอง นำเอาตัวกิเลสเป็นเครื่องวัด ใครจะบอกว่าผิดหรือถูกก็ไม่ทราบ แต่ว่าจิตซึ่งยอมรับแล้วว่า ทำเช่นนี้เป็นทางให้กิเลสหมดได้ ก็จะขอยึดแนวทางนี้ ถ้าทำอย่างนี้บอกได้เลยว่า กิเลสหมดได้ เช่น ความเป็นหญิง เป็นชาย กิเลสหมดแน่ๆ ขณะนี้ มีสติระลึกรู้ว่า จิตรวมสมาธิกลายเป็นสมาธิที่หนาแน่นขึ้นมาแทนที่กิเลสที่หมดไป การกระทำเช่นนี้เป็น“เนกขัมมะ” จะออกจากกามอย่างเดียวอย่างไม่น่าเชื่อว่า เป็นไปได้ แสดงว่ากิเลสเกิดตรงนี้เอง แล้วก็ดับตรงนี้เอง เกิดที่ไหนดับที่นั้น ตรงจิตตื้นๆ ถ้าเราค้นคว้าอยู่อย่างนี้ เราจะยืนอยู่ตรงจุดนี้ เราเดินทางอยู่บนเส้นทางที่มีผลคืบหน้าต่อการประพฤติปฏิบัติของเรา ไม่อย่างนั้นก็ภาวนาพุทโธๆๆ อยู่ที่เดิม การปฏิบัติจะไปถึงไหนหนอ? สิบปีที่แล้วก็พุทโธ อยู่นั่นแหละ ไม่ได้วิวัฒนาการไปได้ถึงไหนเลย ก็ย้ายไปเรื่อยตามขั้นตามตอนที่กำหนดรู้ตามไปเรื่อยๆ แล้วจะเจริญต่อขึ้นไปได้อย่างไร การภาวนา “พุทโธ” เป็นการสอนให้กับผู้ฝึกกัมมัฏฐานใหม่ เราก็จะไปทำตนฝึกใหม่กับเขาอยู่เรื่อยๆเลยไปไม่ถึงไหน ก้าวหน้าไม่ได้ คนที่ฝึกมาแล้วช่วงเวลาหนึ่งก็ต้องมีความคืบหน้าเปลี่ยนไปจากเดิม แล้วไม่อยู่ชั้นเดิมหรอก
เมื่อเราเห็นว่าเกมนี้เป็นอย่างไร ทำต่อสิ ! ทำจนถึงที่สุดนั่นแหละ ถึงที่สุดการเห็นด้วยตาในจะเห็นตัวเราแจ้งมาก เห็นชัดแจ้งมากจนตาเนื้อสู้ไม่ได้ แต่การเห็นของตาในถึงแม้ว่าในตอนแรกจะไม่เห็น ก็จะเห็นขึ้นมาได้ เมื่อถูกอบรมจิตไปเรื่อยๆ ตาในจะเห็นแจ้งชัดเจนมาก ตัวเราทั้งตัวไม่เว้นสักแห่งเดียวที่จะมองไม่เห็น เห็นทั่วกายทั้งข้างนอกข้างใน ความเห็นอันนี้จะไม่ดับเลย จะเห็นตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน แม้ว่าไม่ได้จินตนาการ ตาในก็เห็นประจักษ์อยู่เช่นนั้นไม่หายไป ตาในเปิดแล้ว เรียกว่า“เห็นแจ้ง” แก้วภาชนะนั้นดีจึงรักษาน้ำเอาไว้เสมอต้นเสมอปลาย น้ำนั้นไม่พร่องไป และพร้อมที่จะบริบูรณ์ขึ้นไปเรื่อยๆ อันเดียวกัน
การเห็นตัวนี้กลายเป็นสติสัมปชัญญะ แล้วก็เป็นความรู้เห็นที่เห็นด้วยตาในและเห็นเท่ากับลืมตา ในที่มืดก็เห็นเท่ากับในที่สว่าง ไม่เกี่ยวกับแสงเดือนแสงดาว หรือแสงอะไรทั้งนั้นเลย ในโลกนี้เป็นแสงสว่างของจิตเอง อยู่ในภาวะใดๆ ความแจ้งก็เท่าเดิมอยู่นั่นเอง ความเห็นเช่นนี้เป็นการเห็นของจิตเอง สว่างไสวอยู่ ขณะนั้นที่เห็นจิตก็จะไปค้นว่า ตัวเรามีอะไรบ้าง มีอะไรอยู่เท่าไร จิตจะไปค้น เห็นแล้วเอาความเห็นนั่นเป็นพยาน เป็นเครื่องตรวจสอบว่า เรามีอะไรอยู่ในร่างอันนี้ และค้นว่าชีวิตจริงๆของเราหรือว่าตัวของเราแท้ๆ ที่มีความรู้สึกว่า เป็นเราในที่นี้อยู่ ณ ตรงนี้ อยู่ที่ไหนภายในร่างกายนี้ ตัวตนตรงนี้เหมือนกับว่า เรามีตัวตนชนิดหนึ่งอยู่ในความรู้สึกของชีวิตว่า มีอะไรอยู่ในนี้ สักอย่างหนึ่งในชีวิต คือ ความเป็นตัวตนของเรา ความรู้สึกอันนี้มีมาตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่ทราบ แต่รู้สึกว่ามีอย่างนั้น นี่คือสัญชาตญาณหรือเป็นธรรมชาติที่คนทุกคนจะต้องคิดหรือรู้สึกอย่างนั้น
เมื่อจิตไปเปิดความเห็นตัวตนที่แท้จริงขึ้นมา เห็นว่าสิ่งที่เราเข้าใจกันนั้นอยู่ตรงไหน ก็เลยค้นดูว่าขันธ์ ๕ นั้นมีอะไรบ้าง สิ่งที่เห็นแจ้งออกมานั้นคือ ญาณรู้ ก็จะเห็นทุกอย่างตามต้องการว่ามีอะไร? เอาความเห็นนั้นเป็นพยาน มองดูแล้วนี่ปรากฏว่า ทำไปทำมาหาตัวตนไม่ได้ ตัวเรานี่ไม่มีอะไรเลยหรือ? ตัวเราก็ไม่มีหรือนี่ ! แล้วเราอยู่ตรงไหน? ของร่างอันนี้ ค้นไปค้นมาไม่มี ก็เลยเอาคำว่า “ตัวตนที่แท้จริงไม่มี” ไปลบล้างความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ เมื่อก่อนเราคิดว่าเรามีอะไรสักอย่าง ที่เป็นตัวตนของเราอยู่ในร่างกายนี้ เมื่อค้นดูแล้วพบว่าไม่มี การดูตรงนี้เป็นพยานขึ้นมา แล้วไปลบรอยความเข้าใจของเรา ที่เคยเข้าใจไว้ให้มีความเห็นใหม่ เปลี่ยนความเห็นใหม่และเปลี่ยนความเข้าใจใหม่ ความเห็นเช่นนี้เรียกว่า “ความเห็นชอบ”(สัมมาทิฏฐิ) เป็นความเห็นชอบที่เป็นวิชชาไปแทนที่ทำลายอวิชชาอันนั้น
เมื่อความเห็นในตัวตนของเราไม่มีแล้ว เราไปคิดเพื่อใคร? ใครคนนั้นก็ไม่มี จิตจะถามตนขึ้นว่า คิดเพื่อใครเล่า? หากคิดเพื่อเรา ตัวตนของเราก็ไม่มีในที่นี้ ตัวเขาก็ไม่มี ถ้าอย่างนั้น ความคิดของเราก็เป็นโมฆะ ว่างเปล่า แล้วจะคิดไปทำไม คิดไปก็ทุกข์เปล่า และทุกข์มากด้วย เพราะไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันที่จะเป็นตัวตนของเราที่แท้จริง อยู่ตรงนี้ก็เป็นทุกข์ ความคิดของเราก็ไม่ควรสิ ที่คิดอยู่แล้วให้หยุดเสีย เพราะนั่นเป็นทางผิดแล้วไม่ใช่หรือ? บรรดาความเข้าใจในระบบนี้ทั้งหมดถูกเปิดเผยออกมาแล้ว ละลายความไม่รู้ของเราทั้งหมดออก ละลายความไม่รู้ของเราทั้งหมดให้สิ้นไป ทางปฏิบัติถูกแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว จะทำลายสังขารให้ดับได้
ทีแรกเราคิดไปตัดออก ไม่ให้จิตออกไปข้างนอก แล้วเอาปัญญาไปตัดอีกทีหนึ่ง เป็นดาบเล่มแรกที่ฟันได้อย่างสนิทใจเลยว่า ต้องตัดอย่างเดียว ให้จิตที่เราคิดอยากจะตัดอารมณ์เกิด การดับกิเลสด้วยปัญญา เป็นดาบเล่มที่สองที่มีความคมกริบ ซึ่งเป็นระบบที่ว่าจะต้องหาอุบายออกอย่างนี้เท่านั้น ก็จะตัดกิเลสได้ ฉายแววแล้วว่าต้องหาทางออกได้
ฉะนั้น ตรงนี้ ยิ้มได้เลยว่า ศึกสงครามนี้มีชัยชนะแน่ มีแววแล้วมาถึงจุดนี้มีหวังชนะได้อย่างแน่นอนมีความหวังในชีวิต งานนี้สำเร็จแน่ในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ยิ้มออกสิ ยิ้มออกมีกำลังใจว่ามีทางออกจากทุกข์ได้จริงๆ รู้ได้เลยว่าความคิดทั้งหมดต้องหมดได้แน่ เพราะตีวงแคบเข้าๆพร้อมเห็นตัวบงการ คือ “อวิชชา” การเห็นวิชชาชัดเจน เป็นรูปแบบที่ว่า รู้จักทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้การดับทุกข์ รู้ปฏิปทาออกจากทุกข์ นี่แหละเรียกว่า “ดวงตาเห็นธรรมะ” ได้เข้าสู่พระอริยบุคคลเบื้องต้น(พระโสดาบัน)ตั้งแต่บัดนี้ไป
การละสักกายทิฏฐิ
เกิดขึ้นเพราะรู้แจ้งว่าตนไม่มีในที่นั้น
สักกายทิฏฐิ จะถูกทำลาย ณ ความเห็นแจ้งตรงนั้นเอง จึงสิ้นความสงสัย (วิจิกิจฉา)
การลูบคลำข้อวัตรอย่างผิดๆ ถูกๆ(สีลัพตปรามาส)ไม่มีอีกต่อไป และสิ้นสงสัยรู้ว่า ทางนี้ถูกต้องแน่นอน บุคคลนั้นทำแผนที่ไว้แล้ว เดินตามแผนที่ออกป่าได้จริงๆ
กำลังจะก้าวออกจากป่า ก้าวสุดท้ายก็รู้ว่าทางนี้เป็นทางออกได้ หมดสงสัยจริงๆ
เข้าใจแล้วไม่เปลี่ยน ทางเปลี่ยนไม่ได้แล้ว
เพราะเขาเห็นหมดเลย อริยสัจ ๔ เปิดเผยให้เขาเห็นหมด ตาในเปิดแล้ว เข้าใจหมดลบล้างไม่ได้ สมาธิไม่มีการเสื่อมเลยทั้งๆ
ที่ไม่ได้ทำสมาธินิ่งแบบโลกีย์
อัศจรรย์ ! ตรงนี้คือ สมาธิใหญ่มากหนาแน่นมาก เริ่มแรกเหมือนว่า จะไม่มีสมาธิ ดูธรรมดาๆ แต่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นเป็นสมาธิที่ใหญ่มาก คนนึกไม่ถึงว่าตรงนี้จะมีสมาธิได้ เขามองข้ามไปเหมือนหญ้าปากคอก มองข้ามว่าการปฏิบัติเช่นนี้ไม่น่าจะเป็นสมาธิ มิได้เป็นสมาธิขึ้นมาได้ สมาธิหนาแน่นมากไม่มีเสื่อมเลย เป็นสมาธิที่เป็นมหาสติ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา เป็นสมาธิหนึ่งเดียวตลอดทั้งวันทั้งคืน ลงไปตามกระแสพระอริยะ กิเลสทั้ง ๓ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ถูกสำรอกออกแล้ว คลายกิเลสออกให้เบาบางๆๆๆ ริบหรี่ลงๆ ตาลืมๆ นี่แหละ ไม่ใช่ว่าหลับตาลืมตาไม่เกี่ยว กิเลสหมดทั้งๆ ที่ลืมตาก็ได้ ไม่มีการพลิกฟื้นกิเลสขึ้นมาอีก แล้วจะไม่หวนกลับอีกเลย เราจะเห็นความอัศจรรย์ว่า ทางออกมีจนได้ ในที่สุดเราจะเห็นตัวแจ้งที่สุด คือ พระอนาคามี สังโยชน์ ๕ จะสิ้นไป ณ ที่นั้น การกลับมาของกิเลสก็เป็นไปไม่ได้ สมาธิแน่นหนามากตลอดทั้งวัน เป็นสมาธิที่จิตเป็นตัวรู้(ญาณรู้) สมาธิที่มองเห็นตัวเองเป็นวิปัสสนาญาณ(แบบโลกุตตระ) ไม่ใช่สมาธิที่นิ่งดิ่งลงไปเข้าฌาน(แบบโลกีย์) ด้วยการเพ่งน้ำ เพ่งไฟ เพ่งพุทโธ เป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ซึ่งทำให้จิตสงบนิ่งอยู่ แต่เมื่อคลายจากสมาธิแล้ว กิเลสก็กลับมาอีกจึงไม่ใช่หนทางดับกิเลส สมาธิแบบโลกีย์ผู้ไม่มีศาสนา หรือศาสนาอื่นก็ทำเช่นนี้ได้
“ญาณ” คือ การรู้แจ้งออกมา แตกต่างกับ “ฌาน” ซึ่งเป็นสมาธินิ่งดิ่งลึกจนถึงระดับฌาน คือรูปฌานและอรูปฌาน ถ้าใครแยกแยะตรงนี้ได้ คนนั้นเข้าใจละเอียดว่า มีสมาธิที่นอกเหนือที่ไม่ใช่ฌาน และไม่ใช่สมาธิที่จิตส่งออกนอกกาย เป็นสมาธิที่คาบเกี่ยวระหว่างข้างนอกกับข้างใน เป็นภาวะธรรมดาๆ เหมือนกับคนทั่วไป เพียงแต่จิตไม่ได้ออกไปข้างนอก “การที่จิตไม่ออกข้างนอก เพราะรู้แจ้งว่าโลกไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง การเห็นขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ตน” เป็นการเห็นเหมือนคนที่เอาสินค้ามาขายให้เรา แต่ไม่ได้นำตัวสินค้ามาบอกว่ามีอย่างนั้นอย่างนี้ การที่ไม่เห็นด้วยตาแล้วให้เราเชื่อตามคำบอกนั้น เชื่อไม่สนิทใจ จิตของเราต้องมองเห็นสินค้านั้นด้วยฉันใด ก็เหมือนกัน เราไม่เข้าใจในความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ ตาเนื้อมองเห็นชัดเจน ทั้งๆ ที่เข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา แต่จิตยังมองไม่เห็น จึงไม่ยอมรับ จึงมีปัญหา ก็จับตัวปัญหามาให้คลายปัญหาให้หมดปัญหา จึงกลายเป็นประเด็นที่ว่า เราจะต้องเอาจิตเข้าไปเห็น คือ “การทำให้แจ้งในขันธ์ ๕ มองเห็นตัวเองชัดแจ้งออกมา”
ผู้สอนกัมมัฏฐานส่วนใหญ่ มักจะเน้นสมาธิที่รวมเป็นองค์มีความสงบแนบแน่นดิ่งลึกเข้าไป นักปฏิบัติประพฤติปฏิบัติเช่นนี้มาก จึงไม่เป็นสมาธิแบบโลกุตตระ อันเป็นสมาธิสู่อริยมรรค ซึ่งแบ่งจิตเป็น ๒ ฝ่าย คือจิตภายนอก(จิตที่มองเห็นสิ่งอื่นนอกตัว) อีกฝ่ายคือจิตภายใน เป็นฝ่ายประพฤติปฏิบัติที่เน้นการเห็นแจ้ง กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ซึ่งเป็นสติปัฏฐาน ๔ อันเป็นหนทางเจริญสู่โลกุตตระ แล้วอบรมจิตโดยพยายามดึงเอาจิตภายนอกกลับเข้ามา ให้เป็นญาณรู้ภายในกายของตนด้วยการพิจารณาอาการ ๓๒ มีสติรู้ในกาย(กายคตาสติ) ซึ่งเป็นระบบที่มีอยู่ในศาสนาพุทธเท่านั้น
การอบรมจิตให้เป็นไปตามระบบการเจริญสมาธิแบบโลกุตตระ ไม่มีใครที่จะรู้ได้นอกจากพระพุทธเจ้า เมื่อประพฤติปฏิบัติแล้วมีผลดังกล่าวข้างต้น จิตจะมั่นคงมาก จะเป็นสมาธิที่ไม่เสื่อม เป็นสมาธิที่มีอยู่ตลอดเวลา การอบรมจิตแบบโลกุตตระ จิตสงบแน่นอนไม่ว่าจะอยู่ในสมาธิหรือคลายจากสมาธิ จิตก็สงบ ซึ่งเป็นสมาธิแบบอริยมรรคที่จิตถูกอบรมขึ้นมา เป็นสมาธิที่ไม่เสื่อมจิตรู้ตื่นตลอดเวลา แล้วจิตจะเป็นสมาธิที่ยั่งยืนมาก แตกต่างจากสมาธิแบบโลกีย์ เป็นสมาธิคนละชั้นกันเทียบแล้วไกลกันลิบ คนๆ นั้น จะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใดตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง มีสมาธิเป็นอัตโนมัติ อันเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ของสมาธิแบบโลกุตตระ โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม จะอยู่ในสมาธิหรือไม่ก็ตาม จิตก็เป็นสมาธิหนึ่งเดียวอยู่นั่นเอง
อัศจรรย์ ! ตรงนี้คือ สมาธิใหญ่มากหนาแน่นมาก เริ่มแรกเหมือนว่า จะไม่มีสมาธิ ดูธรรมดาๆ แต่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นเป็นสมาธิที่ใหญ่มาก คนนึกไม่ถึงว่าตรงนี้จะมีสมาธิได้ เขามองข้ามไปเหมือนหญ้าปากคอก มองข้ามว่าการปฏิบัติเช่นนี้ไม่น่าจะเป็นสมาธิ มิได้เป็นสมาธิขึ้นมาได้ สมาธิหนาแน่นมากไม่มีเสื่อมเลย เป็นสมาธิที่เป็นมหาสติ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา เป็นสมาธิหนึ่งเดียวตลอดทั้งวันทั้งคืน ลงไปตามกระแสพระอริยะ กิเลสทั้ง ๓ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ถูกสำรอกออกแล้ว คลายกิเลสออกให้เบาบางๆๆๆ ริบหรี่ลงๆ ตาลืมๆ นี่แหละ ไม่ใช่ว่าหลับตาลืมตาไม่เกี่ยว กิเลสหมดทั้งๆ ที่ลืมตาก็ได้ ไม่มีการพลิกฟื้นกิเลสขึ้นมาอีก แล้วจะไม่หวนกลับอีกเลย เราจะเห็นความอัศจรรย์ว่า ทางออกมีจนได้ ในที่สุดเราจะเห็นตัวแจ้งที่สุด คือ พระอนาคามี สังโยชน์ ๕ จะสิ้นไป ณ ที่นั้น การกลับมาของกิเลสก็เป็นไปไม่ได้ สมาธิแน่นหนามากตลอดทั้งวัน เป็นสมาธิที่จิตเป็นตัวรู้(ญาณรู้) สมาธิที่มองเห็นตัวเองเป็นวิปัสสนาญาณ(แบบโลกุตตระ) ไม่ใช่สมาธิที่นิ่งดิ่งลงไปเข้าฌาน(แบบโลกีย์) ด้วยการเพ่งน้ำ เพ่งไฟ เพ่งพุทโธ เป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ซึ่งทำให้จิตสงบนิ่งอยู่ แต่เมื่อคลายจากสมาธิแล้ว กิเลสก็กลับมาอีกจึงไม่ใช่หนทางดับกิเลส สมาธิแบบโลกีย์ผู้ไม่มีศาสนา หรือศาสนาอื่นก็ทำเช่นนี้ได้
“ญาณ” คือ การรู้แจ้งออกมา แตกต่างกับ “ฌาน” ซึ่งเป็นสมาธินิ่งดิ่งลึกจนถึงระดับฌาน คือรูปฌานและอรูปฌาน ถ้าใครแยกแยะตรงนี้ได้ คนนั้นเข้าใจละเอียดว่า มีสมาธิที่นอกเหนือที่ไม่ใช่ฌาน และไม่ใช่สมาธิที่จิตส่งออกนอกกาย เป็นสมาธิที่คาบเกี่ยวระหว่างข้างนอกกับข้างใน เป็นภาวะธรรมดาๆ เหมือนกับคนทั่วไป เพียงแต่จิตไม่ได้ออกไปข้างนอก “การที่จิตไม่ออกข้างนอก เพราะรู้แจ้งว่าโลกไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง การเห็นขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ตน” เป็นการเห็นเหมือนคนที่เอาสินค้ามาขายให้เรา แต่ไม่ได้นำตัวสินค้ามาบอกว่ามีอย่างนั้นอย่างนี้ การที่ไม่เห็นด้วยตาแล้วให้เราเชื่อตามคำบอกนั้น เชื่อไม่สนิทใจ จิตของเราต้องมองเห็นสินค้านั้นด้วยฉันใด ก็เหมือนกัน เราไม่เข้าใจในความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ ตาเนื้อมองเห็นชัดเจน ทั้งๆ ที่เข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา แต่จิตยังมองไม่เห็น จึงไม่ยอมรับ จึงมีปัญหา ก็จับตัวปัญหามาให้คลายปัญหาให้หมดปัญหา จึงกลายเป็นประเด็นที่ว่า เราจะต้องเอาจิตเข้าไปเห็น คือ “การทำให้แจ้งในขันธ์ ๕ มองเห็นตัวเองชัดแจ้งออกมา”
ผู้สอนกัมมัฏฐานส่วนใหญ่ มักจะเน้นสมาธิที่รวมเป็นองค์มีความสงบแนบแน่นดิ่งลึกเข้าไป นักปฏิบัติประพฤติปฏิบัติเช่นนี้มาก จึงไม่เป็นสมาธิแบบโลกุตตระ อันเป็นสมาธิสู่อริยมรรค ซึ่งแบ่งจิตเป็น ๒ ฝ่าย คือจิตภายนอก(จิตที่มองเห็นสิ่งอื่นนอกตัว) อีกฝ่ายคือจิตภายใน เป็นฝ่ายประพฤติปฏิบัติที่เน้นการเห็นแจ้ง กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ซึ่งเป็นสติปัฏฐาน ๔ อันเป็นหนทางเจริญสู่โลกุตตระ แล้วอบรมจิตโดยพยายามดึงเอาจิตภายนอกกลับเข้ามา ให้เป็นญาณรู้ภายในกายของตนด้วยการพิจารณาอาการ ๓๒ มีสติรู้ในกาย(กายคตาสติ) ซึ่งเป็นระบบที่มีอยู่ในศาสนาพุทธเท่านั้น
การอบรมจิตให้เป็นไปตามระบบการเจริญสมาธิแบบโลกุตตระ ไม่มีใครที่จะรู้ได้นอกจากพระพุทธเจ้า เมื่อประพฤติปฏิบัติแล้วมีผลดังกล่าวข้างต้น จิตจะมั่นคงมาก จะเป็นสมาธิที่ไม่เสื่อม เป็นสมาธิที่มีอยู่ตลอดเวลา การอบรมจิตแบบโลกุตตระ จิตสงบแน่นอนไม่ว่าจะอยู่ในสมาธิหรือคลายจากสมาธิ จิตก็สงบ ซึ่งเป็นสมาธิแบบอริยมรรคที่จิตถูกอบรมขึ้นมา เป็นสมาธิที่ไม่เสื่อมจิตรู้ตื่นตลอดเวลา แล้วจิตจะเป็นสมาธิที่ยั่งยืนมาก แตกต่างจากสมาธิแบบโลกีย์ เป็นสมาธิคนละชั้นกันเทียบแล้วไกลกันลิบ คนๆ นั้น จะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใดตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง มีสมาธิเป็นอัตโนมัติ อันเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ของสมาธิแบบโลกุตตระ โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม จะอยู่ในสมาธิหรือไม่ก็ตาม จิตก็เป็นสมาธิหนึ่งเดียวอยู่นั่นเอง
สมาธิในอริยมรรคที่เห็นแจ้งตัวชัดเจน
จิตนิ่งที่สุด คือ พระอนาคามี
ต่อไปก็ไม่ต้องบอกแล้ว คนๆนั้นจะเดินทางไปเอง ได้ส่งจวนจะถึงปลายทางแล้ว ออกจากป่าเองได้ เดินไปบ้านก็แป๊บเดียวเอง
แนะนำเพียงพอนี้พอแล้ว ผลที่สุด คือ เราต้องการอย่างไรล่ะ “ทีแรกต้องการให้จิตไม่คิด เลิกเที่ยว เลิกนึก ทำลายอวิชชาให้สังขารดับไป ก็สัมฤทธิ์ผลสำเร็จประโยชน์ที่เราต้องการนั้น ดังที่เราเจตนาไว้ก็สัมฤทธิ์ผลได้ในที่สุด จิตนั้นจะเป็นหนึ่งเดียวตลอดชีวิตไม่แปรเป็นอื่นเลย” ทำความเพียรหรือไม่ทำไม่มีปัญหา จิตเป็นหนึ่งเดียวทั้งวันทั้งคืนตลอดกาล
เพราะจิตตื่นตัวด้วยสมาธิที่เป็นอัตโนมัติในตัวเอง จิตที่คิดแส่ส่ายในอารมณ์ต่างๆที่มีอยู่เก่าก่อน จิตที่คิดเร่ร่อนอยู่หยุดหมด เพราะเห็นตัวเองสว่างไสวอยู่ตลอดเวลา
กิเลสทั้งสาม อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ
ดับไป โดยเฉพาะราคะ
ความเป็นหญิงเป็นชายไม่มีเหลือ ตาลืมๆ
นี้แหละ หลับตาก็ไม่มีปัญหา มองแต่ตาจิตไม่ได้ออกไปเลย คนนั้นจะไม่เหลือกิเลสอีกเลย
ไม่ว่าวันใดไม่เกี่ยว
เกี่ยวกับระบบจิตดับกิเลสได้จริงพอใจแล้ว
คนนั้นก็ยั่งยืนอยู่อย่างนั้นตลอดไปจนวันตาย “ตายไปแล้ว จิตไม่ออกไปไหน
จะเกิดได้อย่างไร จิตคิดเป็นทางให้จิตเกิด
จิตเลิกคิดก็คือจิตเลิกเกิด ชาติ ชรา มรณะ จะมีได้อย่างไร การสิ้นของอุปาทานขันธ์ ๕ คือ
การเห็นว่าไม่มีตัวตนในที่นั้นเป็นการออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นการทำลายที่ต้นเหตุของการเกิดกิเลส”
แตกต่างกับการตามรู้ดูจิต ตามดูจิตไปเรื่อยๆ
เพียงแต่รู้เท่านั้นไม่เป็นการทำลายอุปาทานขันธ์ ๕
จิตจึงไม่อาจเหือดแห้งจากกิเลสได้
การเจริญอสุภกัมมัฏฐานที่ถูกต้องนั้น เมื่อเราไปดูซากศพ
เห็นศพแล้วว่ามีสภาพเป็นอย่างไร รู้เห็นเป็นตัวอย่างเท่านั้น เมื่อเจริญอสุภะให้น้อมนึกเป็นกายของเราแทนซากศพนั้น เราอาศัยซากศพเป็นอนุสติของการเจริญ อสุภะ ให้น้อมนึกเห็นตัวของเรานอนตายแทนซากศพนั้น ว่าศพนี้ฉันใด เราก็เป็นฉันนั้น จึงเป็นการเจริญอสุภะในตัวตนของเราเอง
จึงจะเป็นวิธีที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้น ก็เป็นการเจริญอสุภะของคนอื่น ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด
การคิดว่า จิตหยุดคิดไม่ได้ แล้วให้ตามรู้ดูจิตว่า มีการเกิดดับเป็นอย่างนั้นเอง อย่าไปทุกข์ร้อนกับมัน อย่าไปยึดมั่นถือมั่น เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้วจิตก็ยังไม่สงบ สมมุติว่าเราเป็นไข้ขึ้นสูง เห็นตัวเองมีอาการเป็นไข้แล้ว พิจารณาว่า คนเรานี้เป็นไข้อย่างนี้หนอ คนเราต้องป่วย ต้องเจ็บ ต้องตาย การเป็นไข้อย่างนี้เป็นเรื่องธรรมดาแล้ว อย่าไปดีใจเสียใจเลย ให้เป็นไข้อยู่อย่างนี้แหละ อย่าใส่ใจ ละความวิตกกังวลปล่อยให้ป่วยไข้อยู่อย่างนั้น ถามว่าไข้นั้นหายไหม ? เมื่อเข้าใจเช่นนี้ อาการป่วยไข้จะหายไหม เราเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ? อาการไข้ก็ไม่หาย แต่จะหายป่วยไข้ได้ ต้องทานยาแก้ไข้นั้น
ดังนั้น คนสองคนทั้งที่เข้าใจและไม่เข้าใจ ผลที่สุดก็คิดเหมือนกัน ก็ป่วยอยู่ เพราะไม่ทานยาแก้ไข้ การที่จะแก้ความคิดไม่ให้คิดก็ทำได้ด้วย เหมือนการกินยาแล้วบรรเทาอาการป่วยไข้หายได้ด้วย การเจ็บป่วยไข้มีได้แต่ก็ควรรักษา รักษาไม่หายก็ค่อยวางธุระอีกทีหนึ่ง จิตเป็นของที่หยุดได้ ไม่ใช่หยุดไม่ได้
การคิดว่า จิตหยุดคิดไม่ได้ แล้วให้ตามรู้ดูจิตว่า มีการเกิดดับเป็นอย่างนั้นเอง อย่าไปทุกข์ร้อนกับมัน อย่าไปยึดมั่นถือมั่น เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้วจิตก็ยังไม่สงบ สมมุติว่าเราเป็นไข้ขึ้นสูง เห็นตัวเองมีอาการเป็นไข้แล้ว พิจารณาว่า คนเรานี้เป็นไข้อย่างนี้หนอ คนเราต้องป่วย ต้องเจ็บ ต้องตาย การเป็นไข้อย่างนี้เป็นเรื่องธรรมดาแล้ว อย่าไปดีใจเสียใจเลย ให้เป็นไข้อยู่อย่างนี้แหละ อย่าใส่ใจ ละความวิตกกังวลปล่อยให้ป่วยไข้อยู่อย่างนั้น ถามว่าไข้นั้นหายไหม ? เมื่อเข้าใจเช่นนี้ อาการป่วยไข้จะหายไหม เราเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ? อาการไข้ก็ไม่หาย แต่จะหายป่วยไข้ได้ ต้องทานยาแก้ไข้นั้น
ดังนั้น คนสองคนทั้งที่เข้าใจและไม่เข้าใจ ผลที่สุดก็คิดเหมือนกัน ก็ป่วยอยู่ เพราะไม่ทานยาแก้ไข้ การที่จะแก้ความคิดไม่ให้คิดก็ทำได้ด้วย เหมือนการกินยาแล้วบรรเทาอาการป่วยไข้หายได้ด้วย การเจ็บป่วยไข้มีได้แต่ก็ควรรักษา รักษาไม่หายก็ค่อยวางธุระอีกทีหนึ่ง จิตเป็นของที่หยุดได้ ไม่ใช่หยุดไม่ได้
พระพุทธองค์ทรงสอนอย่างไร? นำมาเป็นข้อสรุป คือ มีอวิชชา ก็มีสังขาร
มีวิญญาณ มีนามรูป มีสฬายตนะ
มีผัสสะ มีเวทนา มีตัณหา
มีอุปาทาน มีภพ มีชาติ
ชรา มรณะ นั่นเพราะความไม่รู้ จึงมีความปรุงแต่ง จิตจึงมีการวิ่งออกไปเป็นวิญญาณ
อวิชชาดับไม่เหลือนั่นแหละ ความปรุงแต่งจึงดับ ฉะนั้น ปรุงแต่งต้องดับ (มีผู้กล่าวว่าความปรุงแต่งไม่ดับหรอก มีการเกิดดับอยู่เช่นนี้เป็นธรรมดาให้ตามรู้ไปเรื่อยๆ)
ถ้าดับความปรุงแต่งไม่ได้ จิตจะสงบได้อย่างไร ? พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า “ดับสังขารทั้งหลายได้เป็นสุขหนอ”
ทรงเน้นว่าปรุงแต่งต้องหมดด้วยวิชชา เพียงแต่ว่าคนๆ
นั้นไม่รู้ทางที่จะออกจากความปรุงแต่งนั้นได้ บทสรุป คือ ต้องเอาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเทียบเคียงดูว่า
ทรงตรัสไว้ว่า ต้องดับอวิชชา สังขารจึงจะดับ จึงดับความปรุงแต่งได้
ขอยุติลงเท่านี้
เพราะเวลาล่วงเลยมามากแล้ว ขอให้ทุกคนมีความสุข
มีความเพียรต่อไป อธิษฐานด้วยบุญบารมีของตนเอง หรืออธิษฐานคุณงามความดีของตัวเองให้รู้ธรรมเห็นธรรม
ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนถึงที่สุดของทุกข์
ทุกๆ คน ทุกท่านด้วยเทอญ
สาธุ สาธุ ธรรมทาน
ตอบลบ