ล้างอารมณ์ตรงสู่นิพพาน
ปิดทางเส้นเดิม
เปิดเส้นทางใหม่ มีสติตื่นรู้แจ้งขันธ์ ๕
พ้นทุกข์ มีกายเดียว-จิตเดียว เป็นหนึ่งตลอดกาล
พระธรรมเทศนา
พระอธิการจรัญ ทักขญาโณ วัดหลวงขุนวิน
(สาขาวัดสังฆทาน
จ.นนทบุรี) ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
*********
(นโม ๓ จบ)
ขอนอบน้อมต่อผู้มีพระภาคเจ้า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง กราบคาราวะครูบาอาจารย์ พระเถรานุเถระ กราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงปู่สังวาลย์ เขมโก และหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
เจริญสุขญาติโยมที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม
เราจะต้องทำความเข้าใจให้มากในเรื่องที่ว่า
ทำไมคนเราจึงต้องปล่อยวาง เพราะว่าโลกนี้เป็นของไม่เที่ยง ไม่อยู่ในอำนาจของเราจึงควรปล่อยวางโลกนี้
ปล่อยวางในที่นี้ คือละความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เรายึดถือไว้ แล้วเข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเป็นของเรา
เป็นตัวตนของเรา การปล่อยวางมิได้หมายถึงว่าเราปล่อยวางในเรื่องอื่นๆ แต่เป็นการปล่อยวางด้านอารมณ์ เราเกิดขึ้นมาแล้วก็มีกายใจที่พัวพันอยู่กับโลกนี้
คนเราเกิดมาเราจะต้องเรียนรู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อปล่อยวางความเป็นโลกหรือสิ่งต่างๆที่เราพัวพันอยู่ การประพฤติปฏิบัติอย่างไรก็แล้วแต่ ผลของการปฏิบัตินั้นออกมา ต้องตรงจุดตรงเป้าหมายตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงจะเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง “การทำสมาธิทำอุบายวิธีต่างๆ เรามาสรุปตรงที่ว่า จิตปล่อยวาง การปล่อยวางของอารมณ์ของจิตต้องปล่อยวางอย่างเด็ดขาด อารมณ์ของจิตต้องตัดขาดจากโลกนี้ ไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น” นั่นหมายถึงว่าจิตจะต้องไม่ปรุงแต่งในอารมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ความถูกต้องอยู่ตรงนั้น ถ้าบุคคลทำได้ดังนี้แล้ว ถือว่าการประพฤติเช่นนั้นถูกต้อง เป้าหมายจุดสูงสุด คือ การปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด
การปฏิบัติอย่างไรก็แล้วแต่ ที่เราปฏิบัติหรือทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าทำถูกจริงๆ จะเหมือนกับว่าคนนั้นหายป่วยหายไข้ได้ ยานั้นถือว่าเป็นยาที่ถูกต้องตรงกับโรค การปฏิบัติอันใดที่จิตสามารถเพิกถอนตนเองออกจากอารมณ์ทั้งหมด เป็นจิตอิสระไม่ขึ้นตรงต่ออารมณ์ทั้งหมดได้โดยถาวรตลอดไป ไม่ใช่เป็นอิสระเวลาใดเวลาหนึ่ง แต่เป็นอิสระยืนนานตลอดไปได้ คนนั้นถือว่าปฏิบัติได้ถูกต้อง จิตนั้นหลุดออกจากอารมณ์ทั้งหมด ที่เป็นเครื่องพันธนาการตัวเองกับโลกนี้
การประพฤติปฏิบัติเราต้องศึกษาให้กว้างไกลมากมาย เพื่อนำไปสู่การดับทุกข์ อย่างแรกเรามาศึกษาตามครูบาอาจารย์ในวัดต่างๆ ก่อนอื่นก็ให้นั่งสมาธิ จิตคนเราที่ส่งไปในอารมณ์ต่างๆ ตลอดเวลา ก็ให้ทำจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์หนึ่ง จิตเป็นธรรมชาติที่เป็นตัวรู้โดยตัวเอง การฝึกจิตตรงนี้ทำให้บ่อยๆ ก็จะสามารถมีความชำนิชำนาญ ทำจิตให้นิ่งลงได้ การนิ่งของจิตจะนิ่งลงไปโดยตัวเอง แล้วเกิดความสุขโดยตัวเองออกมา จิตนิ่งจึงเป็นการที่จิตรวมตัวของตัวเองเป็นจุดเดียว จากการกระจัดกระจายของอารมณ์ต่างๆ ให้มารวมตัวอยู่จุดเดียวเหมือนเลนส์รวมแสงอาทิตย์ จากแสงที่กระจายอยู่ให้รวมลงเป็นจุดเดียว ฉะนั้น จึงสามารถรวมความรู้สึกโดยตัวเองเป็นจุดเดียว ทำให้จิตนิ่งอยู่ในตัวจุดเดียวนั้นก็สามารถที่จะเป็นสมาธิ สมาธิหมายถึงตรงนั้นเอง แต่การทำสมาธิครั้งแรกเราก็ยากอยู่ เพราะจิตเรายังไม่ถูกฝึก แล้วอารมณ์ที่มีอยู่ก็มากมายก่ายกอง เป็นอุปสรรคที่จะทำให้จิตนั้นนิ่งได้ยากเป็นเรื่องธรรมดา ทุกคนก็มาจากตรงนั้น คนเราก็มีอารมณ์มากมายอยู่แล้ว เมื่อฝึกสมาธิบ่อยๆ จิตนิ่งลงไปๆๆ จิตจะนิ่งอยู่ในจุดเดียว บางคนคิดว่าจิตที่นิ่งนั้น คือ มรรคผลนิพพาน เพราะว่าจิตนั้นนิ่งจริงและความสุขอันเกิดจากจิตนิ่งนั้นมีจริง เพราะคนเราที่เกิดมาทุกคนต้องการความสุข ก็มาเจอจิตที่นิ่งนั้นเป็นความสุข เข้าใจว่าจิตนิ่งนั้นเป็นจิตปล่อยวางหรือจิตที่หลุดออกจากอารมณ์ แต่ความจริงนั้นไม่ใช่ เพราะจิตนั้นนิ่งเองเกิดจากการฝึกบ่อยๆนั้น จิตหลีกอารมณ์ได้ เอาอารมณ์วางไว้ข้างนอก แล้วเอาจิตหลบอยู่ข้างใน สมมุติว่าเราเข้าไปในบ้านทิ้งเหตุการณ์ข้างนอกบ้านไว้ จิตนิ่งแต่จิตก็มีเวลาอยู่ตรงนั้นได้ไม่นาน จำเป็นจะต้องออกมาข้างนอก จิตที่มีสมาธิ เมื่อคลายจากสมาธิแล้วจะเห็นได้ว่า ความปรุงแต่งของจิตก็จะเกิดเหมือนเดิม ความสงบอย่างนี้เป็นความสงบที่หลีกอารมณ์ แล้วก็เข้าไปสงบอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เหมือนเราทำงานแล้ววางงานไว้ไปหลบอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง เราทิ้งงานไว้แล้วก็ไปหลบนอนหลับพักผ่อนอยู่ที่บ้าน สมาธินี้เหมือนพักผ่อน แต่เป็นเพียงการพักผ่อนได้ระยะหนึ่ง เมื่อออกจากการพักผ่อนก็จะเจอปัญหามากมายตามมาอีกทีหนึ่ง ความสงบอยู่อย่างนี้ เป็นสมาธิพื้นฐานของการประพฤติปฏิบัติแรกๆ แล้วคนๆนั้นก็จะฝึกอย่างนี้อยู่ตลอด ด้วยหวังว่าความสงบมากเท่าใดนั่น คือ หมดกิเลสมากเท่านั้น
เมื่อคิดเช่นนั้นก็ทำสมาธิให้จิตนิ่งตลอด แต่เราสังเกตเห็นว่า เวลาที่จิตนิ่งลงไป จิตจะทิ้งอารมณ์ทั้งหมดไว้ข้างนอก แล้วหลบอยู่ข้างใน ซึ่งตรงนั้นเมื่อจิตสงบลงไปแล้วอารมณ์เข้าไม่ถึง ทำให้จิตเป็นอิสระจากอารมณ์ จิตจึงสงบอยู่ได้ แต่เป็นเพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะตรงนั้นไม่ใช่ชีวิตประจำวันที่เราจะอยู่ได้ตลอดเวลา หมายถึงตัวของเรามีกายกับใจและประตูทางออกของใจดวงนี้คือ ทวารทั้ง ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกับมีบ้านหลังหนึ่ง แล้วบ้านหลังนี้มีประตูทางออก ๖ ประตู แต่เมื่อก่อนจิตเราไม่เคยเข้าอยู่ในบ้าน คอยแต่จะออกนอกบ้านทางประตูทั้ง ๖ อยู่เรื่อยๆ จิตจึงไม่สงบ เมื่อทำสมาธิจึงเกิดความสงบเย็น เหมือนกับว่าจิตเราเคยคลุกคลีกับอารมณ์อยู่ตลอดเวลา แต่ตอนหลังเมื่อฝึกสมาธิ จิตเราก็จะทิ้งอารมณ์ไว้ข้างนอก แล้วเข้าไปอยู่ในบ้าน แต่ทิ้งอารมณ์ทั้งหมดไว้นอกบ้าน และที่บ้านของเราไม่ใช่ชีวิตประจำวันของเราที่จะต้องอยู่ตรงนั้นตลอด เพราะเราจะต้องออกนอกบ้าน จะเข้าบ้านเมื่อยามจำเป็น และออกนอกบ้านเมื่อยามที่ต้องออกไปทำงาน แต่เราอยู่ในบ้านนั้นสงบอยู่ เมื่อออกนอกบ้านเราก็จะเจอกับอารมณ์ที่รออยู่แล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้เราจะทำสมาธิสงบแค่ไหนก็สงบอยู่ได้ภายในเท่านั้น เวลาจิตออกจากความสงบ มันจะวิ่งไปหาอารมณ์เดิมที่เคยไป เพราะประตูทั้ง ๖ นั้น เปิดอยู่ตลอดเวลา ทำไมการที่เราจะยั้งจิตให้อยู่ในสมาธิจึงทำได้ยาก คนที่มีสมาธิคอยจะหยุดจิตตรงนี้ พยายามจะกันจิตให้เข้าข้างในอยู่เรื่อย เพราะอยู่ข้างนอกนั้นอยู่ยาก ประคองยาก ถ้าอยู่ข้างนอกเอาจิตไม่อยู่ เพราะอารมณ์ปรุงแต่งรุมจิตดวงนี้ ถ้าอยู่ข้างในพออยู่ได้ แต่ก็ไม่อยู่ได้นานตลอด เพราะเราต้องใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำงาน
คนเราเกิดมาเราจะต้องเรียนรู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อปล่อยวางความเป็นโลกหรือสิ่งต่างๆที่เราพัวพันอยู่ การประพฤติปฏิบัติอย่างไรก็แล้วแต่ ผลของการปฏิบัตินั้นออกมา ต้องตรงจุดตรงเป้าหมายตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงจะเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง “การทำสมาธิทำอุบายวิธีต่างๆ เรามาสรุปตรงที่ว่า จิตปล่อยวาง การปล่อยวางของอารมณ์ของจิตต้องปล่อยวางอย่างเด็ดขาด อารมณ์ของจิตต้องตัดขาดจากโลกนี้ ไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น” นั่นหมายถึงว่าจิตจะต้องไม่ปรุงแต่งในอารมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ความถูกต้องอยู่ตรงนั้น ถ้าบุคคลทำได้ดังนี้แล้ว ถือว่าการประพฤติเช่นนั้นถูกต้อง เป้าหมายจุดสูงสุด คือ การปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด
การปฏิบัติอย่างไรก็แล้วแต่ ที่เราปฏิบัติหรือทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าทำถูกจริงๆ จะเหมือนกับว่าคนนั้นหายป่วยหายไข้ได้ ยานั้นถือว่าเป็นยาที่ถูกต้องตรงกับโรค การปฏิบัติอันใดที่จิตสามารถเพิกถอนตนเองออกจากอารมณ์ทั้งหมด เป็นจิตอิสระไม่ขึ้นตรงต่ออารมณ์ทั้งหมดได้โดยถาวรตลอดไป ไม่ใช่เป็นอิสระเวลาใดเวลาหนึ่ง แต่เป็นอิสระยืนนานตลอดไปได้ คนนั้นถือว่าปฏิบัติได้ถูกต้อง จิตนั้นหลุดออกจากอารมณ์ทั้งหมด ที่เป็นเครื่องพันธนาการตัวเองกับโลกนี้
การประพฤติปฏิบัติเราต้องศึกษาให้กว้างไกลมากมาย เพื่อนำไปสู่การดับทุกข์ อย่างแรกเรามาศึกษาตามครูบาอาจารย์ในวัดต่างๆ ก่อนอื่นก็ให้นั่งสมาธิ จิตคนเราที่ส่งไปในอารมณ์ต่างๆ ตลอดเวลา ก็ให้ทำจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์หนึ่ง จิตเป็นธรรมชาติที่เป็นตัวรู้โดยตัวเอง การฝึกจิตตรงนี้ทำให้บ่อยๆ ก็จะสามารถมีความชำนิชำนาญ ทำจิตให้นิ่งลงได้ การนิ่งของจิตจะนิ่งลงไปโดยตัวเอง แล้วเกิดความสุขโดยตัวเองออกมา จิตนิ่งจึงเป็นการที่จิตรวมตัวของตัวเองเป็นจุดเดียว จากการกระจัดกระจายของอารมณ์ต่างๆ ให้มารวมตัวอยู่จุดเดียวเหมือนเลนส์รวมแสงอาทิตย์ จากแสงที่กระจายอยู่ให้รวมลงเป็นจุดเดียว ฉะนั้น จึงสามารถรวมความรู้สึกโดยตัวเองเป็นจุดเดียว ทำให้จิตนิ่งอยู่ในตัวจุดเดียวนั้นก็สามารถที่จะเป็นสมาธิ สมาธิหมายถึงตรงนั้นเอง แต่การทำสมาธิครั้งแรกเราก็ยากอยู่ เพราะจิตเรายังไม่ถูกฝึก แล้วอารมณ์ที่มีอยู่ก็มากมายก่ายกอง เป็นอุปสรรคที่จะทำให้จิตนั้นนิ่งได้ยากเป็นเรื่องธรรมดา ทุกคนก็มาจากตรงนั้น คนเราก็มีอารมณ์มากมายอยู่แล้ว เมื่อฝึกสมาธิบ่อยๆ จิตนิ่งลงไปๆๆ จิตจะนิ่งอยู่ในจุดเดียว บางคนคิดว่าจิตที่นิ่งนั้น คือ มรรคผลนิพพาน เพราะว่าจิตนั้นนิ่งจริงและความสุขอันเกิดจากจิตนิ่งนั้นมีจริง เพราะคนเราที่เกิดมาทุกคนต้องการความสุข ก็มาเจอจิตที่นิ่งนั้นเป็นความสุข เข้าใจว่าจิตนิ่งนั้นเป็นจิตปล่อยวางหรือจิตที่หลุดออกจากอารมณ์ แต่ความจริงนั้นไม่ใช่ เพราะจิตนั้นนิ่งเองเกิดจากการฝึกบ่อยๆนั้น จิตหลีกอารมณ์ได้ เอาอารมณ์วางไว้ข้างนอก แล้วเอาจิตหลบอยู่ข้างใน สมมุติว่าเราเข้าไปในบ้านทิ้งเหตุการณ์ข้างนอกบ้านไว้ จิตนิ่งแต่จิตก็มีเวลาอยู่ตรงนั้นได้ไม่นาน จำเป็นจะต้องออกมาข้างนอก จิตที่มีสมาธิ เมื่อคลายจากสมาธิแล้วจะเห็นได้ว่า ความปรุงแต่งของจิตก็จะเกิดเหมือนเดิม ความสงบอย่างนี้เป็นความสงบที่หลีกอารมณ์ แล้วก็เข้าไปสงบอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เหมือนเราทำงานแล้ววางงานไว้ไปหลบอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง เราทิ้งงานไว้แล้วก็ไปหลบนอนหลับพักผ่อนอยู่ที่บ้าน สมาธินี้เหมือนพักผ่อน แต่เป็นเพียงการพักผ่อนได้ระยะหนึ่ง เมื่อออกจากการพักผ่อนก็จะเจอปัญหามากมายตามมาอีกทีหนึ่ง ความสงบอยู่อย่างนี้ เป็นสมาธิพื้นฐานของการประพฤติปฏิบัติแรกๆ แล้วคนๆนั้นก็จะฝึกอย่างนี้อยู่ตลอด ด้วยหวังว่าความสงบมากเท่าใดนั่น คือ หมดกิเลสมากเท่านั้น
เมื่อคิดเช่นนั้นก็ทำสมาธิให้จิตนิ่งตลอด แต่เราสังเกตเห็นว่า เวลาที่จิตนิ่งลงไป จิตจะทิ้งอารมณ์ทั้งหมดไว้ข้างนอก แล้วหลบอยู่ข้างใน ซึ่งตรงนั้นเมื่อจิตสงบลงไปแล้วอารมณ์เข้าไม่ถึง ทำให้จิตเป็นอิสระจากอารมณ์ จิตจึงสงบอยู่ได้ แต่เป็นเพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะตรงนั้นไม่ใช่ชีวิตประจำวันที่เราจะอยู่ได้ตลอดเวลา หมายถึงตัวของเรามีกายกับใจและประตูทางออกของใจดวงนี้คือ ทวารทั้ง ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกับมีบ้านหลังหนึ่ง แล้วบ้านหลังนี้มีประตูทางออก ๖ ประตู แต่เมื่อก่อนจิตเราไม่เคยเข้าอยู่ในบ้าน คอยแต่จะออกนอกบ้านทางประตูทั้ง ๖ อยู่เรื่อยๆ จิตจึงไม่สงบ เมื่อทำสมาธิจึงเกิดความสงบเย็น เหมือนกับว่าจิตเราเคยคลุกคลีกับอารมณ์อยู่ตลอดเวลา แต่ตอนหลังเมื่อฝึกสมาธิ จิตเราก็จะทิ้งอารมณ์ไว้ข้างนอก แล้วเข้าไปอยู่ในบ้าน แต่ทิ้งอารมณ์ทั้งหมดไว้นอกบ้าน และที่บ้านของเราไม่ใช่ชีวิตประจำวันของเราที่จะต้องอยู่ตรงนั้นตลอด เพราะเราจะต้องออกนอกบ้าน จะเข้าบ้านเมื่อยามจำเป็น และออกนอกบ้านเมื่อยามที่ต้องออกไปทำงาน แต่เราอยู่ในบ้านนั้นสงบอยู่ เมื่อออกนอกบ้านเราก็จะเจอกับอารมณ์ที่รออยู่แล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้เราจะทำสมาธิสงบแค่ไหนก็สงบอยู่ได้ภายในเท่านั้น เวลาจิตออกจากความสงบ มันจะวิ่งไปหาอารมณ์เดิมที่เคยไป เพราะประตูทั้ง ๖ นั้น เปิดอยู่ตลอดเวลา ทำไมการที่เราจะยั้งจิตให้อยู่ในสมาธิจึงทำได้ยาก คนที่มีสมาธิคอยจะหยุดจิตตรงนี้ พยายามจะกันจิตให้เข้าข้างในอยู่เรื่อย เพราะอยู่ข้างนอกนั้นอยู่ยาก ประคองยาก ถ้าอยู่ข้างนอกเอาจิตไม่อยู่ เพราะอารมณ์ปรุงแต่งรุมจิตดวงนี้ ถ้าอยู่ข้างในพออยู่ได้ แต่ก็ไม่อยู่ได้นานตลอด เพราะเราต้องใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำงาน
เวลาเรานั่งสมาธิเราจะนั่งหลับตา
“ปิดหู ปิดตา”
แต่เมื่อออกจากสมาธิเราจะต้องสัมผัสสัมพันธ์กับโลกนี้ หมายถึงว่าต้องทำงานในโลกนี้
ประตูอันเป็นทางออก คือ ตา หู จมูก
ลิ้น กาย ใจ ก็เปิด ถึงที่สุดก็ต้องลืมตาต่อสู้กับทางโลก
แต่ระหว่างที่ลืมตาเปิดหูเปิดตาแล้วจิตก็วิ่งออกอย่างเดิม สมาธิตรงนี้ไม่สามารถจะยืนหยัดในความสงบของตัวเองได้ เมื่อจิตวิ่งออกทางหูทางตา จึงเป็นเรื่องยาก คนนั้นถ้าจะฝึกสมาธิอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา
เพื่อจะหนีอารมณ์เหล่านั้นให้มากที่สุด
ด้วยหวังว่า สักวันหนึ่งกิเลสจะเหือดแห้ง จะไปถึงชัยชนะนั้นไม่ได้ เพราะเรามัวแต่หนีอารมณ์แล้วก็ไปสงบอยู่ แต่อารมณ์ไม่ได้หนีเรา อารมณ์จะเข้าไปในบ้านไม่ได้เท่านั้น
แต่รออยู่นอกบ้าน
เวลาจิตสงบภายในอารมณ์เข้าไม่ได้
แต่เมื่อจิตออกมามีหูมีตาก็พบกับอารมณ์ทันทีเลย
ถ้าเราหนีอย่างนี้ไม่สามารถจะแก้ปัญหาต่างๆได้ จงรู้เถิดว่าสมาธิที่ฝึกเช่นนี้ไม่สามารถจะหาทางไปได้อีกเลย
ผลที่สุดคนๆนั้น ก็คิดว่าถ้าอย่างนี้แล้ว เราคิดไปในอารมณ์ใด เราก็ดับอารมณ์นั้น ปกติจิตคิดอะไร เราจ้องดูจิต อารมณ์นั้นก็จะดับไป แค่คิดเรารู้ก็ดับทันที เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นธรรมชาติของจิตที่จะต้องดับเมื่อเรามองจิต แต่เวลาเราเผลอจิตก็ออกไปอีกแล้ว เวลาเรามองก็ดับทันที เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นธรรมชาติของจิตที่จะต้องดับเมื่อเรามองจิต แต่เวลาเราเผลอจิตก็ออกอีกแล้ว เวลาเรามองก็ดับ ถ้าคนนั้นคิดว่าเราจะคอยดับอยู่อย่างนี้ตลอดก็หนีไม่พ้น เพราะเกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลา ไม่มีวี่แววว่าจะยุติเมื่อใด ไม่มีขอบเขตจำกัด บางคนคิดว่าอารมณ์เหล่านี้เป็นอารมณ์เก่าที่ค้างอยู่ แล้วอารมณ์ใหม่เราไม่ให้เกิด เหมือนกับเรามีเงินในกระเป๋าจ่ายไปๆ แล้วไม่หาเพิ่มสักวันเงินทองก็หมดเอง กันข้างนอกไม่ให้เข้าแล้วกันข้างในไม่ให้ออกไปเรื่อยๆ แล้วสักวันคงจะหมด ถึงแม้เข้าใจเช่นนั้นก็ไม่มีวี่แววที่จะหมดได้เพราะมีการเกิดดับขึ้นเรื่อยๆ จนไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนว่าจะยุติลงเมื่อใด ถ้าจะหาทางแก้สมาธิตรงนี้ แล้วคิดว่าไม่เป็นไรหรอก จิตกับอารมณ์เป็นของคู่กัน เกิดแล้วก็ดับ คิดเสียว่าเป็นไตรลักษณ์ เป็นของเกิดดับอยู่อย่างนั้น เราอย่าไปใส่ใจเลย มีความเข้าใจเสียใหม่ว่า คิดไปแล้วมองแล้วดับเป็นธรรมชาติของโลกนี้ว่า มีเกิดแล้วมีดับ เราไม่ไปใส่ใจให้ความสำคัญอะไรมากนัก เพียงแต่ดูอยู่รู้อยู่ ถ้าคนนั้นตั้งความเห็นของตนไว้อย่างนั้น คนนั้นก็ไม่มีวี่แววที่จะยุติอารมณ์(กิเลส)ของจิตดวงนั้นได้เลย ถึงจะเป็นความเห็นตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า โลกไม่เที่ยงมีเกิดแล้วก็มีดับเกิดดับเป็นเช่นนั้นไม่มีอะไรเป็นอะไร ถึงความเห็นจะบ่งบอกอย่างนั้น แล้วปรับความเห็นของตนไว้อย่างนั้นแล้ว คนนั้นก็ไม่ยุติที่จะทำให้เหือดแห้งต่ออารมณ์ได้ นานเข้าๆ สมาธิที่ทำอยู่อย่างนี้รักษาได้ยามที่มีอารมณ์ไม่รุนแรง สมาธิก็พอจะทรงตัวอยู่ได้ ก็พอรักษาความสงบนั้น แต่ยามที่มีอารมณ์รุนแรงขึ้นมา บางครั้งสมาธิก็หลุดไปได้ แล้วแต่จังหวะคลื่นของอารมณ์ที่กระทบมากหรือน้อย เหมือนกับสภาวะคลื่นในทะเลที่มีมากหรือน้อย หากคลื่นไม่มากนักก็พอทรงสมาธินั้นได้ ถ้ามีคลื่นมาก บางครั้งสมาธิก็หลุดเหมือนกัน จะต้องทำสมาธิใหม่กว่าจะฟื้นคืนมาได้ก็ยากเย็น เป็นภาวะที่คนฝึกสมาธิจะต้องเจอ ถ้าคนนั้นมองเห็นทางนี้ โดยไม่เห็นว่ามีทางอื่นปรากฏ คนๆนั้นก็จะวนอยู่ตรงนี้ วนไปวนมา ผลที่สุด คือ “ดับความปรุงแต่งไม่ได้ ถึงจะสงบแต่ไม่สงัด”
ผลที่สุดคนๆนั้น ก็คิดว่าถ้าอย่างนี้แล้ว เราคิดไปในอารมณ์ใด เราก็ดับอารมณ์นั้น ปกติจิตคิดอะไร เราจ้องดูจิต อารมณ์นั้นก็จะดับไป แค่คิดเรารู้ก็ดับทันที เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นธรรมชาติของจิตที่จะต้องดับเมื่อเรามองจิต แต่เวลาเราเผลอจิตก็ออกไปอีกแล้ว เวลาเรามองก็ดับทันที เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นธรรมชาติของจิตที่จะต้องดับเมื่อเรามองจิต แต่เวลาเราเผลอจิตก็ออกอีกแล้ว เวลาเรามองก็ดับ ถ้าคนนั้นคิดว่าเราจะคอยดับอยู่อย่างนี้ตลอดก็หนีไม่พ้น เพราะเกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลา ไม่มีวี่แววว่าจะยุติเมื่อใด ไม่มีขอบเขตจำกัด บางคนคิดว่าอารมณ์เหล่านี้เป็นอารมณ์เก่าที่ค้างอยู่ แล้วอารมณ์ใหม่เราไม่ให้เกิด เหมือนกับเรามีเงินในกระเป๋าจ่ายไปๆ แล้วไม่หาเพิ่มสักวันเงินทองก็หมดเอง กันข้างนอกไม่ให้เข้าแล้วกันข้างในไม่ให้ออกไปเรื่อยๆ แล้วสักวันคงจะหมด ถึงแม้เข้าใจเช่นนั้นก็ไม่มีวี่แววที่จะหมดได้เพราะมีการเกิดดับขึ้นเรื่อยๆ จนไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนว่าจะยุติลงเมื่อใด ถ้าจะหาทางแก้สมาธิตรงนี้ แล้วคิดว่าไม่เป็นไรหรอก จิตกับอารมณ์เป็นของคู่กัน เกิดแล้วก็ดับ คิดเสียว่าเป็นไตรลักษณ์ เป็นของเกิดดับอยู่อย่างนั้น เราอย่าไปใส่ใจเลย มีความเข้าใจเสียใหม่ว่า คิดไปแล้วมองแล้วดับเป็นธรรมชาติของโลกนี้ว่า มีเกิดแล้วมีดับ เราไม่ไปใส่ใจให้ความสำคัญอะไรมากนัก เพียงแต่ดูอยู่รู้อยู่ ถ้าคนนั้นตั้งความเห็นของตนไว้อย่างนั้น คนนั้นก็ไม่มีวี่แววที่จะยุติอารมณ์(กิเลส)ของจิตดวงนั้นได้เลย ถึงจะเป็นความเห็นตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า โลกไม่เที่ยงมีเกิดแล้วก็มีดับเกิดดับเป็นเช่นนั้นไม่มีอะไรเป็นอะไร ถึงความเห็นจะบ่งบอกอย่างนั้น แล้วปรับความเห็นของตนไว้อย่างนั้นแล้ว คนนั้นก็ไม่ยุติที่จะทำให้เหือดแห้งต่ออารมณ์ได้ นานเข้าๆ สมาธิที่ทำอยู่อย่างนี้รักษาได้ยามที่มีอารมณ์ไม่รุนแรง สมาธิก็พอจะทรงตัวอยู่ได้ ก็พอรักษาความสงบนั้น แต่ยามที่มีอารมณ์รุนแรงขึ้นมา บางครั้งสมาธิก็หลุดไปได้ แล้วแต่จังหวะคลื่นของอารมณ์ที่กระทบมากหรือน้อย เหมือนกับสภาวะคลื่นในทะเลที่มีมากหรือน้อย หากคลื่นไม่มากนักก็พอทรงสมาธินั้นได้ ถ้ามีคลื่นมาก บางครั้งสมาธิก็หลุดเหมือนกัน จะต้องทำสมาธิใหม่กว่าจะฟื้นคืนมาได้ก็ยากเย็น เป็นภาวะที่คนฝึกสมาธิจะต้องเจอ ถ้าคนนั้นมองเห็นทางนี้ โดยไม่เห็นว่ามีทางอื่นปรากฏ คนๆนั้นก็จะวนอยู่ตรงนี้ วนไปวนมา ผลที่สุด คือ “ดับความปรุงแต่งไม่ได้ ถึงจะสงบแต่ไม่สงัด”
สงบกับสงัดนี้ต่างกัน
บางครั้งสงบแต่ไม่สงัด แต่สงบแล้วสงัดด้วย คือ สงบแล้วจะไม่มีความปรุงแต่งเลย
คิดว่าจะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อตาหูมีอยู่ เป็นของใช้อยู่ในโลกนี้ เป็นไปได้อย่างไร
ที่เราจะปิดหูปิดตาไม่ให้จิตออกไปสู่อารมณ์เหล่านั้น ถ้าคิดอย่างนี้ก็ไม่ถูก เพราะจริงๆ
แล้วสามารถจะดับได้ทั้งที่มีหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่เราก็สามารถจะดับได้ ถ้าปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องก็จะดับได้ จิตนี้มิได้หมายถึงว่า จิตที่ฝึกแล้วจะเป็นอย่างนี้แล้วเป็นสมาธิอย่างที่กล่าวมานี้ก็ไม่ใช่
จะต้องมีสมาธิอื่นหรือความรู้อื่นที่เป็นองค์ประกอบทำให้จิตไปรู้แล้ว ก็สามารถที่จะยุติได้
ฉะนั้น จิตที่ถูกฝึกมาอย่างถูกต้องแล้ว
จิตดวงนี้จะไม่มีการออกไปอีกเลย ทั้งที่หู
ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
มีอยู่ มีประตูที่เปิดอยู่ แต่จิตดวงนี้ก็ไม่ออกไปไหนเลย ทั้งๆที่ประตูก็เปิดอยู่ นั่นคือเป็นผู้ปฏิบัติที่ถูกต้อง จริงๆแล้วจิตจะไม่กลับไปสู่สภาวะเดิมอีก จะไม่มีอารมณ์เดิมอีก อารมณ์ที่ปรุงแต่งเดิมๆจะขาดหายสิ้น เขาสามารถที่จะทำลายอารมณ์เหล่านั้นได้ และเป็นความสงบถาวรไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ไม่ว่าจะเป็นในสมาธิหรือนอกสมาธิ
จิตก็เป็นหนึ่งเดียวอยู่ตลอด นั่นคือ
การประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว จะมีผลเช่นนั้นออกมา
แต่ว่าสมาธิที่อธิบายมาแบบจิตนิ่งนั้น อย่างไรก็ทำเช่นนี้ไม่ได้ แม้จะสงบจริงๆ แต่ว่าสงบเป็นบางครั้งเท่านั้น หลายโอกาสที่ไม่สงบหรือสงบแต่ไม่สงัด ฉะนั้น เราจงทำสิ่งที่ยิ่งๆกว่านั้น ทำสิ่งที่ดีกว่านั้นอีก พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ยุติลงเพียงแค่นั้น แต่ว่าสติปัญญาของนักปฏิบัติแต่ละคน จะแทงได้แค่ไหนในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า แท้จริงแล้วปฏิบัติอย่างไร จึงจะไปสู่ความหลุดพ้นได้ ความจริงจิตหลุดพ้นได้จริงๆ ดังคำสอนพระพุทธเจ้า เรื่อง “ปฏิจจสมุปบาท” มีอยู่ว่า อวิชชาทำให้เกิดสังขาร ความไม่รู้ก่อให้เกิดความปรุงแต่งของจิต และความปรุงแต่งของจิตก่อให้เกิดวิญญาณ เป็นความรู้และความปรุงแต่งของจิตที่มีทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นเป็นวิญญาณที่วิ่งออกมาไม่ต้องมี ถ้าเราทำไม่ได้แล้ว คิดว่าจะมีคนทำได้หรือในโลกนี้ จิตดวงนี้ยุติการเคลื่อนไหวทั้งหมดตลอดชีวิตของคนๆนั้น จะไม่มีอีกแล้วตลอดไป สมาธิตรงนั้น จะเป็นสมาธิที่ยั่งยืนตลอดจะเป็นไปได้หรือ ? นี่คือ ความสับสนภายในใจที่เรามองว่า เป็นไปไม่ได้
แต่ว่าสมาธิที่อธิบายมาแบบจิตนิ่งนั้น อย่างไรก็ทำเช่นนี้ไม่ได้ แม้จะสงบจริงๆ แต่ว่าสงบเป็นบางครั้งเท่านั้น หลายโอกาสที่ไม่สงบหรือสงบแต่ไม่สงัด ฉะนั้น เราจงทำสิ่งที่ยิ่งๆกว่านั้น ทำสิ่งที่ดีกว่านั้นอีก พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ยุติลงเพียงแค่นั้น แต่ว่าสติปัญญาของนักปฏิบัติแต่ละคน จะแทงได้แค่ไหนในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า แท้จริงแล้วปฏิบัติอย่างไร จึงจะไปสู่ความหลุดพ้นได้ ความจริงจิตหลุดพ้นได้จริงๆ ดังคำสอนพระพุทธเจ้า เรื่อง “ปฏิจจสมุปบาท” มีอยู่ว่า อวิชชาทำให้เกิดสังขาร ความไม่รู้ก่อให้เกิดความปรุงแต่งของจิต และความปรุงแต่งของจิตก่อให้เกิดวิญญาณ เป็นความรู้และความปรุงแต่งของจิตที่มีทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นเป็นวิญญาณที่วิ่งออกมาไม่ต้องมี ถ้าเราทำไม่ได้แล้ว คิดว่าจะมีคนทำได้หรือในโลกนี้ จิตดวงนี้ยุติการเคลื่อนไหวทั้งหมดตลอดชีวิตของคนๆนั้น จะไม่มีอีกแล้วตลอดไป สมาธิตรงนั้น จะเป็นสมาธิที่ยั่งยืนตลอดจะเป็นไปได้หรือ ? นี่คือ ความสับสนภายในใจที่เรามองว่า เป็นไปไม่ได้
เรามองสภาพความเป็นจริงที่เราฝึกอยู่ว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้
แท้จริงเป็นได้และมีได้ ถ้าเรายังไม่เป็นหรือยังเป็นไม่ได้
แสดงว่าการฝึกของเรายังไม่ถูกต้อง
รับประทานยาที่ไม่ถูกโรคๆ นั้นก็ยังไม่หาย
ทางเส้นใดหรือยาชนิดใดที่รักษาโรคหาย ถือว่าทางเส้นนั้นถูกต้อง ยานั้นถูกกับโรคที่เราเป็นอยู่ การประพฤติปฏิบัติเราจะคิดว่าถูกต้องอย่างไร
? เราเอาความปรุงแต่งเป็นเครื่องวัด ความปรุงแต่งนั่นแหละ เป็นโลกที่เราเป็นอยู่คือกิเลสต่างๆ
เมื่อเราฝึกสมาธิทำจิตให้นิ่งอยู่จุดเดียวมากจนจิตนิ่งถึงเป็นฌาน รู้เห็นแสงสว่างมาก จิตที่เป็นสมาธิจริงๆแล้ว แสงสว่างของจิตเองก็มีสว่างไสวอยู่ อย่าไว้ใจว่าแสงสว่างเหล่านั้น คือ ธรรมะที่ถูกต้อง ถ้าแสงสว่างนั้นวิเศษจริงหรืออัศจรรย์จริง ความปรุงแต่งย่อมถูกทำลายไป แต่แสงสว่างนั้นก็ไม่ได้ทำให้ความปรุงแต่งนั้นหายไปได้ ความปรุงแต่งก็ยังมีอยู่ ฉะนั้น จิตเมื่อเราฝึกไปแล้วจะมีความอัศจรรย์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เราจะต้องดูที่ความปรุงแต่งว่า ความปรุงแต่งของจิตหมดไปหรือดับไปหรือยัง ถ้ายังไม่ดับ ความอัศจรรย์เหล่านั้นก็ไม่มีบทบาทอะไร ทำให้จิตไม่สามารถออกจากความปรุงแต่งได้ นี่คือ “เครื่องวัดของกิเลส”
นักปฏิบัติจะต้องมาศึกษาว่า ถ้าอย่างนั้นจะทำอย่างไร? ฝึกไปๆสมาธิแบบจิตนิ่ง เป็นการบังคับจิตให้สงบ จิตสงบลงไปวนไปวนมา บางคนฝึกมานานสิบปี ยี่สิบปี ก็วนอยู่แค่นั้น จงรู้เถิดว่าสมาธิอย่างนี้ มีขอบเขตอยู่แค่นี้เท่านั้น ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นสมาธิที่ยั่งยืนได้ เพราะสมาธิทางพระพุทธศาสนาสอนสมาธิที่ลึกเข้าไปอีกระดับหนึ่ง มีแต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น พระพุทธองค์ค้นพบว่าสมาธิที่ไปรู้อย่างนี้ได้ จะเป็นสมาธิที่ยั่งยืน หมายถึงคนๆนั้นถ้าอบรมถึงที่สุดแล้ว จิตดวงนี้จะยุติพฤติกรรมต่างๆหมดเลย จิตของเขาจะไม่ออกเที่ยวอย่างเมื่อก่อน ทั้งๆที่ตามีอยู่ หูมีอยู่ จะนั่งสมาธิหรือไม่ ? จิตก็อยู่ในสมาธิ จิตเป็นหนึ่งเดียวอยู่ตลอดเวลา สมาธิอย่างนี้จึงเป็นสมาธิที่ซับซ้อนยากเย็นสับสนมากมายเช่นกัน เข้าใจยาก แต่ว่าสมาธิอย่างแรกจำเป็นต้องทำก่อน ทุกคนที่ทำสมาธิ แม้ว่าจะไม่นับถือพระพุทธศาสนา เมื่อทำสมาธิก็เจอลักษณะเช่นเดียวกัน
คนในโลกนี้เมื่อทำสมาธิก็เจอสมาธิอันเดียวกันหมด แต่ไม่สามารถที่จะยังสมาธิให้หลุดพ้นจากความปรุงแต่งได้ จิตสงบได้เป็นบางครั้ง จะสงบลึกเข้าไปในตัวจิตเอง เปรียบเทียบตัวเราเหมือนบ้านมีทางออก ๖ ประตู เมื่อก่อนเราไม่ได้เข้าบ้านอยู่นอกบ้าน ก็เลยวุ่นวายกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆบ้านตลอดเวลา เปรียบเหมือนว่าเราไม่เคยทำจิตให้สงบ ปล่อยจิตใจอยู่ข้างนอก ตอนหลังเราฝึกสมาธิเอาจิตเข้าไปอยู่ในบ้าน เข้าไปอยู่ในตัวจิตเองหรือให้จิตสงบอยู่ในตัวเองเหมือนเราเข้าอยู่ในบ้าน การที่จิตเข้าอยู่ในบ้านคือจิตรวมตัวในตัวเองสงบอยู่ อารมณ์ทั้งหมดไม่สามารถจะเข้าไปได้ เมื่อจิตรวมตัวอยู่อย่างนั้น จะทิ้งอารมณ์ทั้งหมด จิตอยู่ข้างนอกอยู่ตื้นกว่า จิตที่รวมตัวอยู่จะอยู่ลึกลงไป ไม่สามารถจะทำให้จิตดวงนั้นมีอารมณ์ต่างๆเข้าไปยุ่งได้ เพราะมีขอบเขตว่าอยู่ได้แค่นี้ ลึกกว่านี้ห้ามเข้าไป ความปรุงแต่งจะมีอำนาจอยู่ข้างนอกบ้าน แต่ไม่มีอำนาจอยู่ในบ้าน จิตจะหดตัวทำให้ความปรุงแต่งเข้าไปไม่ได้ ถ้าจิตออกมาความปรุงแต่งก็จะรุมเลย ความปรุงแต่งไม่ได้หนีเราเลย รออยู่นอกบ้านนั่นเอง
วิถีชีวิตของคนเราทั้งหมดจะต้องมีอยู่ในบ้านและนอกบ้าน ไม่ใช่อยู่ในบ้านตลอด เราจะต้องออกจากบ้าน อยู่ในบ้านจิตก็สงบอยู่ แต่อารมณ์รอเราอยู่ อารมณ์ความปรุงแต่งเหล่านั้นสามารถที่จะย่ำยีจิตของเราได้ สังเกตได้ว่า อารมณ์มีอิทธิพลอยู่นอกบ้าน แต่ไม่มีอิทธิพลอยู่ในบ้าน เราจะทำอย่างไร? อารมณ์เข้ามาไม่ได้ก็จริง แต่เมื่อจิตออกนอก เราจะเคลียร์ความปรุงแต่งได้อย่างไร นักปฏิบัติจะมองลึกกว่านั้นว่า การทำสมาธิแค่จิตนิ่งนั้นไปไม่รอด เมื่อสัมผัสกับอารมณ์ข้างนอก เขาจะต้องออกมาสู้กับอารมณ์ข้างนอก แต่ว่าจะไม่ออกข้างนอกทีเดียว เขาจะตั้งจิตไว้อยู่คาบเกี่ยวระหว่างนอกบ้านกับในบ้าน บางคนที่ปฏิบัติมาพอสมควรก็พอจะรู้ บางคนปฏิบัติน้อยจะเข้าใจยาก
ทำอย่างไรให้เราเข้าบ้านก็สงบ กิเลสหรืออารมณ์ที่รออยู่นอกบ้านก็ไม่มี อันนี้ คือ ความต้องการของเรา เราอยากจะสงบตลอดเวลาทั้งในบ้านและนอกบ้าน ถ้าอย่างนั้นเราต้องออกนอกบ้านไปเคลียร์กับกิเลสเหล่านี้ เพราะเราจะหนีก็หนีไม่รอดเหมือนกับว่าเราหนีเข้าถ้ำ กิเลสก็รออยู่ปากถ้ำนั่นเอง ฉะนั้น เมื่อเราเข้าถ้ำอารมณ์ตามไม่ได้ อารมณ์มีอำนาจเฉพาะนอกถ้ำไม่สามารถจะเข้าถ้ำได้ แต่ถ้าออกมาแล้วเจอกิเลสจิตก็ถูกอารมณ์ย่ำยี “สมาธินั้น คือ ถ้ำ เมื่อออกนอกถ้ำ ออกนอกสมาธิอารมณ์ก็รออยู่” เราจะทำอย่างไรหนอให้สงบ เข้าถ้ำก็สงบ ออกมาก็ไม่ต้องมีอารมณ์มารอเรา มีแต่ความสงบอย่างนั้น นี่คือความต้องการของเรา แต่ยังมองหาทางออกไม่ได้ เขามองตรงนี้ว่า ถ้าอย่างนั้นแล้วจิตที่เป็นสมาธิอย่างนั้นไม่ควรเข้าไปบ่อย แล้วก็มาเคลียร์อารมณ์กันดีกว่า แต่เคลียร์อารมณ์หมายถึงว่า เราจะเอาจิตอยู่แค่สติ
เมื่อเราฝึกสมาธิทำจิตให้นิ่งอยู่จุดเดียวมากจนจิตนิ่งถึงเป็นฌาน รู้เห็นแสงสว่างมาก จิตที่เป็นสมาธิจริงๆแล้ว แสงสว่างของจิตเองก็มีสว่างไสวอยู่ อย่าไว้ใจว่าแสงสว่างเหล่านั้น คือ ธรรมะที่ถูกต้อง ถ้าแสงสว่างนั้นวิเศษจริงหรืออัศจรรย์จริง ความปรุงแต่งย่อมถูกทำลายไป แต่แสงสว่างนั้นก็ไม่ได้ทำให้ความปรุงแต่งนั้นหายไปได้ ความปรุงแต่งก็ยังมีอยู่ ฉะนั้น จิตเมื่อเราฝึกไปแล้วจะมีความอัศจรรย์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เราจะต้องดูที่ความปรุงแต่งว่า ความปรุงแต่งของจิตหมดไปหรือดับไปหรือยัง ถ้ายังไม่ดับ ความอัศจรรย์เหล่านั้นก็ไม่มีบทบาทอะไร ทำให้จิตไม่สามารถออกจากความปรุงแต่งได้ นี่คือ “เครื่องวัดของกิเลส”
นักปฏิบัติจะต้องมาศึกษาว่า ถ้าอย่างนั้นจะทำอย่างไร? ฝึกไปๆสมาธิแบบจิตนิ่ง เป็นการบังคับจิตให้สงบ จิตสงบลงไปวนไปวนมา บางคนฝึกมานานสิบปี ยี่สิบปี ก็วนอยู่แค่นั้น จงรู้เถิดว่าสมาธิอย่างนี้ มีขอบเขตอยู่แค่นี้เท่านั้น ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นสมาธิที่ยั่งยืนได้ เพราะสมาธิทางพระพุทธศาสนาสอนสมาธิที่ลึกเข้าไปอีกระดับหนึ่ง มีแต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น พระพุทธองค์ค้นพบว่าสมาธิที่ไปรู้อย่างนี้ได้ จะเป็นสมาธิที่ยั่งยืน หมายถึงคนๆนั้นถ้าอบรมถึงที่สุดแล้ว จิตดวงนี้จะยุติพฤติกรรมต่างๆหมดเลย จิตของเขาจะไม่ออกเที่ยวอย่างเมื่อก่อน ทั้งๆที่ตามีอยู่ หูมีอยู่ จะนั่งสมาธิหรือไม่ ? จิตก็อยู่ในสมาธิ จิตเป็นหนึ่งเดียวอยู่ตลอดเวลา สมาธิอย่างนี้จึงเป็นสมาธิที่ซับซ้อนยากเย็นสับสนมากมายเช่นกัน เข้าใจยาก แต่ว่าสมาธิอย่างแรกจำเป็นต้องทำก่อน ทุกคนที่ทำสมาธิ แม้ว่าจะไม่นับถือพระพุทธศาสนา เมื่อทำสมาธิก็เจอลักษณะเช่นเดียวกัน
คนในโลกนี้เมื่อทำสมาธิก็เจอสมาธิอันเดียวกันหมด แต่ไม่สามารถที่จะยังสมาธิให้หลุดพ้นจากความปรุงแต่งได้ จิตสงบได้เป็นบางครั้ง จะสงบลึกเข้าไปในตัวจิตเอง เปรียบเทียบตัวเราเหมือนบ้านมีทางออก ๖ ประตู เมื่อก่อนเราไม่ได้เข้าบ้านอยู่นอกบ้าน ก็เลยวุ่นวายกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆบ้านตลอดเวลา เปรียบเหมือนว่าเราไม่เคยทำจิตให้สงบ ปล่อยจิตใจอยู่ข้างนอก ตอนหลังเราฝึกสมาธิเอาจิตเข้าไปอยู่ในบ้าน เข้าไปอยู่ในตัวจิตเองหรือให้จิตสงบอยู่ในตัวเองเหมือนเราเข้าอยู่ในบ้าน การที่จิตเข้าอยู่ในบ้านคือจิตรวมตัวในตัวเองสงบอยู่ อารมณ์ทั้งหมดไม่สามารถจะเข้าไปได้ เมื่อจิตรวมตัวอยู่อย่างนั้น จะทิ้งอารมณ์ทั้งหมด จิตอยู่ข้างนอกอยู่ตื้นกว่า จิตที่รวมตัวอยู่จะอยู่ลึกลงไป ไม่สามารถจะทำให้จิตดวงนั้นมีอารมณ์ต่างๆเข้าไปยุ่งได้ เพราะมีขอบเขตว่าอยู่ได้แค่นี้ ลึกกว่านี้ห้ามเข้าไป ความปรุงแต่งจะมีอำนาจอยู่ข้างนอกบ้าน แต่ไม่มีอำนาจอยู่ในบ้าน จิตจะหดตัวทำให้ความปรุงแต่งเข้าไปไม่ได้ ถ้าจิตออกมาความปรุงแต่งก็จะรุมเลย ความปรุงแต่งไม่ได้หนีเราเลย รออยู่นอกบ้านนั่นเอง
วิถีชีวิตของคนเราทั้งหมดจะต้องมีอยู่ในบ้านและนอกบ้าน ไม่ใช่อยู่ในบ้านตลอด เราจะต้องออกจากบ้าน อยู่ในบ้านจิตก็สงบอยู่ แต่อารมณ์รอเราอยู่ อารมณ์ความปรุงแต่งเหล่านั้นสามารถที่จะย่ำยีจิตของเราได้ สังเกตได้ว่า อารมณ์มีอิทธิพลอยู่นอกบ้าน แต่ไม่มีอิทธิพลอยู่ในบ้าน เราจะทำอย่างไร? อารมณ์เข้ามาไม่ได้ก็จริง แต่เมื่อจิตออกนอก เราจะเคลียร์ความปรุงแต่งได้อย่างไร นักปฏิบัติจะมองลึกกว่านั้นว่า การทำสมาธิแค่จิตนิ่งนั้นไปไม่รอด เมื่อสัมผัสกับอารมณ์ข้างนอก เขาจะต้องออกมาสู้กับอารมณ์ข้างนอก แต่ว่าจะไม่ออกข้างนอกทีเดียว เขาจะตั้งจิตไว้อยู่คาบเกี่ยวระหว่างนอกบ้านกับในบ้าน บางคนที่ปฏิบัติมาพอสมควรก็พอจะรู้ บางคนปฏิบัติน้อยจะเข้าใจยาก
ทำอย่างไรให้เราเข้าบ้านก็สงบ กิเลสหรืออารมณ์ที่รออยู่นอกบ้านก็ไม่มี อันนี้ คือ ความต้องการของเรา เราอยากจะสงบตลอดเวลาทั้งในบ้านและนอกบ้าน ถ้าอย่างนั้นเราต้องออกนอกบ้านไปเคลียร์กับกิเลสเหล่านี้ เพราะเราจะหนีก็หนีไม่รอดเหมือนกับว่าเราหนีเข้าถ้ำ กิเลสก็รออยู่ปากถ้ำนั่นเอง ฉะนั้น เมื่อเราเข้าถ้ำอารมณ์ตามไม่ได้ อารมณ์มีอำนาจเฉพาะนอกถ้ำไม่สามารถจะเข้าถ้ำได้ แต่ถ้าออกมาแล้วเจอกิเลสจิตก็ถูกอารมณ์ย่ำยี “สมาธินั้น คือ ถ้ำ เมื่อออกนอกถ้ำ ออกนอกสมาธิอารมณ์ก็รออยู่” เราจะทำอย่างไรหนอให้สงบ เข้าถ้ำก็สงบ ออกมาก็ไม่ต้องมีอารมณ์มารอเรา มีแต่ความสงบอย่างนั้น นี่คือความต้องการของเรา แต่ยังมองหาทางออกไม่ได้ เขามองตรงนี้ว่า ถ้าอย่างนั้นแล้วจิตที่เป็นสมาธิอย่างนั้นไม่ควรเข้าไปบ่อย แล้วก็มาเคลียร์อารมณ์กันดีกว่า แต่เคลียร์อารมณ์หมายถึงว่า เราจะเอาจิตอยู่แค่สติ
เริ่มแรกของการฝึกสมาธิ จิตไม่เป็นสมาธิก็ฝึกให้เป็นสมาธิ จิตไม่นิ่งฝึกให้นิ่ง แต่นิ่งแล้วไปไม่รอด ฝึกแล้วจิตก็ออกจากความนิ่งนั้นอีกทีหนึ่ง อยู่ระหว่างความนิ่งกับอารมณ์ อยู่ในลักษณะตาลืม
หูได้ยิน อยู่กึ่งกลางระหว่างอารมณ์กับความนิ่ง
จะนอกก็ไม่ใช่ จะในก็ไม่ใช่ อยู่ระหว่างกลางๆเขาจะตั้งจิตไว้ตรงนั้น คือ
สมาธิเข้าไปอยู่บ่อยๆก็ไม่ช่วยให้เคลียร์ปัญหาได้ จะหนีปัญหาอย่างเดียว พอจะสงบแต่เวลายามไม่สงบมาก็เอาไม่อยู่ สมาธิอย่างนี้สามารถจะเสื่อมได้ เราเข้าอยู่ในถ้ำสงบ ในบ้านไม่สงบ เราอยู่ระหว่างกึ่งกลางระหว่างสงบกับไม่สงบ
เป็นแค่สติ
เขาจะตั้งจิตไว้อย่างตื้นๆ
จะเข้าสมาธิก็ไม่ใช่จะออกไปข้างนอกก็ไม่ให้ออก ตรงนั้นแหละเป็นที่ตั้งของสติ
สร้างตรงนั้นให้มีความแกร่งขึ้นมา เรียกว่า
“สติปัฏฐาน ๔ หรืออบรมมรรคมีองค์
๘” อันเดียวกัน
อบรมตรงนี้เป็นการอบรมที่ตื้นๆบางคนคิดว่า
การเอาสติตั้งอยู่ตรงนี้ไม่น่าอยู่ จิตประคองยาก คอยจะไหลออกข้างนอก เรามาจับอารมณ์ที่มารบกวนจิตว่ามีอะไรบ้าง
ทีหนีทีไล่เป็นอย่างไร มาศึกษาให้ลึกกว่านั้น
เราหลบอยู่ในสมาธิจิตนิ่งทำไปแล้วจะตัน หาทางออกไม่ได้ การที่เราหนีอารมณ์หนีเหตุการณ์ แต่เข้าไปในถ้ำสงบได้
ออกนอกถ้ำเจอปรากฏการณ์อารมณ์ต่างๆที่รออยู่ เราจะแก้ปัญหาโดยเราจะไม่หนีอารมณ์ เราจะจับเหตุการณ์ทั้งหมดมาวิเคราะห์ แล้วก็แก้ไขให้ลงตัว สมาธิแบบจิตนิ่งทำไปแล้วจะตัน หาทางออกไม่ได้ แต่ไม่ใช่ไม่มีหนทางออก
ทางนั้นมีอยู่แต่เราค้นหาไม่เจอ
นักปฏิบัติมารู้ว่า ปัญหา คือ อารมณ์ ฉะนั้น เขาจะไม่หนีอารมณ์ แต่เขาจะแก้ไขโดยชาญฉลาดด้วยปัญญา โดยอาศัยพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ แก้ไขโดยความถูกต้องโดยไม่หนีอารมณ์ การที่จิตไม่หนีอารมณ์คนที่เคยทำสมาธิให้จิตสงบมาก่อนไม่ค่อยชอบ เพราะประคองยาก แต่เราต้องทน ประการแรก คือ จิตไม่ให้เข้าสมาธิ ไม่ให้จิตออกนอก เราจะอยู่ตรงกลางๆนั้น แล้วมาวิเคราะห์ว่า ความไม่สงบของจิตเกิดจากอะไร? เกิดจากกิเลสสามตัว คือ ราคะ โทสะ โมหะ นั่นเอง กิเลสทั้งสามตัวเป็นเครื่องชักจูงจิตไปสู่อารมณ์ตามอำนาจของเขา
ฉะนั้น เราจะแก้ไขอย่างไร พระพุทธองค์ก็ทรงสอนไว้ว่า เขาจะไม่หนีเหตุการณ์ต่างๆ แล้วจับเหตุการณ์ต่างๆมาวิเคราะห์ศึกษาและแก้ไข เราจะเห็นว่าจิตที่คิดไปในอารมณ์ต่างๆ มีกิเลสสามตัว คือ ราคะ โทสะ โมหะ มีอยู่แล้ว ไม่พ้นกิเลสสามตัวนี้ อารมณ์ที่ปรุงแต่งจิตนอกเหนือกิเลสสามตัวนี้ไม่มีเลย ถ้าคิดทางชอบ เรียกว่า “ราคานุสัย” หากคิดทางไม่ชอบ เรียกว่า “ปฏิฆานุสัย” และคิดทางเฉยๆรักก็ไม่ใช่ ชังก็ไม่ใช่ เรียกว่า “อวิชชานุสัย”
อวิชชา คือ ความไม่รู้ จิตที่ปรุงแต่งอยู่เดิมนั้นไม่ถูก เพราะเป็นของเดิมที่มีอยู่ เราเกิดมาก็เดินทางผิดอยู่แล้ว ถ้าเป็นทางผิด เรียกว่า “มิจฉามรรค” เป็นทางผิดอยู่จึงได้เป็นอย่างนั้น เขามามองตรงนี้ว่า ความคิดที่คิดไปแล้ว ถ้าเราเติมเชื้อเข้าไป ความคิดเหล่านั้นก็จะมาก ถ้าจิตคิดไปในอารมณ์ต่างๆ เราเพิ่มความคิดเข้าไปอีกส่งเสริมเพิ่มเติมจิตก็จะคิดใหญ่ ราคะที่ไม่เกิดย่อมเกิด โทสะที่ไม่เกิดย่อมเกิด โมหะที่ไม่เกิดย่อมเกิด เกิดแล้วย่อมงอกงาม เราจะเห็นว่าเมื่อเราเพิ่มเติมความคิดเข้าไป จิตก็จะได้ช่องแล้วก็เป็นอาหารที่หล่อเลี้ยงให้กิเลสนั้นสมบูรณ์อยู่ ความคิดงอกงามสมบูรณ์อยู่ตรงนั้นเอง พอไฟจะมอดก็เติมเชื้อไฟเข้าไปอีก นักปฏิบัติจะต้องไม่หนีอารมณ์ เพราะถ้าหนีอารมณ์อย่างไรก็ไม่รอด ทางที่ดีเราหันหน้าเข้าสู้อารมณ์ แล้วแก้ไขจึงจะหนีรอด อย่าไปกลัวอารมณ์ คนทำสมาธิจะกลัวอารมณ์คิดนิดคิดหน่อยไม่ได้ ตัดเลยเพราะทุกข์ แต่หนีเท่าไหร่ก็ไม่รอด หันหน้าเข้าหาศึกษาให้ถ่องแท้แล้วแก้ไข จะหนีรอดได้
นักปฏิบัติมารู้ว่า ปัญหา คือ อารมณ์ ฉะนั้น เขาจะไม่หนีอารมณ์ แต่เขาจะแก้ไขโดยชาญฉลาดด้วยปัญญา โดยอาศัยพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ แก้ไขโดยความถูกต้องโดยไม่หนีอารมณ์ การที่จิตไม่หนีอารมณ์คนที่เคยทำสมาธิให้จิตสงบมาก่อนไม่ค่อยชอบ เพราะประคองยาก แต่เราต้องทน ประการแรก คือ จิตไม่ให้เข้าสมาธิ ไม่ให้จิตออกนอก เราจะอยู่ตรงกลางๆนั้น แล้วมาวิเคราะห์ว่า ความไม่สงบของจิตเกิดจากอะไร? เกิดจากกิเลสสามตัว คือ ราคะ โทสะ โมหะ นั่นเอง กิเลสทั้งสามตัวเป็นเครื่องชักจูงจิตไปสู่อารมณ์ตามอำนาจของเขา
ฉะนั้น เราจะแก้ไขอย่างไร พระพุทธองค์ก็ทรงสอนไว้ว่า เขาจะไม่หนีเหตุการณ์ต่างๆ แล้วจับเหตุการณ์ต่างๆมาวิเคราะห์ศึกษาและแก้ไข เราจะเห็นว่าจิตที่คิดไปในอารมณ์ต่างๆ มีกิเลสสามตัว คือ ราคะ โทสะ โมหะ มีอยู่แล้ว ไม่พ้นกิเลสสามตัวนี้ อารมณ์ที่ปรุงแต่งจิตนอกเหนือกิเลสสามตัวนี้ไม่มีเลย ถ้าคิดทางชอบ เรียกว่า “ราคานุสัย” หากคิดทางไม่ชอบ เรียกว่า “ปฏิฆานุสัย” และคิดทางเฉยๆรักก็ไม่ใช่ ชังก็ไม่ใช่ เรียกว่า “อวิชชานุสัย”
อวิชชา คือ ความไม่รู้ จิตที่ปรุงแต่งอยู่เดิมนั้นไม่ถูก เพราะเป็นของเดิมที่มีอยู่ เราเกิดมาก็เดินทางผิดอยู่แล้ว ถ้าเป็นทางผิด เรียกว่า “มิจฉามรรค” เป็นทางผิดอยู่จึงได้เป็นอย่างนั้น เขามามองตรงนี้ว่า ความคิดที่คิดไปแล้ว ถ้าเราเติมเชื้อเข้าไป ความคิดเหล่านั้นก็จะมาก ถ้าจิตคิดไปในอารมณ์ต่างๆ เราเพิ่มความคิดเข้าไปอีกส่งเสริมเพิ่มเติมจิตก็จะคิดใหญ่ ราคะที่ไม่เกิดย่อมเกิด โทสะที่ไม่เกิดย่อมเกิด โมหะที่ไม่เกิดย่อมเกิด เกิดแล้วย่อมงอกงาม เราจะเห็นว่าเมื่อเราเพิ่มเติมความคิดเข้าไป จิตก็จะได้ช่องแล้วก็เป็นอาหารที่หล่อเลี้ยงให้กิเลสนั้นสมบูรณ์อยู่ ความคิดงอกงามสมบูรณ์อยู่ตรงนั้นเอง พอไฟจะมอดก็เติมเชื้อไฟเข้าไปอีก นักปฏิบัติจะต้องไม่หนีอารมณ์ เพราะถ้าหนีอารมณ์อย่างไรก็ไม่รอด ทางที่ดีเราหันหน้าเข้าสู้อารมณ์ แล้วแก้ไขจึงจะหนีรอด อย่าไปกลัวอารมณ์ คนทำสมาธิจะกลัวอารมณ์คิดนิดคิดหน่อยไม่ได้ ตัดเลยเพราะทุกข์ แต่หนีเท่าไหร่ก็ไม่รอด หันหน้าเข้าหาศึกษาให้ถ่องแท้แล้วแก้ไข จะหนีรอดได้
เรามาดูจุดอ่อนที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า
ขณะใดที่จิตคิดไปในอารมณ์ต่างๆ แล้วเราเพิ่มเติมในอารมณ์นั้นมากขึ้น เช่น ขณะนี้จิตปรุงแต่งไปทางราคะ กามราคะถูกครอบงำแล้ว เราก็เพิ่มเติมอารมณ์ เหมือนเติมเชื้อไฟเข้าไปอีกเรื่อยๆ
จิตก็โน้มเอียงไปทางราคะ เมื่อมีน้อยก็มีมากขึ้น
มีมากก็มากขึ้นอีก ในที่สุดก็บีบคั้นหัวใจของเราให้เร่าร้อนอยู่ตลอด อันนี้เป็นอันว่าจิตเราก็ถูกครอบงำแล้ว ด้วยกามราคะนั้นๆ
ขณะใดที่จิตเราถูกปรุงแต่งด้วยกามราคะ แต่เราตัดน้ำหล่อเลี้ยงเขา จิตถูกปรุงแต่งไปในกามราคะเมื่อใด เราดึงจิตกลับเลย แล้วน้อมมาพิจารณาตัวเอง เราสังเกตได้ว่า ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิด ที่เกิดแล้วย่อมบรรเทาลง เมื่อบรรเทาลงแล้ว ที่เกิดแล้วจะไม่เกิดขึ้นอีก ที่เกิดแล้วจะบรรเทา เราจะเห็นได้ชัดเท่ากับว่าอารมณ์ข้างนอกกับอารมณ์ข้างในแบ่งฝ่ายกัน แบ่งอารมณ์เป็นสองส่วน คือ ฝ่ายข้างในกับฝ่ายข้างนอก นี่คือ การแก้ปัญหาเรื่องอารมณ์ เพราะว่าเราทำสมาธิเท่าไร ก็หนีอารมณ์ไม่พ้น แต่เราหันหน้าเข้าหา แล้วศึกษาให้ถ่องแท้ แก้ไขปัญหาให้ถูกต้อง โดยศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนำไปปฏิบัติ เราจะแก้ไขได้ นี่คือ การไม่หนีปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาด้วยสติปัญญา จนสุดท้ายปัญหาเหล่านั้นถูกสะสางลงไป เราจึงถึงความสงบได้อีกทีหนึ่ง
ขณะใดที่จิตเราถูกปรุงแต่งด้วยกามราคะ แต่เราตัดน้ำหล่อเลี้ยงเขา จิตถูกปรุงแต่งไปในกามราคะเมื่อใด เราดึงจิตกลับเลย แล้วน้อมมาพิจารณาตัวเอง เราสังเกตได้ว่า ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิด ที่เกิดแล้วย่อมบรรเทาลง เมื่อบรรเทาลงแล้ว ที่เกิดแล้วจะไม่เกิดขึ้นอีก ที่เกิดแล้วจะบรรเทา เราจะเห็นได้ชัดเท่ากับว่าอารมณ์ข้างนอกกับอารมณ์ข้างในแบ่งฝ่ายกัน แบ่งอารมณ์เป็นสองส่วน คือ ฝ่ายข้างในกับฝ่ายข้างนอก นี่คือ การแก้ปัญหาเรื่องอารมณ์ เพราะว่าเราทำสมาธิเท่าไร ก็หนีอารมณ์ไม่พ้น แต่เราหันหน้าเข้าหา แล้วศึกษาให้ถ่องแท้ แก้ไขปัญหาให้ถูกต้อง โดยศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนำไปปฏิบัติ เราจะแก้ไขได้ นี่คือ การไม่หนีปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาด้วยสติปัญญา จนสุดท้ายปัญหาเหล่านั้นถูกสะสางลงไป เราจึงถึงความสงบได้อีกทีหนึ่ง
ความสงบที่เกิดขึ้นทีหลัง
เป็นความสงบที่ยั่งยืนจริงๆ แนวทางการแก้ปัญหา คือ หันหน้าเข้าหาปัญหา
ไม่ได้หนีปัญหา ถ้าเราหนีๆ ไม่รอด
ถ้าเราหันหน้าเข้าหาจะแก้ปัญหารอด
นักปฏิบัติต้องมาศึกษาตรงนี้ จะเห็นอารมณ์ของจิตแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ จิตหนึ่งคิดออกข้างนอก แต่อีกจิตหนึ่งจะพาจิตดวงนี้เข้าข้างใน คือ ดูตัวของเราเองในอาการ ๓๒ เราสังเกตได้ว่า
จิตที่คิดหน้าตาอย่างไร รูปลักษณะอย่างไร
ทั้งที่เรานั่งหลับอยู่ตรงนี้ความคิดนั้นมีลักษณะอย่างไร
เราต้องดูตรงนี้ให้ออกก่อน ความคิดของจิต แม้ว่าเรานั่งหลับตา
จิตที่คิดไปทีแรกก็ คือ ภาพของจิตเป็นภาพของอารมณ์ออกมาก่อน จิตคิดอารมณ์อะไร ภาพจะปรากฏขึ้นมาในจิต เราจงจับตาดูตรงภาพนั้น
ภาพของจิตที่สร้างขึ้นมาโดยตัวของจิตเองเป็นรูปของอารมณ์ “ภาพของจิต คือ ตัวปัญหา และเป็นปัญหามากที่สุด
จับตาตัวละครตรงนี้ให้ดี การที่จิตไม่สงบ เพราะเรานึกแล้วเกิดภาพออกมา เป็นตัวร้ายทำลายสมาธิ
เป็นตัวสร้างปัญหาโลกแตกก็ว่าได้”
ภาพของจิตทำให้ไม่สงบแปรไปตามกิเลสสามตัวนั้น ภาพนั้นเป็นที่ตั้งของราคะ ก็จะเกิดราคะ ภาพนั้นเป็นที่ตั้งของโทสะ ก็จะเกิดโทสะ ภาพนั้นตั้งอยู่ในอารมณ์กลางๆ ไม่ใช่ราคะ ไม่ใช่โทสะ
ก็เป็นโมหะ
ความคิดของคนเราวันหนึ่งๆ คือ รัก ชอบ ไม่ชอบ ชัง มีอยู่สามอย่างนี้เองที่แสดงออกมา แม้แต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะสัมผัสสัมพันธ์กับอารมณ์นั้น อยู่โดยตรงอยู่แล้ว แม้แต่เรานั่งหลับตาปิดหูปิดตาแล้ว ก็ยังนึกถึงภาพนั้น ภาพใหม่ก็เก็บเกี่ยวเข้ามาเป็นสังขาร ภาพเก่าก็เก็บเกี่ยวเข้ามาเป็นสัญญา สัญญา คือ สิ่งที่ผ่านไปก็เก็บเกี่ยวไว้ในจิตก็กลายเป็นว่า สัญญา สังขาร วิญญาณ คนใดที่มีจิตนึกถึงภาพเหล่านั้นขึ้นมา ก็เรียกว่า เวทนา การเห็นภาพนั้นแจ้งออกมา เรียกว่า วิญญาณ ฉะนั้น รูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ของคนเราประกอบเป็นขันธ์ ๕ นั่นเอง
ความคิดของคนเราวันหนึ่งๆ คือ รัก ชอบ ไม่ชอบ ชัง มีอยู่สามอย่างนี้เองที่แสดงออกมา แม้แต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะสัมผัสสัมพันธ์กับอารมณ์นั้น อยู่โดยตรงอยู่แล้ว แม้แต่เรานั่งหลับตาปิดหูปิดตาแล้ว ก็ยังนึกถึงภาพนั้น ภาพใหม่ก็เก็บเกี่ยวเข้ามาเป็นสังขาร ภาพเก่าก็เก็บเกี่ยวเข้ามาเป็นสัญญา สัญญา คือ สิ่งที่ผ่านไปก็เก็บเกี่ยวไว้ในจิตก็กลายเป็นว่า สัญญา สังขาร วิญญาณ คนใดที่มีจิตนึกถึงภาพเหล่านั้นขึ้นมา ก็เรียกว่า เวทนา การเห็นภาพนั้นแจ้งออกมา เรียกว่า วิญญาณ ฉะนั้น รูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ของคนเราประกอบเป็นขันธ์ ๕ นั่นเอง
เราสังเกตได้ว่า ภาพเหล่านั้นเป็นตัวปัญหามาก ถ้าเราไม่มีภาพนี้ จิตของเราก็สงบได้ ใช่แน่นอน
แต่ว่าภาพไม่มี มีแต่จิตสว่าง
เป็นตัวรู้นิ่งสว่างอยู่
ความสว่างของจิตอย่างนั้นก็หนีไม่รอด นั่นเป็นสมาธิที่ไม่มีอารมณ์ก็จริง
เมื่อออกจากสมาธิก็มีอารมณ์รออยู่
บางทีก็มีภาพอื่นขึ้นมาด้วยเป็นนิมิต(อารมณ์ของสมาธิ)
ทำอย่างไรเราจะทำลายภาพเหล่านี้ได้ ตัวปัญหา คือ
ภาพที่สร้างขึ้นมาจากมโนทวาร จึงเป็นรูปของอารมณ์ มองตรงนี้ว่า เมื่อภาพมีขึ้น จิตของเราสร้างภาพอยู่ตลอดเวลา
อารมณ์ของเราก็ไม่มีขอบเขตตลอด แล้วจะทำอย่างไรให้อารมณ์มีขอบเขต เราจะสังเกตเห็นว่า จิตของเราคิดนึกในอารมณ์ต่างๆ
นอกตัวหมดแล้ว เมื่อทำสมาธิจิตก็สงบ
เมื่อออกมาก็ไปตามอารมณ์
เราจงเปลี่ยนภาพเหล่านั้น เป็นภาพของเราเองแล้ว จิตก็จะสงบอย่างยั่งยืนได้
ฉะนั้น
เราจะเห็นนักปฏิบัติที่ทำกัมมัฏฐาน ๕ เกสา
โลมา นขา ทันตา
ตโจ
ให้มองเห็นสิ่งเหล่านี้แทนภาพเหล่านั้น
แล้วเราจะแก้ปัญหาของเราได้ แต่ปัญหา คือ
เรานึกภาพกรรมฐาน ๕ นึกไม่ออกเลย
เป็นของสิ่งเดียวในโลกที่นึกไม่ได้คือตัวเราเอง
เพราะเราเคยชินกับการเห็นข้างนอกไม่เคยมองตัวเอง ความจริงที่เราไม่เห็น ถูกเราปิดอยู่
ยังมืดบอดอยู่ ทั้งที่ตาเราจริงๆ ตาเนื้อตาหนังก็อีกตาหนึ่ง ตาใจนั้นถูกปิดอยู่ เราใช้ตาเนื้อส่องกระจกเราก็เห็นตัวเองได้
เราก็ยังเห็นอยู่ แต่ตาในปิดเอาไว้ เราจึงนึกถึงตัวเองไม่ออกเลย ฉะนั้น คนที่ก้าวเข้าสู่พระอริยบุคคลเบื้องต้น
คือ พระโสดาบัน ดวงตาดวงนี้จะเปิดออกมา เปิดครั้งแรกในการเห็นนั้น หมายถึง คนๆ นั้น ตาในถูกปิดมานมนานแล้ว
ถูกหมอเยียวยาให้ดวงตานั้นสามารถที่จะเห็นชัดขึ้นมา เป็นตาดีเริ่มเห็นรางๆ
เห็นชัดขึ้นมาตามลำดับ เรียกว่า “ดวงตาเห็นธรรม” บางคนถามว่าการเห็นตัวเองจะเห็นยังไง ก็เห็นเหมือนอย่างที่เราเห็นข้างนอก แต่เป็นการเห็นข้างในไม่ใช่ข้างนอก
นึกเห็นตัวเองอย่างที่เรานึกเห็นผู้อื่น เห็นผู้อื่นอย่างไร เราก็เห็นตัวเองเช่นนั้น
แต่การเห็นผู้อื่น จิตวิ่งออกข้างนอก
แต่การเห็นตัวเองจิตวิ่งเข้าข้างใน แล้วอบรมจนมองเห็นตัวเองให้มากแล้ว
ทิ้งความเห็นข้างนอกนั้น ให้ไปเห็นตัวเองอย่างเดียว จิตนั้น
จะเป็นจิตสงบแน่นอนในตัวเอง
ความลับอันนี้ถูกปิดเอาไว้ เรานึกไม่ถึงว่า สมาธิที่แท้จริงอยู่ตรงนี้เอง
เราทำตรงนี้ ที่ตั้งของจิตตรงนี้ ทำให้เกิดให้มีให้แจ้งออกมา จะเป็นสมาธิอีกรูปหนึ่งซึ่งเราไม่เคยพบมาก่อน ตรงนี้จะมีสมาธิได้แตกต่างจากสมาธิที่อบรมครั้งแรก ซึ่งเป็นสมถกัมมัฏฐาน (โลกียสมาธิ) เป็นสมาธิวนอยู่แค่นี้ หาทางไปทางมาไม่ออก แต่สมาธิอีกแบบหนึ่ง เป็นสมาธิที่ตาในเห็น รู้แจ้งขันธ์ ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งตัวเราประกอบด้วยขันธ์ทั้งห้า การเห็นร่างกายเนื้อหนังอาการ ๓๒ นี้ก่อน แล้วจะเข้าใจรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และเราจะต้องอบรมจิตให้แจ้งตรงนี้ให้ได้ตามเป็นจริง เป็นจุดหมายสูงสุดของการทำให้แจ้งมรรคผลนิพพาน
เราทำตรงนี้ ที่ตั้งของจิตตรงนี้ ทำให้เกิดให้มีให้แจ้งออกมา จะเป็นสมาธิอีกรูปหนึ่งซึ่งเราไม่เคยพบมาก่อน ตรงนี้จะมีสมาธิได้แตกต่างจากสมาธิที่อบรมครั้งแรก ซึ่งเป็นสมถกัมมัฏฐาน (โลกียสมาธิ) เป็นสมาธิวนอยู่แค่นี้ หาทางไปทางมาไม่ออก แต่สมาธิอีกแบบหนึ่ง เป็นสมาธิที่ตาในเห็น รู้แจ้งขันธ์ ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งตัวเราประกอบด้วยขันธ์ทั้งห้า การเห็นร่างกายเนื้อหนังอาการ ๓๒ นี้ก่อน แล้วจะเข้าใจรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และเราจะต้องอบรมจิตให้แจ้งตรงนี้ให้ได้ตามเป็นจริง เป็นจุดหมายสูงสุดของการทำให้แจ้งมรรคผลนิพพาน
การทำสมาธิไม่ใช่เพียงทำจิตให้นิ่งแล้ว จะสำเร็จประโยชน์อย่างเดียวก็ไม่ใช่
เราต้องมีความรู้กว้างกว่านั้น
โดยมองตัวละครทั้งหมดให้ออกมาก่อน
แล้วหาทางหนีทีไล่ อบรมให้เป็นไปตามนั้นออกมาอีกทีหนึ่ง คนๆนั้นจะต้องโอนย้ายถ่ายเทจิตดวงนี้ไปสู่อีกระบบหนึ่งให้ได้ จากระบบเดิมๆ คือ จิตดวงนี้คิดไปในอารมณ์ข้างนอก
แล้วมีภาพออกไปเรื่อยๆ เขาจะปิดเส้นทางนั้น
เขาจะไม่รักษาตำแหน่งนั้นไว้ จะไม่ให้สิ่งนั้นงอกงามต่อไป
แล้วพยายามอบรมจิตไปสู่อีกระบบหนึ่ง ไปสู่ทางอีกเส้นหนึ่ง แล้วทำที่มืดอยู่ให้แจ้ง
ที่ยังไม่ปรากฏให้ปรากฏ
ทำสิ่งที่ยังไม่เห็นให้เห็นแจ้งขึ้นมา จิตแทนที่จะคิดข้างนอก เราไม่ให้คิด หรือคิดไปแล้วดึงกลับมา เอาจิตคิดอยู่ในตัวเราทั้งๆ
ที่ยังไม่แจ้งทั้งที่ยังมืดอยู่ แต่พยายามมองตัวเราบ่อยๆ คิดวนอยู่ในตัวเรา เอาสติไปในกายทุกเมื่อทุกที่ทุกตำแหน่งของร่างกาย
(เอาสติไปในกายทั้งปวง) เป็นแค่สติ
ไม่ใช่สมาธิที่ลึกอะไร เป็นแค่สติ เรียกว่า “กายคตาสติ หรือ สติปัฏฐาน ๔
” ตรงนี้ การอบรมจึงเกิดขึ้น
เมื่อเราใช้สติมองวนไปวนมาในกาย ทีแรกเราทำสมาธิให้จิตสงบแล้ว จิตออกไม่ได้ เพราะจิตมีอารมณ์เป็นเหตุของปัญหาที่วุ่นวาย
เราจับอารมณ์มาวิเคราะห์ จะเห็นว่าอารมณ์ทั้งหมด
เกิดจากภาพของจิตที่สร้างขึ้นมา
เพราะจิตที่สร้างภาพขึ้นมา คือ ปัญหาของอารมณ์ ภาพเหล่านั้นเป็นภาพข้างนอกตัวของเรา
จึงเป็นที่มาของอารมณ์ข้างนอกที่ไม่มีขอบเขตสิ้นสุด
แต่ต่อไปนี้เราจะนึกถึงภาพของเราเองขึ้นมาแทนภาพข้างนอก เพื่อถ่ายโอนอำนาจนั้นให้เป็นข้างใน
เปลี่ยนระบบของจิตไม่ให้ตั้งอยู่ข้างนอกมาเป็นตั้งอยู่ข้างใน แล้วตรงที่นึกถึงข้างนอกแจ้งชัด
ทำให้มืดลงและที่มืดอยู่ทำให้แจ้งขึ้น ถ้าเราอบรมไปตามระบบที่เราเข้าใจตรงนี้ได้ คนนั้นถึงจุดจบได้แน่นอน หนทางมีทางออก การปฏิบัติตรงนี้ ไม่ใช่การเข้าสมาธิ
เป็นลักษณะที่เข้าสมาธิก็ไม่ใช่ จะออกข้างนอกก็ไม่ใช่ อยู่กึ่งกลางเป็นแค่สติแล้วเอาสติตั้งไว้ จงมองจิตดวงนี้ด้วยความชาญฉลาดว่า อารมณ์เหล่านั้น
พระพุทธองค์ทรงสอนไว้อย่างไร แล้วตีปัญหาให้แตกออกมา เช่น อารมณ์ทั้งหมดของจิต คือ
ราคะ โทสะ โมหะ ให้สังเกตว่า อารมณ์ราคะเกิดขึ้น ด้วยเหตุปัจจัยอะไรหนอ?
ที่เป็นเหตุ แล้วจะดับลงด้วยอะไรหนอ? ที่เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ดับ หันหน้าเข้าหาอารมณ์
แล้วศึกษาอารมณ์ให้ถ่องแท้ และหาทางแก้ไข แล้วจะแก้ไขได้ ผู้ปฏิบัติตรงนี้เขาจะไม่กลัวอารมณ์ มีอารมณ์เกิดขึ้นมา เราจะดูให้ละเอียดแล้วก็แก้ไขไป
แล้วเขาจะแก้ปัญหาได้ ฉะนั้น อารมณ์ที่ตั้งของกิเลสทั้งสามอย่าง
คือ ราคะ โทสะ โมหะ จะมีเอกลักษณ์ในตัวเอง เฉพาะของกิเลสตัวนั้นๆ เช่น อะไรเอ่ย? ทำให้กิเลสราคะเกิดขึ้น
ที่เกิดแล้วยังให้เกิดความงอกงามไพบูลย์ และอะไรเอ่ยที่ทำให้ราคะที่ยังไม่เกิดๆ
ขึ้น ที่เกิดแล้ว ถูกทำให้บรรเทาลงไป
เราสังเกตไหมว่า จิตที่คิดไปในอารมณ์ต่างๆ
เริ่มแรกของการคิดจะแวบขึ้นมาก่อน เป็นต้นเรื่องก่อน สมมุติว่าเราจะคิดเรื่องอะไรขึ้นมา จิตคิดไปแวบหนึ่งก่อน
ทีแรกจะเริ่มเรื่องเป็นหัวข้อขึ้นมาก่อน แล้วขยายหัวข้อนั้นให้แตกแขนงออกไป
แล้วอารมณ์ก็จะไหลไปตามการแตกแขนง กลายเป็นกิ่งก้านสาขามากมายเป็นต้นไม้ใหญ่โต
ทีแรกเริ่มจากต้นไม้เล็กๆ จึงเรียกว่า
“งอกงามไพบูลย์” ขึ้น
สมมุติว่า เราคิดถึงสิ่งที่เราชอบ ที่ตั้งของกิเลสประเภทราคะ ภาพของจิตนึกถึงใครก็ได้ที่เราชอบ ชายชอบหญิง หญิงชอบชาย เกิดจากจิตปฏิพัทธ์กันตามธรรมชาติสร้างเอาไว้ก่อนนั้น ไม่ควรหนีปัญหาเอาปัญหามาวิเคราะห์ แล้วจะแก้ปัญหาได้ จิตสร้างภาพขึ้นมาเป็นที่ตั้งของราคะ ภาพที่ปรากฏเป็นภาพสิ่งที่เราชอบและพอใจ เป็นภาพหัวข้อเรื่องก่อน เราคิดขึ้นมาแวบหนึ่ง แต่เราไม่สลัดความคิดเหล่านั้นทิ้ง สังเกตถ้าเราคิดเรื่องอะไร แล้วไม่สลัดความคิดทิ้ง ความคิดนั้นก็จะทวีความรุนแรงขึ้นๆ เราก็ขยายความกว้างขึ้นๆๆ อารมณ์ก็จะมากขึ้นๆๆ จนจิตเราน้อมลงๆ กลายเป็นคิดไม่หยุดเลย เหมือนขับรถวิ่งเอื่อยๆ ก่อน แล้ววิ่งเร็วขึ้นๆ เราเคยเห็นไหมคิดมากจนเครียด คนถึงได้เป็นโรคเครียดกันมาก จะหยุดก็หยุดไม่ได้ ความแรงของอารมณ์สูง ความแรงมหาศาล ทีแรกก็เรื่องนิดเดียว แต่เราเพิ่มเติมความคิดจนงอกงาม จิตคนนั้นก็ถูกกิเลสประเภทนี้ครอบงำเต็มที่ จนถึงที่สุดจิตก็เปลี่ยนเรื่องไปคิดเรื่องใหม่ ก็เริ่มเรื่องใหม่อีก แล้วกลายเป็นเรื่องใหม่มากขึ้นอีก ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ทั้งสามตัวแสดงอยู่ในโรงละครแห่งนี้ วันๆ มีอยู่แค่นี้เองอารมณ์ เราไม่รู้จะวางจิตยังไง อยากจะวางอยู่ แต่วางไม่ลง ไม่รู้จะวางตรงไหน? ไม่เป็นไร ใหม่ๆ เราก็ไม่รู้ อะไรเอ่ย? ทำให้กิเลสราคะที่ไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดแล้วย่อมงอกงามไพบูลย์ เรียกว่า “สุภนิมิต” ทีแรกเราเริ่มคิดนิดเดียวภาพที่ตั้งอยู่เรียกว่า “สุภะ แปลว่า งาม” และ “นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย” ภาพที่ตั้งขึ้นในจิตเป็นเครื่องหมายแห่งความงามนั้นเอง ราคะที่ไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิดแล้วย่อมงอกงาม นี่คือหน้าตาของกิเลสที่เกิดขึ้น วันหลังหน้าตาของกิเลสเกิด อย่าไปเติมเชื้อไฟ อย่าไปคิดตาม ข่มใจ ตัดเลย คิดอะไรก็แล้วแต่ไม่ว่า ราคะ โทสะ โมหะ เป็นทำนองเดียวกันหมด ตัดออกแล้วนึกเห็นภาพตัวเองแทน ตัดข้างนอกมิได้หมายถึงดับแล้วก็นิ่งอยู่ เป็นอย่างนั้นก็ไปไม่รอด ดับข้างนอกแล้วไปสร้างความเห็นข้างใน ระหว่างที่ดับกับที่สร้างเวลาเดียวกัน จิตหนึ่งออกคิดไป ตัดแล้วน้อมจิตมาดู เปลี่ยนเรื่องคิดไปเลย
ความจริงเป็นความคิดเหมือนกันระหว่างข้างนอกกับข้างใน ข้างนอก คือ คิดไปในอารมณ์ต่างๆ เดิมทีเขาคิดอยู่แล้ว แต่เราเปลี่ยนความคิดไปคิดในตัวเรา เรียกข้างใน คิดไปข้างนอก เรียกข้างนอก เรารู้ตัวว่าจิตคิดข้างนอกแล้ว กิเลสชนิดนั้นชะงักเลย จิตกำลังปรุงแต่งเพลินๆ เราน้อมจิตดึงกลับมาเลย จากจิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเพลิน ความใคร่ ความยินดี ย้อมใจ เรามักจะเพลิน ตัดอารมณ์ตัดบทไม่ให้จิตตั้งไว้ ตัดแล้วน้อมมา ไม่ควรนิ่งอยู่อย่างเดียว ให้ไปคิดตัวเรา เวลาคิดเห็นตัวเอง จะให้คิดเองไม่ได้ เราต้องสร้างความคิดขึ้นมา สร้างความคิดเกี่ยวกับตัวเราขึ้นมาแทนข้างนอก เช่น การคิดในเรื่องไตรลักษณ์เพียงอย่างเดียว
สมมุติว่า เราคิดถึงสิ่งที่เราชอบ ที่ตั้งของกิเลสประเภทราคะ ภาพของจิตนึกถึงใครก็ได้ที่เราชอบ ชายชอบหญิง หญิงชอบชาย เกิดจากจิตปฏิพัทธ์กันตามธรรมชาติสร้างเอาไว้ก่อนนั้น ไม่ควรหนีปัญหาเอาปัญหามาวิเคราะห์ แล้วจะแก้ปัญหาได้ จิตสร้างภาพขึ้นมาเป็นที่ตั้งของราคะ ภาพที่ปรากฏเป็นภาพสิ่งที่เราชอบและพอใจ เป็นภาพหัวข้อเรื่องก่อน เราคิดขึ้นมาแวบหนึ่ง แต่เราไม่สลัดความคิดเหล่านั้นทิ้ง สังเกตถ้าเราคิดเรื่องอะไร แล้วไม่สลัดความคิดทิ้ง ความคิดนั้นก็จะทวีความรุนแรงขึ้นๆ เราก็ขยายความกว้างขึ้นๆๆ อารมณ์ก็จะมากขึ้นๆๆ จนจิตเราน้อมลงๆ กลายเป็นคิดไม่หยุดเลย เหมือนขับรถวิ่งเอื่อยๆ ก่อน แล้ววิ่งเร็วขึ้นๆ เราเคยเห็นไหมคิดมากจนเครียด คนถึงได้เป็นโรคเครียดกันมาก จะหยุดก็หยุดไม่ได้ ความแรงของอารมณ์สูง ความแรงมหาศาล ทีแรกก็เรื่องนิดเดียว แต่เราเพิ่มเติมความคิดจนงอกงาม จิตคนนั้นก็ถูกกิเลสประเภทนี้ครอบงำเต็มที่ จนถึงที่สุดจิตก็เปลี่ยนเรื่องไปคิดเรื่องใหม่ ก็เริ่มเรื่องใหม่อีก แล้วกลายเป็นเรื่องใหม่มากขึ้นอีก ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ทั้งสามตัวแสดงอยู่ในโรงละครแห่งนี้ วันๆ มีอยู่แค่นี้เองอารมณ์ เราไม่รู้จะวางจิตยังไง อยากจะวางอยู่ แต่วางไม่ลง ไม่รู้จะวางตรงไหน? ไม่เป็นไร ใหม่ๆ เราก็ไม่รู้ อะไรเอ่ย? ทำให้กิเลสราคะที่ไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดแล้วย่อมงอกงามไพบูลย์ เรียกว่า “สุภนิมิต” ทีแรกเราเริ่มคิดนิดเดียวภาพที่ตั้งอยู่เรียกว่า “สุภะ แปลว่า งาม” และ “นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย” ภาพที่ตั้งขึ้นในจิตเป็นเครื่องหมายแห่งความงามนั้นเอง ราคะที่ไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิดแล้วย่อมงอกงาม นี่คือหน้าตาของกิเลสที่เกิดขึ้น วันหลังหน้าตาของกิเลสเกิด อย่าไปเติมเชื้อไฟ อย่าไปคิดตาม ข่มใจ ตัดเลย คิดอะไรก็แล้วแต่ไม่ว่า ราคะ โทสะ โมหะ เป็นทำนองเดียวกันหมด ตัดออกแล้วนึกเห็นภาพตัวเองแทน ตัดข้างนอกมิได้หมายถึงดับแล้วก็นิ่งอยู่ เป็นอย่างนั้นก็ไปไม่รอด ดับข้างนอกแล้วไปสร้างความเห็นข้างใน ระหว่างที่ดับกับที่สร้างเวลาเดียวกัน จิตหนึ่งออกคิดไป ตัดแล้วน้อมจิตมาดู เปลี่ยนเรื่องคิดไปเลย
ความจริงเป็นความคิดเหมือนกันระหว่างข้างนอกกับข้างใน ข้างนอก คือ คิดไปในอารมณ์ต่างๆ เดิมทีเขาคิดอยู่แล้ว แต่เราเปลี่ยนความคิดไปคิดในตัวเรา เรียกข้างใน คิดไปข้างนอก เรียกข้างนอก เรารู้ตัวว่าจิตคิดข้างนอกแล้ว กิเลสชนิดนั้นชะงักเลย จิตกำลังปรุงแต่งเพลินๆ เราน้อมจิตดึงกลับมาเลย จากจิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเพลิน ความใคร่ ความยินดี ย้อมใจ เรามักจะเพลิน ตัดอารมณ์ตัดบทไม่ให้จิตตั้งไว้ ตัดแล้วน้อมมา ไม่ควรนิ่งอยู่อย่างเดียว ให้ไปคิดตัวเรา เวลาคิดเห็นตัวเอง จะให้คิดเองไม่ได้ เราต้องสร้างความคิดขึ้นมา สร้างความคิดเกี่ยวกับตัวเราขึ้นมาแทนข้างนอก เช่น การคิดในเรื่องไตรลักษณ์เพียงอย่างเดียว
ธรรมชาติของร่างกายของเรานั้นเป็นไปตามไตรลักษณ์
ควรพิจารณาไตรลักษณ์ พิจารณาเห็นอย่างไรเป็นไตรลักษณ์
คือพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นของจะต้องแตกสลายและเป็นอนัตตาในที่สุด คิดเห็นตัวเราต้องตาย คิดแต่เรื่องตาย คิดว่าวันหนึ่งเราจะต้องแก่ ต้องเจ็บ
ต้องตาย และขณะคิด ให้คิดสร้างภาพตัวเราเองขึ้นมาด้วย จิตสร้างภาพโดยใส่เจตนาของเราลงไป ความจริงเป็นการสร้างภาพของเราเอง เราจะเห็นว่าทีแรกเราทำสมาธิให้จิตนิ่ง แต่ถึงตรงนี้ไม่ใช่แล้ว จะเป็นการอบรมจิตอีกระบบหนึ่ง เพราะหาทางออกไม่ได้ ต้องเปลี่ยนมาเป็นระบบนี้ แต่ต้องทำสมาธิมาก่อน
เปลี่ยนการประพฤติปฏิบัติมาสู่ระบบนี้อีกทีหนึ่ง แล้วถึงจะเกิดสมาธิแบบใหม่ขึ้นมา เป็นสมาธิที่ใหญ่โตมาก
มั่นคงมาก สมาธิประเภทนี้เป็นสมาธิที่ไม่เสื่อมเลย
ยังให้จิตทั้งหมดอยู่ในอำนาจได้เมื่ออบรมแล้ว
ต่อนี้ไปคนๆ นี้ จะไม่ปล่อยจิตออกไปในทางเส้นเดิมที่เคยมี ที่เคยเดินอยู่
ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาทั้งหมด ต่อไปทางเส้นนี้ เราจะตัดอาหารตัดน้ำเลี้ยงไม่ให้ต้นไม้โต
แล้วสร้างการบ่มเพาะภายในที่ยังไม่มีให้มีขึ้นมา ที่ไม่เกิดย่อมให้เกิดขึ้น
ที่เกิดแล้วย่อมให้ดับไป
ที่มองเห็นแล้วไม่ให้เห็น
ที่ยังไม่เห็นมองให้เห็นขึ้นมา
ถ่ายโอนอำนาจเปลี่ยนระบบจิตให้ไปอยู่อีกระบบหนึ่ง จิตที่นึกถึงอย่างอื่นเราตัดไม่ให้เห็น เป็นการอบรมอย่างนั้น และทำอยู่อย่างน้ัน วันหนึ่งๆ เรามาแย่งชิงกันระหว่างจิตดึงออกข้างนอก และเราดึงเข้าข้างใน ใครจะนึกอะไรมากที่สุดเป็นตัววัด ถ้าวันนั้น ๒๔ ชั่วโมง อารมณ์ดึงเราไปมากกว่า ๑๒ ชั่วโมง แต่เราดึงกลับน้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมง การปฏิบัติของเราไม่ค่อยเจริญ เพราะเวลาจิตออกไปทั้งวันทั้งคืน หลับก็ไป ตื่นก็ไป หลับก็ฝัน ตื่นมาก็ยังไปซึ่งๆ หน้า ฝันเราก็ทำอะไรไม่ได้เป็นเพียงความฝัน เราไม่มีสติพอที่จะคุม ขนาดตื่นๆ ยังไปต่อหน้ายังคุมไม่ได้เลย อย่าว่าแต่ฝันเลยจิตออกไปทั้งวัน ฉะนั้น เวลาปฏิบัติเขาปฏิบัติกันทั้งวัน อันนี้เป็นปัญหาเป็นเรื่องใหญ่สำหรับฆราวาสมาก เพราะไม่เช่นนั้นสู้ไม่ได้ เราจะต้องทำเกินครึ่ง ถึงจะเห็นความเจริญเติบโตของการปฏิบัติได้ ถ้าไม่เกินครึ่งมองเห็นยาก ระหว่างที่จิตคิดข้างนอกกับระหว่างที่เราดึงจิตเข้าข้างใน พยายามมองเห็นตัวเองให้แจ้งออกมา อยู่ข้างในนิ่งอย่างเดียวก็ไม่ใช่ ต้องผลิตความเห็นนั้นออกมาให้ได้ ไม่เห็นสร้างภาพให้เห็นขึ้นมาก่อน
การกระทำอย่างนี้ทำไปๆๆ วันหนึ่งเราสามารถที่จะทำได้ เท่ากับว่าจิตดวงนี้ถูกช่วงชิงให้อยู่ในอำนาจของเรามากกว่า เราจะต้องอบรมเส้นทางนี้ให้เป็นทางเดินของจิตขึ้นมา ทางเส้นเดิมที่มีอยู่พยายามทำไม่ให้เป็นทางต่อไป แล้วเดินเส้นทางใหม่เป็นทางที่ยังไม่เคยเดิน สมาธิตรงนี้ เป็นสมาธิบนพื้นฐานของความเห็นแจ้ง ไม่ได้เกี่ยวกับสมาธิที่จิตนิ่งอย่างเดียว ไม่ใช่แล้ว เป็นการนิ่งของจิตเองด้วย เป็นการเห็นแจ้งของจิต และเห็นแจ้งกายตัวเอง สว่างไสวเหมือนดวงไฟ และแสงสว่างของความเห็นแจ้งก็เหมือนกัน แต่ตาในเรายังไม่เปิดก็เลยไม่เห็น สมมุติว่าเราเห็นคนตาบอดไปไหนก็คลำ จะทำอะไรก็คลำก่อน เพราะเขาไม่สามารถจะใช้สายตาของเขาได้ ทำไปแล้วก็เข้าใจไปตามนั้น ฉันใดก็ดีพระพุทธองค์ทรงสอนว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงให้พิจารณาขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนของเรา เราเข้าใจเราเห็นด้วยตาเนื้อนั้น เห็นอยู่แต่ตาในไม่ได้เห็น ตาในเหมือนคนตาบอด เมื่อไม่เห็นก็สงสัย ก็จับผิดจับถูกหาทางออกไม่ได้ ทั้งที่เข้าใจอยู่ว่าโลกนี้ไม่มีอะไร แต่จิตก็ไปสู่อำนาจของกิเลสอยู่วันยังค่ำ ทำให้ตรงนั้นเราไม่สามารถจะมีอุบายออก แล้วก็ไม่สามารถจะยั้งจิตให้เป็นสมาธิตลอดกาลได้ จึงเป็นความมืดบอดของจิตเอง แต่ตอนหลังอบรมอยู่อย่างนี้ จิตเราจะเริ่มเห็นตัวเองชัดขึ้นมา ตาเริ่มจะหายบอดแล้ว ตาในเปิดขึ้นแล้ว เราจะเห็นตนเองเด่นชัดขึ้นๆ รักษาตัวความเห็นนี้เอาไว้ ให้เป็นที่อยู่ทั้งวันทั้งคืนให้อยู่ตรงนี้ ไม่ให้จิตออก ไม่ให้จิตเห็นอย่างอื่น ปิดภาพตรงอื่นให้หมด ไม่ให้ภาพอื่นปรากฏ นอกจากภาพเราเท่านั้น จิตที่เห็นภาพเราอย่างเดียวกลายเป็นจิตมีอารมณ์เดียว อารมณ์กับจิตเป็นอันเดียวกัน เป็นสมาธิหนึ่งเดียว
ทีแรกการทำสมาธินั้นจิตนิ่งในตัวเอง แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว จิตนิ่งในตัวเองและเห็นตัวเองด้วย สมาธิอย่างแรกฝึกให้จิตสงบ จิตเห็นจิตเอง แต่ไม่เกี่ยวกับเห็นตัวเอง ไม่เกี่ยวกับเนื้อหนังมังสา แต่จิตนิ่งในตัวเองเป็นสมาธิโลกีย์ ซึ่งเป็นสมาธิที่ไม่รู้แจ้งขันธ์ ๕ ไม่เห็นตัวเองไปพร้อมกับการนิ่งอยู่ ไปไม่รอด สมาธิเช่นนี้พ้นทุกข์ไม่ได้ แต่สมาธิอีกอย่างหนึ่งเป็นสมาธิที่เกิดขึ้นมาได้ เป็นทั้งสมาธิในตัวเองและนิ่งในตัวเอง มิหนำซ้ำเห็นแจ้งร่างกายนี้พร้อมในขณะเดียวกันทั้งหมด ทั้งนิ่ง ทั้งแจ้ง ทั้งเห็น การเห็นบวกเข้าไปอีก เรียกว่า “เห็นแจ้ง หรือดวงตาเปิดแล้ว และการอย่างนี้เรียกว่า ญาณ”
ถ่ายโอนอำนาจเปลี่ยนระบบจิตให้ไปอยู่อีกระบบหนึ่ง จิตที่นึกถึงอย่างอื่นเราตัดไม่ให้เห็น เป็นการอบรมอย่างนั้น และทำอยู่อย่างน้ัน วันหนึ่งๆ เรามาแย่งชิงกันระหว่างจิตดึงออกข้างนอก และเราดึงเข้าข้างใน ใครจะนึกอะไรมากที่สุดเป็นตัววัด ถ้าวันนั้น ๒๔ ชั่วโมง อารมณ์ดึงเราไปมากกว่า ๑๒ ชั่วโมง แต่เราดึงกลับน้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมง การปฏิบัติของเราไม่ค่อยเจริญ เพราะเวลาจิตออกไปทั้งวันทั้งคืน หลับก็ไป ตื่นก็ไป หลับก็ฝัน ตื่นมาก็ยังไปซึ่งๆ หน้า ฝันเราก็ทำอะไรไม่ได้เป็นเพียงความฝัน เราไม่มีสติพอที่จะคุม ขนาดตื่นๆ ยังไปต่อหน้ายังคุมไม่ได้เลย อย่าว่าแต่ฝันเลยจิตออกไปทั้งวัน ฉะนั้น เวลาปฏิบัติเขาปฏิบัติกันทั้งวัน อันนี้เป็นปัญหาเป็นเรื่องใหญ่สำหรับฆราวาสมาก เพราะไม่เช่นนั้นสู้ไม่ได้ เราจะต้องทำเกินครึ่ง ถึงจะเห็นความเจริญเติบโตของการปฏิบัติได้ ถ้าไม่เกินครึ่งมองเห็นยาก ระหว่างที่จิตคิดข้างนอกกับระหว่างที่เราดึงจิตเข้าข้างใน พยายามมองเห็นตัวเองให้แจ้งออกมา อยู่ข้างในนิ่งอย่างเดียวก็ไม่ใช่ ต้องผลิตความเห็นนั้นออกมาให้ได้ ไม่เห็นสร้างภาพให้เห็นขึ้นมาก่อน
การกระทำอย่างนี้ทำไปๆๆ วันหนึ่งเราสามารถที่จะทำได้ เท่ากับว่าจิตดวงนี้ถูกช่วงชิงให้อยู่ในอำนาจของเรามากกว่า เราจะต้องอบรมเส้นทางนี้ให้เป็นทางเดินของจิตขึ้นมา ทางเส้นเดิมที่มีอยู่พยายามทำไม่ให้เป็นทางต่อไป แล้วเดินเส้นทางใหม่เป็นทางที่ยังไม่เคยเดิน สมาธิตรงนี้ เป็นสมาธิบนพื้นฐานของความเห็นแจ้ง ไม่ได้เกี่ยวกับสมาธิที่จิตนิ่งอย่างเดียว ไม่ใช่แล้ว เป็นการนิ่งของจิตเองด้วย เป็นการเห็นแจ้งของจิต และเห็นแจ้งกายตัวเอง สว่างไสวเหมือนดวงไฟ และแสงสว่างของความเห็นแจ้งก็เหมือนกัน แต่ตาในเรายังไม่เปิดก็เลยไม่เห็น สมมุติว่าเราเห็นคนตาบอดไปไหนก็คลำ จะทำอะไรก็คลำก่อน เพราะเขาไม่สามารถจะใช้สายตาของเขาได้ ทำไปแล้วก็เข้าใจไปตามนั้น ฉันใดก็ดีพระพุทธองค์ทรงสอนว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงให้พิจารณาขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนของเรา เราเข้าใจเราเห็นด้วยตาเนื้อนั้น เห็นอยู่แต่ตาในไม่ได้เห็น ตาในเหมือนคนตาบอด เมื่อไม่เห็นก็สงสัย ก็จับผิดจับถูกหาทางออกไม่ได้ ทั้งที่เข้าใจอยู่ว่าโลกนี้ไม่มีอะไร แต่จิตก็ไปสู่อำนาจของกิเลสอยู่วันยังค่ำ ทำให้ตรงนั้นเราไม่สามารถจะมีอุบายออก แล้วก็ไม่สามารถจะยั้งจิตให้เป็นสมาธิตลอดกาลได้ จึงเป็นความมืดบอดของจิตเอง แต่ตอนหลังอบรมอยู่อย่างนี้ จิตเราจะเริ่มเห็นตัวเองชัดขึ้นมา ตาเริ่มจะหายบอดแล้ว ตาในเปิดขึ้นแล้ว เราจะเห็นตนเองเด่นชัดขึ้นๆ รักษาตัวความเห็นนี้เอาไว้ ให้เป็นที่อยู่ทั้งวันทั้งคืนให้อยู่ตรงนี้ ไม่ให้จิตออก ไม่ให้จิตเห็นอย่างอื่น ปิดภาพตรงอื่นให้หมด ไม่ให้ภาพอื่นปรากฏ นอกจากภาพเราเท่านั้น จิตที่เห็นภาพเราอย่างเดียวกลายเป็นจิตมีอารมณ์เดียว อารมณ์กับจิตเป็นอันเดียวกัน เป็นสมาธิหนึ่งเดียว
ทีแรกการทำสมาธินั้นจิตนิ่งในตัวเอง แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว จิตนิ่งในตัวเองและเห็นตัวเองด้วย สมาธิอย่างแรกฝึกให้จิตสงบ จิตเห็นจิตเอง แต่ไม่เกี่ยวกับเห็นตัวเอง ไม่เกี่ยวกับเนื้อหนังมังสา แต่จิตนิ่งในตัวเองเป็นสมาธิโลกีย์ ซึ่งเป็นสมาธิที่ไม่รู้แจ้งขันธ์ ๕ ไม่เห็นตัวเองไปพร้อมกับการนิ่งอยู่ ไปไม่รอด สมาธิเช่นนี้พ้นทุกข์ไม่ได้ แต่สมาธิอีกอย่างหนึ่งเป็นสมาธิที่เกิดขึ้นมาได้ เป็นทั้งสมาธิในตัวเองและนิ่งในตัวเอง มิหนำซ้ำเห็นแจ้งร่างกายนี้พร้อมในขณะเดียวกันทั้งหมด ทั้งนิ่ง ทั้งแจ้ง ทั้งเห็น การเห็นบวกเข้าไปอีก เรียกว่า “เห็นแจ้ง หรือดวงตาเปิดแล้ว และการอย่างนี้เรียกว่า ญาณ”
“ญาณ คือ
การเห็นแจ้ง หรือการรู้แจ้งนั่นเอง”
ต่างจากเมื่อก่อนเป็นสมาธิที่นิ่งแต่ไม่มีการเห็น อย่างนี้จิตไปไม่รอด แต่ตอนหลังจิตนิ่ง แต่จิตเห็นด้วยเรียกว่า “โลกุตตรสมาธิ” สมาธิอย่างนี้เกิดยาก แต่อบรมแล้วเมื่อเกิดขึ้นเป็นสมาธิที่มั่นคงมาก เริ่มแรกจะไม่มั่น เพราะจิตคลอนแคลนมาก สมาธิก็ไม่ให้เข้า จิตออกข้างนอกก็ไม่ให้ออก เป็นสภาวะอยู่ยากจริงๆ แต่นานเข้าๆ
การอบรมซ้ำซากนึกไม่ถึงว่า ตรงที่ไม่ค่อยจะนิ่ง กลายเป็นของนิ่งขึ้นมาได้ และเป็นของนิ่งที่ใหญ่โตกว่าสมาธิแบบแรกอีกมากมายหลายเท่า
จนสมาธิแบบแรกเหมือนสมาธิแบบเด็กๆ สมาธิอย่างหลังเป็นสมาธิแบบผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่ของเด็กแล้ว
เป็นสมาธิที่ยิ่งใหญ่จริงๆ อย่างนึกไม่ถึงว่าสมาธิตรงนี้ จะใหญ่โตมาก เป็นสมาธิที่ไม่เสื่อมที่มีอยู่ตลอดเวลา
สามารถจะทรงความเป็นสมาธิในตัว โดยอัตโนมัติได้ในที่สุด จึงทำให้การจิตประคองได้ง่ายมาก เมื่อทำให้ชำนาญแล้วสมาธิเช่นนี้ ไม่ต้องประคองเลย
จะเป็นอัตโนมัติ
เราจะเห็นความแตกต่างระหว่างสมาธิอย่างแรกกับสมาธิอย่างที่สองที่เกิดขึ้นมาอีก เรานึกไม่ถึงว่า จะมีอย่างอื่นนอกจากสมาธิอย่างแรกนี้ แต่ก็มีจริงๆ สมาธิเช่นนี้เป็นสมาธิเพื่อพ้นทุกข์โดยแท้จริง เราจะเห็นตัวเองชัดขึ้นมาๆ จะเห็นทั้งหมดทั้งตัวตลอดเวลา ตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า ความเห็นนั้นเป็นเครื่องอยู่ของจิต ถ้าเราเห็นตรงนี้ ๒๔ ชั่วโมง เท่ากับว่าเราไม่เปิดโอกาสให้จิตไปเห็นข้างนอกเลย จิตนั้นก็เป็นสมาธิตลอด ๒๔ ชั่วโมง เราอยากจะทำลายภาพข้างนอกทิ้งไม่ใช่หรือ?ที่จิตนึกคิดอะไรแล้วภาพปรากฏขึ้นมา ตัวนั้นต้องฆ่าให้ตาย ทำลายให้หมดเลย ไม่ให้มีระบบเดิมอีก เราจะทำลายภพชาติต่างๆ ได้นั่น คือ วิญญาณของจิตนั่นแหละ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญาณ กายวิญาณ มโนวิญาณ ทำลายธรรมชาติเหล่านั้นทิ้งให้หมด โครงสร้างหรือบ้านหลังนั้นที่เขาสร้างไว้ ทิ้งเสีย รื้อออก แล้วสร้างบ้านใหม่ให้อยู่ ***
เราจะเห็นความแตกต่างระหว่างสมาธิอย่างแรกกับสมาธิอย่างที่สองที่เกิดขึ้นมาอีก เรานึกไม่ถึงว่า จะมีอย่างอื่นนอกจากสมาธิอย่างแรกนี้ แต่ก็มีจริงๆ สมาธิเช่นนี้เป็นสมาธิเพื่อพ้นทุกข์โดยแท้จริง เราจะเห็นตัวเองชัดขึ้นมาๆ จะเห็นทั้งหมดทั้งตัวตลอดเวลา ตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า ความเห็นนั้นเป็นเครื่องอยู่ของจิต ถ้าเราเห็นตรงนี้ ๒๔ ชั่วโมง เท่ากับว่าเราไม่เปิดโอกาสให้จิตไปเห็นข้างนอกเลย จิตนั้นก็เป็นสมาธิตลอด ๒๔ ชั่วโมง เราอยากจะทำลายภาพข้างนอกทิ้งไม่ใช่หรือ?ที่จิตนึกคิดอะไรแล้วภาพปรากฏขึ้นมา ตัวนั้นต้องฆ่าให้ตาย ทำลายให้หมดเลย ไม่ให้มีระบบเดิมอีก เราจะทำลายภพชาติต่างๆ ได้นั่น คือ วิญญาณของจิตนั่นแหละ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญาณ กายวิญาณ มโนวิญาณ ทำลายธรรมชาติเหล่านั้นทิ้งให้หมด โครงสร้างหรือบ้านหลังนั้นที่เขาสร้างไว้ ทิ้งเสีย รื้อออก แล้วสร้างบ้านใหม่ให้อยู่ ***
ดังพระพุทธองค์ทรงตรัสกับมารว่า “นายช่างผู้สร้างเรือน คือ ตัณหาสร้างภพให้เรา บัดนี้ เรารู้แล้วว่า เรือนของเจ้าเราหักเสียแล้ว เราทำลายเสียแล้ว จะสร้างให้เราอยู่ไม่ได้ต่อไป” เราเปลี่ยนแปลงระบบจิตอย่างที่เรานึกไม่ถึงว่า ธรรมชาตินี้จะแก้ไขได้ เรานึกไม่ถึงว่า ทางเส้นนี้จะมีขึ้นได้ เป็นทางออกโดยชอบที่นักปฏิบัติสามารถจะพ้นทุกข์โดยชอบได้ เมื่อเกิดเห็นตัวเองขึ้นมาจนชัดระดับหนึ่ง
ชัดและเป็นความเห็นอยู่ตลอดเวลาได้ เราอยากจะเห็นตลอดเวลา
ความเห็นก็มีอยู่ตลอดเวลาดับไม่ได้ เราไม่ต้องการให้ดับและความเห็นอันนั้นก็ดับไม่ได้อยู่แล้ว เพราะต้องการอยู่ตรงนั้น
เมื่ออยู่ตรงนั้นจิตเราก็ไม่ออก เมื่อจิตไม่อยู่ข้างนอกก็ไม่มีอารมณ์อันเดียวกัน จิตที่จะเป็นสมาธิที่ยั่งยืนเป็นระบบนี้ ไม่เช่นนั้นยั่งยืนไม่ได้
เราจะหนีอารมณ์ไม่ได้
การเห็นตัวขึ้นมาชัด เราสังเกตเห็นได้ว่า เกิดจากการสร้างภาพของเราเองขึ้นมาก่อน แล้วอาศัยการสร้างของจิตเองให้เป็นรูปธรรม ที่สามารถจะเป็นเครื่องอาศัยของจิตได้ แล้วเราจะเห็นสรีระของเราตามเป็นจริงทางตาใน ไม่ใช่ตานอก ตานอกแม้ว่าเราจะหลับตาหรือลืมตาก็ดี ตาในนั้นจะปรากฏเสมอต้นเสมอปลาย โดยที่ว่าหลับตาจะมืดลงหน่อยก็ไม่ใช่ อยู่ในที่แจ้งเราเห็นตัวเองชัดหน่อยก็ไม่ใช่ อยู่ที่มืดไม่ค่อยเห็นตัวก็ไม่ใช่ ความเห็นนั้นเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีที่มืดที่แจ้ง ไม่มีที่ลับที่สว่างอะไร จะคงเป็นความเห็นที่แจ้งอยู่ในตัวเอง แล้วอาศัยความเห็นนั้นเป็นเครื่องอยู่ของจิตดวงนี้ เปลี่ยนที่อยู่ของจิตใหม่ แล้วไม่ให้อยู่ข้างนอก เห็นตรงนั้นอยู่ตรงนั้นแล้ว เราจะเห็นสรีระของเราทั้งหมดตามเป็นจริง
เราเห็นตัวเองตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้าตลอดเวลา แล้วเราก็ค้นว่าตัวเรานี่คืออะไร มีอะไร เป็นอะไร จิตก็ค้นว่าตัวของเรานี้มีอะไร ค้นไปค้นมาก็ไม่มีอะไร เหมือนหุ่นอันหนึ่งที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อก่อนเราก็เข้าใจ ตัวเราก็เข้าใจจริงๆว่า ตัวเองไม่มีอะไร มีเกิดแล้วก็ตาย ตัวเราก็ต้องเน่าเปื่อยสลายไป ถึงที่สุดแล้วก็ไม่มีอะไร กลายสภาพไปเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ เข้าใจแต่ว่าจิตไม่เห็นก็แก้ปัญหาไม่ได้ ถึงได้บอกว่า จิตนี่เราอบรมอย่างไร บอกว่าจิตไม่เที่ยงอย่างนั้นอย่างนี้ ก็เป็นแค่คำพูดถ้าจิตไม่เห็น จิตไม่อยู่เลย ถึงจะอยู่ก็อยู่แป๊บเดียวไปเลย ไม่ทำให้เกิดผลประโยชน์ที่สำเร็จเป็นรูปธรรมออกมา แต่เมื่อจิตไปเห็นเองต่างกันมาก จะเป็นจิตที่จำนนต่อเหตุผล จำนนต่อพยานอันนั้น เมื่อจิตเห็นตรงนั้นแล้ว จิตก็จะเห็นตัวเองชัดตลอดเวลา ทำให้จิตค้นคว้าว่า ตัวตนที่แท้จริงของคนเราอยู่ตรงไหน?
สัญชาติญาณของจิตเองนั้นเข้าใจว่า เรามีอะไรที่เป็นตัวของเราสักอย่างหนึ่งอยู่ในร่างกายของเรา น่าจะมีอะไรสักอย่างที่เป็นตัวตนของเรา ตัวเราจะต้องมีอะไรสักอย่างอยู่ในตัวเรา แต่ไปค้นดูแล้วไม่มี กลายเป็นว่า เราทั้งหมดเป็นของว่างเปล่า แล้วก็อาศัยความเห็นนั้น เป็นพยานในการเห็นและเป็นพยานในการวินิจฉัย เรียกว่า “ปัญญาญาณ” เป็นญาณและมีการเห็นแจ้งในตัว ปัญญานี้ไม่ใช่ความปรุงแต่งที่จิตคิดนึกเอา แต่เป็นสิ่งที่เห็นจริงขึ้นมา สมมุติว่าคนตาบอดนั้น ตาดีขึ้นมาทีหลัง ดวงตานั้นหายบอดขึ้นมา จำเป็นไหมที่จะต้องลูบคลำในสิ่งต่างๆ ที่เขาเคยลูบคลำมาก่อน จะเดินถนนก็ใช้ไม้เคาะคลำทางไป ไม่ต้องบอกเขาว่า อันนั้น อันนี้ เพราะเขาเห็นแล้ว และก็ไม่ต้องคลำอย่างนั้นอีกต่อไป ฉันใด ก็เหมือนกันจิตเปิดให้เห็นว่า ตัวนี้มีอย่างไร ความเห็นนั้นเห็นไม่ดับเลย ความเห็นนี้เป็นตาในเปิด ออกมาเป็นตาดีแล้ว เขาจะไม่บอดอีกต่อไป เหมือนกับไม่ดับอีกต่อไปคืออันเดียวกัน ความเห็นนี้ คือ จักขุได้เกิดขึ้นแล้วเรียกว่า “ญาณทัสสนะ”
การเห็นตัวขึ้นมาชัด เราสังเกตเห็นได้ว่า เกิดจากการสร้างภาพของเราเองขึ้นมาก่อน แล้วอาศัยการสร้างของจิตเองให้เป็นรูปธรรม ที่สามารถจะเป็นเครื่องอาศัยของจิตได้ แล้วเราจะเห็นสรีระของเราตามเป็นจริงทางตาใน ไม่ใช่ตานอก ตานอกแม้ว่าเราจะหลับตาหรือลืมตาก็ดี ตาในนั้นจะปรากฏเสมอต้นเสมอปลาย โดยที่ว่าหลับตาจะมืดลงหน่อยก็ไม่ใช่ อยู่ในที่แจ้งเราเห็นตัวเองชัดหน่อยก็ไม่ใช่ อยู่ที่มืดไม่ค่อยเห็นตัวก็ไม่ใช่ ความเห็นนั้นเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีที่มืดที่แจ้ง ไม่มีที่ลับที่สว่างอะไร จะคงเป็นความเห็นที่แจ้งอยู่ในตัวเอง แล้วอาศัยความเห็นนั้นเป็นเครื่องอยู่ของจิตดวงนี้ เปลี่ยนที่อยู่ของจิตใหม่ แล้วไม่ให้อยู่ข้างนอก เห็นตรงนั้นอยู่ตรงนั้นแล้ว เราจะเห็นสรีระของเราทั้งหมดตามเป็นจริง
เราเห็นตัวเองตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้าตลอดเวลา แล้วเราก็ค้นว่าตัวเรานี่คืออะไร มีอะไร เป็นอะไร จิตก็ค้นว่าตัวของเรานี้มีอะไร ค้นไปค้นมาก็ไม่มีอะไร เหมือนหุ่นอันหนึ่งที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อก่อนเราก็เข้าใจ ตัวเราก็เข้าใจจริงๆว่า ตัวเองไม่มีอะไร มีเกิดแล้วก็ตาย ตัวเราก็ต้องเน่าเปื่อยสลายไป ถึงที่สุดแล้วก็ไม่มีอะไร กลายสภาพไปเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ เข้าใจแต่ว่าจิตไม่เห็นก็แก้ปัญหาไม่ได้ ถึงได้บอกว่า จิตนี่เราอบรมอย่างไร บอกว่าจิตไม่เที่ยงอย่างนั้นอย่างนี้ ก็เป็นแค่คำพูดถ้าจิตไม่เห็น จิตไม่อยู่เลย ถึงจะอยู่ก็อยู่แป๊บเดียวไปเลย ไม่ทำให้เกิดผลประโยชน์ที่สำเร็จเป็นรูปธรรมออกมา แต่เมื่อจิตไปเห็นเองต่างกันมาก จะเป็นจิตที่จำนนต่อเหตุผล จำนนต่อพยานอันนั้น เมื่อจิตเห็นตรงนั้นแล้ว จิตก็จะเห็นตัวเองชัดตลอดเวลา ทำให้จิตค้นคว้าว่า ตัวตนที่แท้จริงของคนเราอยู่ตรงไหน?
สัญชาติญาณของจิตเองนั้นเข้าใจว่า เรามีอะไรที่เป็นตัวของเราสักอย่างหนึ่งอยู่ในร่างกายของเรา น่าจะมีอะไรสักอย่างที่เป็นตัวตนของเรา ตัวเราจะต้องมีอะไรสักอย่างอยู่ในตัวเรา แต่ไปค้นดูแล้วไม่มี กลายเป็นว่า เราทั้งหมดเป็นของว่างเปล่า แล้วก็อาศัยความเห็นนั้น เป็นพยานในการเห็นและเป็นพยานในการวินิจฉัย เรียกว่า “ปัญญาญาณ” เป็นญาณและมีการเห็นแจ้งในตัว ปัญญานี้ไม่ใช่ความปรุงแต่งที่จิตคิดนึกเอา แต่เป็นสิ่งที่เห็นจริงขึ้นมา สมมุติว่าคนตาบอดนั้น ตาดีขึ้นมาทีหลัง ดวงตานั้นหายบอดขึ้นมา จำเป็นไหมที่จะต้องลูบคลำในสิ่งต่างๆ ที่เขาเคยลูบคลำมาก่อน จะเดินถนนก็ใช้ไม้เคาะคลำทางไป ไม่ต้องบอกเขาว่า อันนั้น อันนี้ เพราะเขาเห็นแล้ว และก็ไม่ต้องคลำอย่างนั้นอีกต่อไป ฉันใด ก็เหมือนกันจิตเปิดให้เห็นว่า ตัวนี้มีอย่างไร ความเห็นนั้นเห็นไม่ดับเลย ความเห็นนี้เป็นตาในเปิด ออกมาเป็นตาดีแล้ว เขาจะไม่บอดอีกต่อไป เหมือนกับไม่ดับอีกต่อไปคืออันเดียวกัน ความเห็นนี้ คือ จักขุได้เกิดขึ้นแล้วเรียกว่า “ญาณทัสสนะ”
ดังที่ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่ พระอัญญาโกณฑัญญะว่า รู้แล้วหนอว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ เป็นของไม่ใช่ตัวตนของเรา ไปค้นแล้วโดยการเห็นตรงนี้เป็นพยาน จิตนี้ลึกๆ แล้วก็อยากดี
แต่ขาดเหตุผลที่จะทำให้เขาดีได้ คือ จิตไม่เห็น
เมื่อไปเห็นจริงๆ จิตจำนนต่อเหตุผลว่า จริงๆ แล้วเราไม่มีอะไรเลยจริงๆ
เข้าใจถึงเหตุการณ์ต่างๆ ของเขาว่า ตัวจิตเองที่เคยหลงอยู่ในโลก อยากได้โน่น อยากได้นี่ อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ นั่นของเรา
นั่นตัวตนของเรา ที่วิ่งหาอารมณ์ตลอดเวลา เขามีพฤติกรรมอย่างนั้นมานานแล้ว เพราะเขาไม่เข้าใจ แต่เมื่อเขาเห็นตรงนี้ขึ้นมา เขาจะหวนระลึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาว่า ตัวเองท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์น้อยใหญ่มากมาย ควรหรือไม่ควรหนออย่างไร ผิดถูกอย่างไรหนอ? จิตจะต้องวินิจฉัยตัวเอง จิตนั้นก็เริ่มระลึกถึงว่าเราไม่มีจริงๆ หรือ ?
พิจารณาตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า พิจารณาศีรษะก็เป็นสมอง กะโหลกศีรษะ
พิจารณาตัวก็เป็นตับ ไต ไส้ พุง แข้งขาก็เป็นกระดูก เส้นเอ็น แล้วตัวเราจริงๆ อยู่ไหน? อันนี้ไม่ใช่ความคิด แต่เป็นภาพของจิตที่เกิดจากการอบรมนั้น
เราหลงโลกจริงๆ การเห็นเช่นนี้ ทำให้จิตยอมรับ ไม่เช่นนั้นจิตจะไม่ยอมรับ จึงได้รู้ตัวเองว่า
ตัวเองหลงโลกจริงๆ
ทางที่ถูกที่ควรแล้ว
เมื่อเราก็ไม่มีในที่นี้ ตัวตนก็ไม่มีในที่นี้
ควรหรือที่เราจะหมายมั่นว่า สิ่งโน้นสิ่งนี้เป็นเรา ควรหรือที่เราจะส่งจิตไปคิดในสิ่งโน้นสิ่งนี้ จิตเองวินิจฉัยเอง
จิตก็จะหาคำตอบที่ถูกต้องของเขาว่า ถ้าอย่างนั้น สิ่งเหล่านั้นก็ไม่ควรแก่เรา เพราะเราคิดไปในอารมณ์ต่างๆนั้น ขึ้นมาเพื่อเรา แต่เราเองก็มิได้มีในที่นี้ แล้วความคิดนั้นจะคิดเพื่อใคร ในเมื่อเราตรงนั้นก็ไม่มี ถ้าคิดก็เป็นการโง่
ทางที่ถูกก็ควรออกจากความคิดนั้นเสีย นี่คืออุบายออกและปฏิปทาออก ก็จะดำเนินเห็นตามความถูกต้องของตัวเองว่า ทางออกอย่างไร
อันไหนผิด อันไหนถูก แล้วจะแยกตัวออกมา
เมื่อเป็นดังนี้ การที่จิตคิดออกไปแล้วตัด
จึงมีกำลังที่จะไปฆ่าความคิดที่ออกไปนั้น ตัณหาเหล่านี้เรียกว่า “สติเป็นตัวทำนบที่กั้นไว้ก่อน”
เหมือนกับว่าจิตคิดไป เราไม่ให้คิด ดึงกลับ
โดยไม่ต้องมีเหตุผลอะไรมาก ถ้าปล่อยให้คิดก็คงจะไปไกลแล้ว ไม่ต้องคิดมาก ตอนนี้เข้าใจว่า การตัดนั้นถูกต้องแล้ว ตัดไป
ก็สงสัยว่าทำไมต้องตัดเขาตลอด ไม่เป็นไร สงสัยไปก่อน ตอนนี้เริ่ม...อ๋อ ! แล้ว ที่คิดมานั้นผิดหมดเลย
ในเมื่อตรงนี้ไม่มีตัวตนที่แท้จริงก็ไม่ควรที่จะคิด คิดไปก็ไม่ได้อะไร เพราะตัวตนจริงๆ ไม่มีในที่นี้ จิตเห็นตัวเองว่าโง่ ! ตัวเองก็เห็นตัวเองออกจากความโง่ได้ เริ่มฉลาดออกจากความหลงนั้น อวิชชาถูกปิดลงไปแล้ว วิชาก็เกิดออกมา สังขารก็เริ่มดับ ทีนี้กำลังตรงนี้ไปช่วยลิดรอนความปรุงแต่งของจิต ให้ถูกระบบระเบียบขึ้นมากลายเป็นอริยสัจ ๔ ที่ถูกต้องตามระบบจริงๆ ขึ้นมา คนนั้นถึงจะเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม เป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น เห็นอริยสัจ ๔ ชัดเจนมาก ยากเหลือเกิน เอาตรงนี้เป็นเครื่องบ่งบอกว่า คนนั้นเข้ากระแสพระอริยะได้ เอาตรงนี้เป็นเครื่องวัด เพราะเขารู้ว่าการคิดเช่นนี้ผิด เขาจะมองเห็นว่า เป็นทุกข์อย่างไร อะไรเป็นสาเหตุของทุกข์ การดับทุกข์ทำอย่างไร มีปฏิปทาออกจากทุกข์ได้อย่างไร รู้ว่าความคิดทั้งหมดเป็นทุกข์ ความคิดหรือความปรุงแต่งทั้งหมดของจิต ที่มาของความปรุงแต่งเหล่านั้น มาจากการไม่เห็นแจ้งในขันธ์ ๕ ไม่มีญาณทัสสนะ เป็นตัวให้เห็นทำให้เกิดความหลง บัดนี้ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ทำให้ขันธ์ ๕ แจ้งออกมา เขาก็จะเข้าใจในระบบว่า เหตุของทุกข์ก็ คือ การยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนของเรา เป็นสาเหตุที่มาของความปรุงแต่งทั้งหมด เขาจะรู้ว่าความปรุงแต่ง คือ อารมณ์นั้นมาจากไหน จะดับความปรุงแต่งได้อย่างไร ปฏิปทาที่จะดับทุกข์ปฏิบัติอย่างไร ชัดเจนมากๆ ตรงนี้ เขาเข้าใจว่า ความปรุงแต่งเหตุมาจากขันธ์ ๕ ถ้าจะทำให้ดับความปรุงแต่งก็ทำให้แจ้งขันธ์ ๕ ทางตรงนี้ จึงเปิดออกมาอย่างใสแจ๋วเลย เมื่อเห็นแจ้งขันธ์ ๕ ก็มองเห็นนิพพานอยู่รำไร !
ถ้าอย่างนั้น ทางเส้นนี้มีแววที่จะพ้นทุกข์ได้ในที่สุด จึงได้ลงกระแสพระอริยะแล้ว จะไม่ลืม เพราะญาณนี้จะปรากฏตลอด แนวทางการปฏิบัติที่เห็นว่าถูกต้อง จะปฏิบัติอย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นเสมือนการทานยาแล้ว โรคไม่หายทางนั้นจะดีได้อย่างไร อยู่ที่โรคหายต่างหากไม่ใช่อยู่ที่ยา ยานั้นจะมีสรรพคุณดีอย่างไร แต่กินแล้วไม่หาย ยานั้นจะเป็นยาดีอย่างไร ยาไหนที่บอกว่าไม่ถูก ผิดถูกไม่รู้ แต่กินแล้วหายไข้ก็พอใจแล้ว ถ้าอย่างนั้นแล้ว จิตที่คิดไปทั้งหมดมีอะไรเป็นมูลเหตุ จะดับความคิดนั้นได้อย่างไร อุบายออกจากจิตหลงขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนของเราคืออะไร เขาจะรู้อุบายออกตรงนั้น ตามเป็นจริง
ในเมื่อตรงนี้ไม่มีตัวตนที่แท้จริงก็ไม่ควรที่จะคิด คิดไปก็ไม่ได้อะไร เพราะตัวตนจริงๆ ไม่มีในที่นี้ จิตเห็นตัวเองว่าโง่ ! ตัวเองก็เห็นตัวเองออกจากความโง่ได้ เริ่มฉลาดออกจากความหลงนั้น อวิชชาถูกปิดลงไปแล้ว วิชาก็เกิดออกมา สังขารก็เริ่มดับ ทีนี้กำลังตรงนี้ไปช่วยลิดรอนความปรุงแต่งของจิต ให้ถูกระบบระเบียบขึ้นมากลายเป็นอริยสัจ ๔ ที่ถูกต้องตามระบบจริงๆ ขึ้นมา คนนั้นถึงจะเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม เป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น เห็นอริยสัจ ๔ ชัดเจนมาก ยากเหลือเกิน เอาตรงนี้เป็นเครื่องบ่งบอกว่า คนนั้นเข้ากระแสพระอริยะได้ เอาตรงนี้เป็นเครื่องวัด เพราะเขารู้ว่าการคิดเช่นนี้ผิด เขาจะมองเห็นว่า เป็นทุกข์อย่างไร อะไรเป็นสาเหตุของทุกข์ การดับทุกข์ทำอย่างไร มีปฏิปทาออกจากทุกข์ได้อย่างไร รู้ว่าความคิดทั้งหมดเป็นทุกข์ ความคิดหรือความปรุงแต่งทั้งหมดของจิต ที่มาของความปรุงแต่งเหล่านั้น มาจากการไม่เห็นแจ้งในขันธ์ ๕ ไม่มีญาณทัสสนะ เป็นตัวให้เห็นทำให้เกิดความหลง บัดนี้ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ทำให้ขันธ์ ๕ แจ้งออกมา เขาก็จะเข้าใจในระบบว่า เหตุของทุกข์ก็ คือ การยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนของเรา เป็นสาเหตุที่มาของความปรุงแต่งทั้งหมด เขาจะรู้ว่าความปรุงแต่ง คือ อารมณ์นั้นมาจากไหน จะดับความปรุงแต่งได้อย่างไร ปฏิปทาที่จะดับทุกข์ปฏิบัติอย่างไร ชัดเจนมากๆ ตรงนี้ เขาเข้าใจว่า ความปรุงแต่งเหตุมาจากขันธ์ ๕ ถ้าจะทำให้ดับความปรุงแต่งก็ทำให้แจ้งขันธ์ ๕ ทางตรงนี้ จึงเปิดออกมาอย่างใสแจ๋วเลย เมื่อเห็นแจ้งขันธ์ ๕ ก็มองเห็นนิพพานอยู่รำไร !
ถ้าอย่างนั้น ทางเส้นนี้มีแววที่จะพ้นทุกข์ได้ในที่สุด จึงได้ลงกระแสพระอริยะแล้ว จะไม่ลืม เพราะญาณนี้จะปรากฏตลอด แนวทางการปฏิบัติที่เห็นว่าถูกต้อง จะปฏิบัติอย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นเสมือนการทานยาแล้ว โรคไม่หายทางนั้นจะดีได้อย่างไร อยู่ที่โรคหายต่างหากไม่ใช่อยู่ที่ยา ยานั้นจะมีสรรพคุณดีอย่างไร แต่กินแล้วไม่หาย ยานั้นจะเป็นยาดีอย่างไร ยาไหนที่บอกว่าไม่ถูก ผิดถูกไม่รู้ แต่กินแล้วหายไข้ก็พอใจแล้ว ถ้าอย่างนั้นแล้ว จิตที่คิดไปทั้งหมดมีอะไรเป็นมูลเหตุ จะดับความคิดนั้นได้อย่างไร อุบายออกจากจิตหลงขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนของเราคืออะไร เขาจะรู้อุบายออกตรงนั้น ตามเป็นจริง
อุบายออก คือ การไม่ส่งจิตออกนอก และการดับความปรุงแต่งทำให้แจ้งขันธ์ ๕ ยิ่งๆขึ้นไป นั่นคือการทำให้แจ้ง
เป็นอริยสัจชัดเจน และสมาธิตรงนี้ ไม่มีการเสื่อมตลอดชีวิต
ไม่เหมือนกับสมาธิอย่างแรกแบบโลกีย์สมาธิ ที่แกว่งไปแกว่งมา เดี๋ยวได้เดี๋ยวไม่ได้
ล่องลอยเหมือนไม้หลักปักเลน ไม่ค่อยมีฐาน ไม่มั่น
แต่สมาธิที่เกิดจากการเห็นตัวเองแล้วเกิดญาณขึ้นเป็นสมาธิแบบโลกุตตระ
เป็นสมาธิที่มั่นมาก เป็นสมาธิโดยอัตโนมัติในที่สุด ตลอด ๒๔ ชั่วโมง แม้ว่าคนนั้นจะเข้าสมาธิหรือไม่เข้าสมาธิ ก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นสมาธิมั่นทั้งระบบของการเป็นอยู่ จิตไม่ออก คือ จิตไม่ได้ปรุงแต่ง แม้ว่าผู้ที่เข้าสมาธิแบบโลกีย์ แต่จิตคิดไปเรื่อย
ประหนึ่งว่ากายมีสมาธิมั่น แต่จิตไม่มั่น
แตกต่างกับโลกุตตระ มีสมาธิแม้กายจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ได้ แต่จิตเป็นหนึ่งอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้นเราจะต้องอบรมจิตให้เห็นแจ้งขันธ์ ๕ ออกมา การเห็นแจ้งจะไปตอกย้ำกิเลสทั้งสามตัว
คือ ราคะ โทสะ โมหะ ให้พินาศเหมือนการโค่นต้นไม้ ทีแรกตัดกิ่งก้านก่อน ภายหลังขุดรากอีกที
ความคิดที่คิดไปข้างนอกนั้นทีแรกตัดก่อน คิดไป ตัดๆ เมื่อมองเห็นตัวเองเห็นขันธ์ ๕
ตามเป็นจริง เห็นอาการ ๓๒ นั่นคือ การขุดรากถอนโคนของกิเลสชนิดนั้นๆออก
เขาไม่ได้ตัดอย่างเดียว ตัดแล้วมีการขุดข้างในอีกทีหนึ่ง
การแก้หรือการดับทุกข์อย่างนี้ เป็นการดับทุกข์อย่างยั่งยืน และทรงอานุภาพของการตัดได้จริงๆ
ความคิดที่คิดไปทางราคะ โทสะ โมหะ เราไม่เติมเชื้อนั่นคือการลิดรอนอยู่แล้ว
มิหนำซ้ำการเห็นความเป็นจริงของร่างกายอันนี้ เป็นของปฏิกูล และภาพที่เห็นนี้ เห็นอยู่ตลอดเวลา
ราคะ ถูกไถ่ถอน จะเห็นชัดเจนว่า ธรรมชาตินี้บางลงๆๆ ตั้งแต่ต้นแล้ว และมีแววว่า ในอนาคตข้างหน้าหมดแน่ๆ มองออกโทสะ โมหะ หรือแม้แต่จิตที่ปรุงแต่งรู้ว่า
อีกหน่อยต้องหยุดแน่ๆ มีแววตั้งแต่ต้นแล้ว ชัดเจนจริงๆ ตามที่มองไว้ไม่ผิดเลย ผม
ขน เล็บ ฟัน
หนัง
ที่พระพุทธองค์ทรงให้กรรมฐานไม่มีผิดไปจากนี้
การประพฤติปฏิบัติอบรมทั้งกลางคืน และกลางวัน อบรมจิตจนกระทั่ง ๒๔ ชั่วโมง ไม่ให้จิตรั่วออกไปข้างนอกแม้แต่นิดเดียว ทีแรกเราพยายามอินทรีย์สังวร สำรวมระวังไม่ให้เล็ดลอดออกทางหู ทางตาตลอด ทำนานเข้าๆ กลายเป็นอัตโนมัติทั้งหมดเลย ผลที่สุดไม่ต้องระวัง จิตนี้ก็ไม่ไปเพราะเห็นโทษภัยต่างๆ ที่ตัวเองเคยหลงโลกมานมนาน ไถ่ถอนความรู้สึกนั้นออกทีละนิดๆ จนบางลงๆๆ จิตสว่างไสวมาก ทั้งจิตและแสงสว่างในตัวเองที่เห็นแจ้งขันธ์ ๕ ก็สว่างและตาในเห็นด้วยอีกต่างหาก เห็นตัวเองชัดก็เห็น สว่างก็สว่าง
การอบรมจิตจะต้องมีการโอ้โลมปฏิโลมให้มีรสชาติในการประพฤติปฏิบัติ อย่างเช่น เส้นผมกลายเป็นผมหงอกขาวแล้วหลุดร่วง นึกว่าไม่เที่ยงแล้ว วันหนึ่งหากเราตายไปเขาเผาเราไหม้ไปๆ อารมณ์เหล่านี้เป็นเหตุการณ์จำลองขึ้นมา เพื่อสร้างสถานการณ์ให้จิตคล้อยตามในท้องเรื่อง ทำอุบายแยบคายให้ชวนจิตพิจารณา ไม่ใช่การมองตัวเองเฉยๆอย่างเดียว อารัมภบทเป็นการน้อมจิตเป็นลักษณะของอุบายหรือโยนิโสมนสิการ เป็นการใส่ใจในอุบายอันแยบคายให้ชวนจิตพิจารณา ไม่ให้จิตเบื่อเหมือนกับการจับเด็กไว้นิ่งๆ เอาตุ๊กตาให้เล่นเขาอยู่ได้ ดิ้นแต่ดิ้นอยู่ในขอบเขตจำกัดให้เขาคิดอยู่ในขอบเขตจำกัด เขาจะอยู่ได้นาน พิจารณานานไปๆๆ ก็เรื่องเดิมนั่นแหละ เขาก็เบื่อ ! นานแล้วของเก่าเล่าใหม่เกินไป จิตเบื่อซ้ำซากในตุ๊กตาตัวเก่า เราก็ เปลี่ยนท้องเรื่องใหม่ เช่น วันหนึ่ง เราไปโรงพยาบาลไปเห็นคนตายที่โรงพยาบาลหรือเห็นคนประสบอุบัติเหตุ แล้วก็นึกถึงตัวเองว่าสักวันหนึ่งถ้าเราเป็นอย่างนั้นจะเป็นอย่างไร จิตได้ท้องเรื่องใหม่มาก็เริ่มสนใจอีกแล้ว อุบายเหล่านี้โปรยปรายอยู่ในโลกนี้เอง เราเก็บเอาโน่นเอานี่มา เพื่ออบรมจิตดวงนี้ให้ไปตามครรลองที่เราต้องการ เป็นความชาญฉลาดของคนๆนั้นว่า ทำอย่างไรจิตจะสนใจตรงนี้ให้มาก ด้วยวิธีใด อุบายใด เราก็เอาอุบายนั้นกล่อมจิตเข้าไป แล้วเขาจะผลิตความเห็นตัวเองขึ้นมา ชวนเขาพาเขาไป แต่ทำอย่างไรจะชวนเขาให้สนใจพิจารณาได้นานที่สุด มันเป็นเทคนิคที่เหมือนกับคิดวนเวียนอยู่ในกายคตาสติ แต่ไม่ให้คิดออกข้างนอก ฉะนั้น ความคิดตรงนี้จะแก้หักล้างกับความคิดข้างนอกได้ การหักล้างนั้นเองผลลัพธ์กลายเป็นศูนย์ หมายถึงว่าหักล้างกันเอง เหล่านี้เป็นอุบายที่เราจะต้องเข้าใจ คำสอนพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้มากเกี่ยวกับโยนิโสมนสิการ แต่เราไม่เข้าใจว่า โยนิโสมนสิการคืออะไร? อุบายแยบคาย คือ อุบายอย่างไร? รายละเอียดตรงนี้ ต้องอธิบายเพิ่มถึงจะเข้าใจ เริ่มดูตัวเองตรงไหนก็ได้ จนกว่าตรงนี้จิตเกิดเบื่อหน่ายไม่ค่อยจะเอาแล้วก็เปลี่ยนไปที่อื่น สุดท้ายไม่มีเว้นเลยในตัวเรา แม้แต่ขนเส้นหนึ่งยังไม่เว้น เห็นแจ้งทั้งหมดตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า แต่การประพฤติปฏิบัติใหม่ๆเว้นได้อยู่ ถึงที่สุดแล้วต้องเห็นทั้งตัวตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า เห็นพร้อมในวินาทีเดียวกัน ใหม่ๆยังทำไม่ได้ นานๆไปทำได้ เพราะความมากในการทำซ้ำๆ ความเห็นตัวเองจะโชว์อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน วันๆหนึ่งดูตัวเองอยู่อย่างนั้น ท่องเที่ยวอยู่ในกายนครห้ามท่องเที่ยวในโลก โลกเป็นของคนในโลกนี้ แต่เราเดินอยู่ในตัวเรานี้ ผิดธรรมชาติอยู่แล้ว ตรงนี้ธรรมชาติไม่ได้สอนไว้ แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน เพราะเป็นทางที่ออกจากทางโลกนี้ได้ หนีจากธรรมชาติได้
การเปลี่ยนจุดในการมองร่างกายไม่ควรเปลี่ยนบ่อย จนกว่าจิตจะเห็นว่าซ้ำซากจริงๆ แล้วเกิดเบื่อหน่าย ถ้าจิตฟุ้งก็ให้ฟุ้งอยู่ในกายนั้น ไม่ให้ฟุ้งออกข้างนอก จิตที่ถูกอบรมมากๆเข้า จิตก็เหนื่อยเป็น เมื่อจิตเหนื่อยเราก็พิจารณาต่อไม่ได้ กายเราเหนื่อยเพราะเดินจงกรม นั่งสมาธิมากมิหนำซ้ำจิตก็เหนื่อย เมื่อจิตเหนื่อยจิตจะพิจารณาไม่ไป ก็ให้เรานิ่งอยู่ตรงจุดนั้นคาเอาไว้เหมือนภาพสไลด์ เหมือนเราทำงานแล้วไม่กลับบ้านฟุบคางาน ให้รู้ไปว่าเรากัดไม่ปล่อย ตื่นมาทำต่อ แต่ไม่ให้จิตออกข้างนอก ให้จิตตั้งอยู่ เพราะเราจะหนีไม่ใช่หรือ? จิตที่ออกข้างนอกเงื่อนเหง้าเค้ามูลไม่ให้มีเลย เราจะทำลายไม่ให้ธรรมชาติสิ่งนั้นมีในใจเรา ผลที่สุดก็หนีได้ เพราะหนีภาพเหล่านั้น แล้วภาพเราครองหัวใจแล้ว จิตจึงเป็นหนึ่งเดียวได้ด้วยอุบายนี้เท่านั้น
การประพฤติปฏิบัติอบรมทั้งกลางคืน และกลางวัน อบรมจิตจนกระทั่ง ๒๔ ชั่วโมง ไม่ให้จิตรั่วออกไปข้างนอกแม้แต่นิดเดียว ทีแรกเราพยายามอินทรีย์สังวร สำรวมระวังไม่ให้เล็ดลอดออกทางหู ทางตาตลอด ทำนานเข้าๆ กลายเป็นอัตโนมัติทั้งหมดเลย ผลที่สุดไม่ต้องระวัง จิตนี้ก็ไม่ไปเพราะเห็นโทษภัยต่างๆ ที่ตัวเองเคยหลงโลกมานมนาน ไถ่ถอนความรู้สึกนั้นออกทีละนิดๆ จนบางลงๆๆ จิตสว่างไสวมาก ทั้งจิตและแสงสว่างในตัวเองที่เห็นแจ้งขันธ์ ๕ ก็สว่างและตาในเห็นด้วยอีกต่างหาก เห็นตัวเองชัดก็เห็น สว่างก็สว่าง
การอบรมจิตจะต้องมีการโอ้โลมปฏิโลมให้มีรสชาติในการประพฤติปฏิบัติ อย่างเช่น เส้นผมกลายเป็นผมหงอกขาวแล้วหลุดร่วง นึกว่าไม่เที่ยงแล้ว วันหนึ่งหากเราตายไปเขาเผาเราไหม้ไปๆ อารมณ์เหล่านี้เป็นเหตุการณ์จำลองขึ้นมา เพื่อสร้างสถานการณ์ให้จิตคล้อยตามในท้องเรื่อง ทำอุบายแยบคายให้ชวนจิตพิจารณา ไม่ใช่การมองตัวเองเฉยๆอย่างเดียว อารัมภบทเป็นการน้อมจิตเป็นลักษณะของอุบายหรือโยนิโสมนสิการ เป็นการใส่ใจในอุบายอันแยบคายให้ชวนจิตพิจารณา ไม่ให้จิตเบื่อเหมือนกับการจับเด็กไว้นิ่งๆ เอาตุ๊กตาให้เล่นเขาอยู่ได้ ดิ้นแต่ดิ้นอยู่ในขอบเขตจำกัดให้เขาคิดอยู่ในขอบเขตจำกัด เขาจะอยู่ได้นาน พิจารณานานไปๆๆ ก็เรื่องเดิมนั่นแหละ เขาก็เบื่อ ! นานแล้วของเก่าเล่าใหม่เกินไป จิตเบื่อซ้ำซากในตุ๊กตาตัวเก่า เราก็ เปลี่ยนท้องเรื่องใหม่ เช่น วันหนึ่ง เราไปโรงพยาบาลไปเห็นคนตายที่โรงพยาบาลหรือเห็นคนประสบอุบัติเหตุ แล้วก็นึกถึงตัวเองว่าสักวันหนึ่งถ้าเราเป็นอย่างนั้นจะเป็นอย่างไร จิตได้ท้องเรื่องใหม่มาก็เริ่มสนใจอีกแล้ว อุบายเหล่านี้โปรยปรายอยู่ในโลกนี้เอง เราเก็บเอาโน่นเอานี่มา เพื่ออบรมจิตดวงนี้ให้ไปตามครรลองที่เราต้องการ เป็นความชาญฉลาดของคนๆนั้นว่า ทำอย่างไรจิตจะสนใจตรงนี้ให้มาก ด้วยวิธีใด อุบายใด เราก็เอาอุบายนั้นกล่อมจิตเข้าไป แล้วเขาจะผลิตความเห็นตัวเองขึ้นมา ชวนเขาพาเขาไป แต่ทำอย่างไรจะชวนเขาให้สนใจพิจารณาได้นานที่สุด มันเป็นเทคนิคที่เหมือนกับคิดวนเวียนอยู่ในกายคตาสติ แต่ไม่ให้คิดออกข้างนอก ฉะนั้น ความคิดตรงนี้จะแก้หักล้างกับความคิดข้างนอกได้ การหักล้างนั้นเองผลลัพธ์กลายเป็นศูนย์ หมายถึงว่าหักล้างกันเอง เหล่านี้เป็นอุบายที่เราจะต้องเข้าใจ คำสอนพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้มากเกี่ยวกับโยนิโสมนสิการ แต่เราไม่เข้าใจว่า โยนิโสมนสิการคืออะไร? อุบายแยบคาย คือ อุบายอย่างไร? รายละเอียดตรงนี้ ต้องอธิบายเพิ่มถึงจะเข้าใจ เริ่มดูตัวเองตรงไหนก็ได้ จนกว่าตรงนี้จิตเกิดเบื่อหน่ายไม่ค่อยจะเอาแล้วก็เปลี่ยนไปที่อื่น สุดท้ายไม่มีเว้นเลยในตัวเรา แม้แต่ขนเส้นหนึ่งยังไม่เว้น เห็นแจ้งทั้งหมดตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า แต่การประพฤติปฏิบัติใหม่ๆเว้นได้อยู่ ถึงที่สุดแล้วต้องเห็นทั้งตัวตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า เห็นพร้อมในวินาทีเดียวกัน ใหม่ๆยังทำไม่ได้ นานๆไปทำได้ เพราะความมากในการทำซ้ำๆ ความเห็นตัวเองจะโชว์อยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน วันๆหนึ่งดูตัวเองอยู่อย่างนั้น ท่องเที่ยวอยู่ในกายนครห้ามท่องเที่ยวในโลก โลกเป็นของคนในโลกนี้ แต่เราเดินอยู่ในตัวเรานี้ ผิดธรรมชาติอยู่แล้ว ตรงนี้ธรรมชาติไม่ได้สอนไว้ แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน เพราะเป็นทางที่ออกจากทางโลกนี้ได้ หนีจากธรรมชาติได้
การเปลี่ยนจุดในการมองร่างกายไม่ควรเปลี่ยนบ่อย จนกว่าจิตจะเห็นว่าซ้ำซากจริงๆ แล้วเกิดเบื่อหน่าย ถ้าจิตฟุ้งก็ให้ฟุ้งอยู่ในกายนั้น ไม่ให้ฟุ้งออกข้างนอก จิตที่ถูกอบรมมากๆเข้า จิตก็เหนื่อยเป็น เมื่อจิตเหนื่อยเราก็พิจารณาต่อไม่ได้ กายเราเหนื่อยเพราะเดินจงกรม นั่งสมาธิมากมิหนำซ้ำจิตก็เหนื่อย เมื่อจิตเหนื่อยจิตจะพิจารณาไม่ไป ก็ให้เรานิ่งอยู่ตรงจุดนั้นคาเอาไว้เหมือนภาพสไลด์ เหมือนเราทำงานแล้วไม่กลับบ้านฟุบคางาน ให้รู้ไปว่าเรากัดไม่ปล่อย ตื่นมาทำต่อ แต่ไม่ให้จิตออกข้างนอก ให้จิตตั้งอยู่ เพราะเราจะหนีไม่ใช่หรือ? จิตที่ออกข้างนอกเงื่อนเหง้าเค้ามูลไม่ให้มีเลย เราจะทำลายไม่ให้ธรรมชาติสิ่งนั้นมีในใจเรา ผลที่สุดก็หนีได้ เพราะหนีภาพเหล่านั้น แล้วภาพเราครองหัวใจแล้ว จิตจึงเป็นหนึ่งเดียวได้ด้วยอุบายนี้เท่านั้น
การพิจารณาเปลี่ยนแต่อิริยาบถ แต่จิตไม่เปลี่ยนทำอย่างเดิม อย่างที่เรานั่งเจริญสติหรือเจริญสติด้วยการเดินจงกรม เดินจงกรมก็ดูตัวเรา ดูตำแหน่งเดิมที่เราดูแล้วเอาความเห็นคาไว้ตรงนั้น การตามดูจิตไปเรื่อยๆ หรือดูสิ่งที่มากระทบจิตมีเกิดดับใหม่อยู่เรื่อยๆ ไม่มีวี่แววที่จะสิ้นสุด จบไม่ลง ควรเน้นดูตัวเองจึงจะแก้ปัญหาได้ ดูกายตรงจุดนั้นซ้ำๆ จนกว่าจะเห็นแจ้ง เมื่อเห็นแจ้งแล้วไม่ว่า ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ว่าเจตนาหรือไม่เจตนา ความเห็นอันนั้นก็ยังเห็นอยู่ เมื่อก่อนไม่ทำไม่เห็น แต่เมื่อเห็นแจ้งแล้ว ความเห็นนั้นก็จะคงอยู่ทั้งข้างนอกข้างใน ความเห็นจะเป็นเครื่องอยู่ ทำให้จิตเห็นตลอดเวลา ความเห็นอันนี้ทำให้จิตมีขอบเขตอยู่แค่ร่างกายของเรา จิตไม่มีไปข้างนอกเลย นี่คือ การหนีอารมณ์และทำลายล้างอารมณ์นั้นด้วย กลายเป็นจิตหนึ่งเดียวได้ตลอดกาล จะไม่มีส่วนใดในร่างกายที่ไม่เห็น เมื่อรู้แจ้งจริงๆแล้ว จะเห็นตัวเราทั้งหมด ไม่เว้นเลยสักแห่งที่ไม่เห็น แม้แต่อณูหนึ่งก็ไม่เว้น เขาเห็นพร้อมกันได้หมดเลย เพราะความชำนาญมากที่เกิดจากการทำซ้ำๆซากๆ ใหม่ๆ ก็ทำไม่ได้ ดูส่วนใดส่วนหนึ่ง จะต้องมองดูเป็นที่ๆ ไป ดูส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็หาย นานๆ เข้าเริ่มไม่หายแล้ว เริ่มเห็นมากขึ้นๆ ดูถึงศีรษะเท้าก็ยังเห็นอยู่ ดูเท้าก็ยังเห็นศีรษะอยู่ ดูข้างนอกก็เห็นข้างในด้วย มองทะลุหมดเลย เห็นแจ้งทั้งตัวสว่างอยู่อย่างนั้น นั่นคือ สมาธิที่เกิดจากการมีสติรวมลงเป็นมหาสติ เป็นสมาธิที่หนาแน่นมาก
ที่กล่าวมาทั้งหมดเพื่อให้เห็นการฝึกขั้นตอนนั้นๆ
แต่แท้จริงก็ คือ “รู้แจ้ง” การอธิบายให้ลึกกว่านั้น คือ มองเห็นผม ขน เล็บ
ฟัน หนัง และเห็นธาตุขันธ์ เฉพาะขั้นการฝึกนั้นๆ ช่วงเวลานั้นๆของบุคคลที่ฝึกก็จะกล่าวถึงในเวลานั้น
เราจะกล่าวโดยรวมไม่ได้ เจาะจงเฉพาะตรงนั้นไป แต่สุดท้าย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
มองให้เห็น ถ้าไม่เห็นทำจิตให้รู้ไว้ก่อน แล้วก็ให้เห็นขึ้นมา การเห็นตรงนี้เป็นการแก้ปัญหา ถ้ามองไม่เห็นก็แก้ไม่ได้
เพราะการรู้อย่างเดียว แต่จิตไม่เห็น จิตก็ไม่ยอมรับความเป็นจริง
จำเป็นต้องทำให้เห็น การเห็นตรงนี้ เพื่อให้ปัญหาทุกอย่างยุติลง เพราะว่าการที่ไม่เห็นปัญหา
แก้ไม่ตก เพราะจิตคิดไปก็รู้ แล้วก็ดับไปเรื่อยๆถ้าอย่างนั้นแล้ว
ก็ไม่มีสิ้นสุด ให้อายุสักร้อยปีก็เกิด-ดับ จนถึงวันตายนั่นแหละจบไม่ลง การมองตัวเองให้เกิดญาณขึ้นมา
ทำแล้วก็จบเลยไม่ต้องทำอะไรอีก ชัดเจนในการเห็น ขอบเขตทำแบบจิตตามรู้ คิดไปรู้ ทำง่าย
เพราะเกิดดับเฉพาะหน้า การเห็นตัวเองให้เกิดญาณทำยาก เขาถึงหลีกเลี่ยงกัน แต่อย่างไรก็หนีไม่รอด
ข้อสอบนี้ต้องผ่านอย่างเดียว หนีข้อสอบนี้ไม่ได้ ต้องเห็นแจ้งร่างกายของตัวเอง ไม่เห็นแล้วแก้ไม่ตก
ทุกคนที่แก้ปัญหาไม่ตก ก็เพราะไม่เห็นแจ้งตัวเองนั่นเอง การเห็นมองเห็นหมดทั้งตัว ถ้ายังไม่เห็นให้นึกไปก่อนเป็นภาพที่เราสร้างขึ้นเอง บางครั้งอาจจะไม่เหมือนตรงนั้นทีเดียว
แต่เป็นอุบายให้จิตยอมรับ และทำให้จิตสงบระงับได้
พระภิกษุสมัยก่อนที่ไม่เห็นแจ้งตัวเองถึงไปดูซากศพในป่าช้า ดูศพเพื่อจะให้เป็นตัวอย่าง แท้จริงต้องเป็นภาพของจิตสร้างเองโดยเจตนาของเรา การเห็นจึงเกิดขึ้นได้แล้วดับกิเลส ทำให้เบื่อหน่ายคลายออก สำรอกกิเลสออก
ราคะเบาบางลงๆๆๆ จนหมดกิเลสได้ ที่จิตคิดไปในอารมณ์ข้างนอกจิตก็สร้างขึ้นมาเอง
อนาคตเราจะทำงานอะไรสักอย่าง คิดว่าจะทำอย่างนี้ๆ ก็นึกวิมานสวยหรู เวลาทำจริงๆไม่เหมือนสักอย่างก็มี
แสดงว่าที่นึกไว้ ไม่ได้จริงอย่างที่เป็นอยู่ แต่หลอกให้เราคิดได้
ฉะนั้น กิเลสหลอกให้เกิดได้ เราก็หลอกให้กิเลสดับได้ เป็นอุบายแก้กัน อุบายตรงนี้ทำให้จิตเป็นหนึ่งได้จริงๆอย่างไม่น่าเชื่อ โยนิโสมนสิการก็เป็นอุบายอันแยบคาย คำว่า “อุบาย” ฟังๆ ดูไม่ใช่ของจริง อุบายสงครามไม่ใช่อาวุธกับอาวุธ อาวุธคือศาสตรา แต่อุบายก็คือศาสตราอันหนึ่ง บางครั้งสงครามชนะด้วยการออกอุบาย อุบายเป็นทุกอย่างแม้แต่กลยุทธ์ของการทำสงครามหรือการทำสงครามกับกิเลสก็ใช้อุบาย เช่น เรานั่งสมาธิ เดี๋ยวจิตก็หาอุบายออกไปอีกแล้ว เรื่องก็ไม่เป็นจริงอะไร ของเก่าเล่าใหม่วนไปวนมา แต่อุบายนั้นทำให้จิตเราไม่สงบได้ ด้วยอุบายของกิเลสร้อยเล่ห์เพทุบายก็เป็นอุบายทั้งนั้น อุบายหลอกให้เกิดและอุบายหลอกให้ดับ แก้ตกก็คือจบกันเลย เอาอย่างไรก็ได้ ให้แก้ตก และอุบายนี้ ราคะ โทสะ โมหะ หมดได้จริงๆ คือ ดับได้ แต่เวลาหลอกให้กิเลสเกิดก็เกิดได้จริงๆ การนึกไปโน่น นึกไปนี่ กิเลสเกิดได้จริงๆอีก หลอกให้ดับก็ดับได้จริงๆอีก อุบายทั้งนั้นเหลี่ยมของกิเลสก็ร้อยเล่ห์อยู่แล้ว อุบายเป็นสิ่งจำเป็นจะต้องนำมาสู้ในสงครามกับกิเลส โดยทำอุบายให้แยบคาย อุบายไม่แยบคายจิตก็อยู่ไม่ได้ โยนิโสมนสิการ คือ อุบายอันแยบคายของจิต ที่สุดการมองเห็นตัวเองซ้ำซาก โดยถือเอาอันนั้นเป็นเกณฑ์ จิตก็ถือจริงๆ แล้วจิตรู้สึกจริงๆด้วยว่า ตรงนั้นคืออะไร? จะเป็นของจริงออกมาได้ชัดเจนมากอย่างกับตาเห็น ยิ่งกว่าตาเห็น ชัดยิ่งกว่าตาเนื้อเห็น ที่มืดๆก็แจ้งตรงนั้นแหละ ดูให้เห็นแจ้งชัดเจนอย่างเดียว ไม่ต้องไปกำหนดที่เท้าหรือไปกำหนดอะไร แต่สุดท้ายแล้วเราเห็นทั้งตัวหมด แต่ที่เห็นนี้จะได้เห็นตัวเองในทุกอิริยาบถกลับกันเลย แต่ที่กำหนดรู้นั้นจะไม่ได้ เหมือนกับว่าคนตาบอดทำอะไรก็คลำ ถามว่ารู้ไหมก็คลำดูก่อน คือ รู้แต่ไม่เห็น แต่ถ้าคนตาบอดนั้นเป็นคนตาดีขึ้นมา เขาไม่จำเป็นต้องคลำ เพราะมองเห็นตัวเองทั้งเห็นทั้งรู้ชัดเจนแล้ว เราทำให้เห็นก่อน แล้วทั้งรู้ ทั้งเห็น จะตามมาเองหมด เพราะตาดีแล้ว ตาในเปิดออกแล้วจะเห็นอิริยาบถตามเป็นจริง แล้วจะได้อิริยาบถเอง แต่ถ้ารู้อย่างเดียวไม่เห็นไปไม่รอด มีเห็นกับรู้ให้เอาตัวเห็นเป็นใหญ่ สร้างความเห็นขึ้นมาถ้าคนๆนั้น อบรมถึงที่สุดแล้ว วันๆนึกเห็นแต่ตัวอย่างเดียว ตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง ไม่เห็นอย่างอื่นเลย แต่เมื่อก่อนเห็นแต่อย่างอื่นทั้งวัน แต่ไม่เห็นตัวเองเลย ก็คือจิตวิ่งไปข้างนอก เป็นจิตที่วิ่งตามอารมณ์ต่างๆ การเห็นตัวเองอย่างเดียว กลายเป็นจิตที่นิ่งไม่วิ่งออกข้างนอกเลย วิ่งกับนิ่งอยู่คนละขั้วกันเท่านั้นเอง มัวแต่บังคับให้จิตสงบ การบังคับอย่างเดียวไม่ได้ เพราะจิตไม่ยอมรับ แม้ขณะนั้นจิตสงบจริงก็เป็นสงบแบบไม่ยอมรับ ยามออกจากสมาธิจิตก็หาเรื่องคิดอีก สมาธิที่มีอยู่ก็เสื่อมได้ เพราะการคิดมากๆ จิตถูกดึงออกข้างนอก
การมองเห็นตัวเองทำให้เกิดญาณแล้วจิตยอมรับ จิตสมัครใจที่จะหยุด เป็นจิตนิ่งอยู่กับตัวด้วย แสดงว่าคลายความเห็นผิดออก ก็เป็นผู้มีความเห็นถูกมีสัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เมื่อเป็นดังนี้แล้ว จิตนั้นถูกอบรมแล้ว สมาธิที่เกิดขึ้นนั้นยังความสุขมาให้มากที่สุด เขาย่อมพอใจในความสุขชนิดนั้น การกระทำอันใดที่ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนของสมาธิได้ เขาจะกลัวมาก เช่นว่าการที่เขาพูดทำอะไรที่ไม่ดีก่อให้เกิดความเป็นโทษขึ้นมา ทำให้ความเดือดร้อนมาถึงตน เป็นเครื่องร้อนใจทำให้ใจสั่นสะเทือนในการกระทำของตนที่ทำเอาไว้ ทำให้การสั่นสะเทือนของจิตแกว่งเกิดทุกข์ใจขึ้นมา เขาจะเห็นโทษตรงนั้นแล้วสาวหาเหตุว่า ความทุกข์นั้นเกิดจากอะไร เช่น การไม่สุจริตในสัมมาอาชีวะ อาชีพหรือการงานของตนที่มีอยู่เป็นเหตุ ทำให้จิตแกว่งเกิดความทุกข์เพราะจิตสั่นคลอน เขาจะเห็นโทษและพร้อมที่จะละสิ่งนั้น ถ้าอย่างนั้น สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาวายาโม จะบริสุทธิ์ขึ้นเพราะเห็นภัย เพราะหวงแหนตรงนี้มาก สมบัติชิ้นนี้จะไม่ให้มีมลทินเลย คือ “จิตที่หนึ่งเดียวสว่างไสว” เขาจะรักษาไว้โดยที่ไม่ให้อะไรมาแตะต้อง คนนั้นจะเป็นผู้มีศีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ เขาจะเห็นโทษในตัวเอง กลายเป็นว่าการอบรมที่อยู่ในขอบเขตของมรรคมีองค์ ๘ เกิดขึ้น เพราะทะนุถนอมจิตหนึ่งเดียวดวงนั้น ไม่ให้อะไรกล้ำกลายได้ เพราะเห็นโทษของการกระทำผิดของตน
กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ก็เกิดขึ้น คนนั้นจะเป็นผู้มีศีลที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ เป็นการฝึกจิตที่เข้าไปสู่ระบบ และอีกอย่างหนึ่ง คือ การสิ้นไปของราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นรากเหง้าเค้ามูลของอกุศลกรรมทั้งหลาย เรียกว่า “อกุศลมูล” พังพินาศลงไป ย่อมเห็นความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนใคร ความหลงมีประการต่างๆ เหล่านั้นข้ามพ้นแล้ว ไม่นำสิ่งอื่นเข้ามาเปรอะเปื้อน การเบียดเบียนที่เป็นอกุศลต่างๆ ก็มีไม่ได้ คนนั้นจะเหลือจิตที่บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรเป็นอะไร กิริยาของจิตไม่มี กรรมอันเกิดจากกาย วาจา ก็เป็นแค่กิริยา การฝึกสมาธิแบบสมถะ การที่จะทำจิตให้นิ่งนั้น จิตก็นิ่งได้ เมื่อจิตนิ่งแล้วคลายตัวออกมา ส่วนหนึ่งจะนิ่งอยู่ อีกส่วนหนึ่งออกไปคิด จะมีสองส่วนแบ่งภาคกัน ฉะนั้น ส่วนที่คิดเราคอยจะดับ แล้วให้จิตมาอยู่ตรงส่วนที่นิ่งนี้ ถ้าคนนั้นบอกว่าคิดไปก็ดับ รู้แล้วก็ดับ ปกติเรารู้หรือไม่รู้ ถ้าเพ่งตัวคิดจิตก็ดับแล้ว ถึงจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจเพ่งไปตรงๆก็ดับ คนนั้นคิดว่าการดับอย่างนี้ถูกต้องแล้ว ความจริงยัง ถูกแต่ไม่ถูกที่สุด ถูกที่สุด คือ ดับไปเลยไม่เกิดอีก ไม่ใช่เกิดๆ ดับๆ ไปเรื่อยๆ
ถ้าคิดว่าแก้ไม่ได้หรอก เรื่องของความคิดก็คิดไป เกิดแล้วดับ ก็มีคนที่เขาแก้ได้ มีคนทำได้จะว่าอย่างไร คนๆนั้นเขาแก้ไม่ได้ เพราะสติปัญญาเขามีแค่นั้นเขาก็แก้ไม่ได้ แต่คนอื่นเขาแก้ได้มากกว่านั้น คือ เขาดับได้หมดเลย อุปมาว่า ถ่านไฟแดงๆ อีกคนหนึ่งจับแล้วไม่ปล่อยไหม้มือ แต่อีกคนจับแล้วก็ปล่อยๆ เหมือนคิดแล้วค่อยดับเรื่อยๆ กับอีกคนหนึ่งไม่จับเลยทิ้งไปเลย มือก็ไม่ต้องจับ รู้ว่าถ่านไฟร้อนจะจับทำไม? เมื่อไม่มีการจับแต่แรกการปล่อยก็ไม่ต้องทำ ขั้นตอนที่หนึ่งไม่มีแล้ว ขั้นตอนที่สองจะมีได้ยังไง คนนี้สูงสุด คือ ไม่ต้องจับ ไม่ต้องส่งจิตออกไปเลย คนนี้ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะความรู้ของเขาสูงมาก ทำได้อย่างไร จิตนิ่ง กายไม่นิ่ง คือ จิตนิ่งตัวเคลื่อนไหวเป็นกิริยา เพราะยังไม่ตาย เขาจะต้องเดินอยู่ในโลกนี้ต้องสัญจรอยู่ในโลก มีชีวิตอยู่แต่จิตไม่ได้ไปไหนตลอด ๒๔ ชั่วโมง แม้แต่ความฝันก็ไม่มี นอนก็เห็นตัวเองหลับก็เห็นตัวเอง ตื่นขึ้นมาก็เห็นตัวเอง เห็นตัวเองอย่างเดียววันยันค่ำ แล้วไม่เบื่อหรือ? ไม่เบื่อ ! รสชาติหนึ่งเดียวที่ไม่มีความเบื่อในตัวของเขาเอง
ฉะนั้น กิเลสหลอกให้เกิดได้ เราก็หลอกให้กิเลสดับได้ เป็นอุบายแก้กัน อุบายตรงนี้ทำให้จิตเป็นหนึ่งได้จริงๆอย่างไม่น่าเชื่อ โยนิโสมนสิการก็เป็นอุบายอันแยบคาย คำว่า “อุบาย” ฟังๆ ดูไม่ใช่ของจริง อุบายสงครามไม่ใช่อาวุธกับอาวุธ อาวุธคือศาสตรา แต่อุบายก็คือศาสตราอันหนึ่ง บางครั้งสงครามชนะด้วยการออกอุบาย อุบายเป็นทุกอย่างแม้แต่กลยุทธ์ของการทำสงครามหรือการทำสงครามกับกิเลสก็ใช้อุบาย เช่น เรานั่งสมาธิ เดี๋ยวจิตก็หาอุบายออกไปอีกแล้ว เรื่องก็ไม่เป็นจริงอะไร ของเก่าเล่าใหม่วนไปวนมา แต่อุบายนั้นทำให้จิตเราไม่สงบได้ ด้วยอุบายของกิเลสร้อยเล่ห์เพทุบายก็เป็นอุบายทั้งนั้น อุบายหลอกให้เกิดและอุบายหลอกให้ดับ แก้ตกก็คือจบกันเลย เอาอย่างไรก็ได้ ให้แก้ตก และอุบายนี้ ราคะ โทสะ โมหะ หมดได้จริงๆ คือ ดับได้ แต่เวลาหลอกให้กิเลสเกิดก็เกิดได้จริงๆ การนึกไปโน่น นึกไปนี่ กิเลสเกิดได้จริงๆอีก หลอกให้ดับก็ดับได้จริงๆอีก อุบายทั้งนั้นเหลี่ยมของกิเลสก็ร้อยเล่ห์อยู่แล้ว อุบายเป็นสิ่งจำเป็นจะต้องนำมาสู้ในสงครามกับกิเลส โดยทำอุบายให้แยบคาย อุบายไม่แยบคายจิตก็อยู่ไม่ได้ โยนิโสมนสิการ คือ อุบายอันแยบคายของจิต ที่สุดการมองเห็นตัวเองซ้ำซาก โดยถือเอาอันนั้นเป็นเกณฑ์ จิตก็ถือจริงๆ แล้วจิตรู้สึกจริงๆด้วยว่า ตรงนั้นคืออะไร? จะเป็นของจริงออกมาได้ชัดเจนมากอย่างกับตาเห็น ยิ่งกว่าตาเห็น ชัดยิ่งกว่าตาเนื้อเห็น ที่มืดๆก็แจ้งตรงนั้นแหละ ดูให้เห็นแจ้งชัดเจนอย่างเดียว ไม่ต้องไปกำหนดที่เท้าหรือไปกำหนดอะไร แต่สุดท้ายแล้วเราเห็นทั้งตัวหมด แต่ที่เห็นนี้จะได้เห็นตัวเองในทุกอิริยาบถกลับกันเลย แต่ที่กำหนดรู้นั้นจะไม่ได้ เหมือนกับว่าคนตาบอดทำอะไรก็คลำ ถามว่ารู้ไหมก็คลำดูก่อน คือ รู้แต่ไม่เห็น แต่ถ้าคนตาบอดนั้นเป็นคนตาดีขึ้นมา เขาไม่จำเป็นต้องคลำ เพราะมองเห็นตัวเองทั้งเห็นทั้งรู้ชัดเจนแล้ว เราทำให้เห็นก่อน แล้วทั้งรู้ ทั้งเห็น จะตามมาเองหมด เพราะตาดีแล้ว ตาในเปิดออกแล้วจะเห็นอิริยาบถตามเป็นจริง แล้วจะได้อิริยาบถเอง แต่ถ้ารู้อย่างเดียวไม่เห็นไปไม่รอด มีเห็นกับรู้ให้เอาตัวเห็นเป็นใหญ่ สร้างความเห็นขึ้นมาถ้าคนๆนั้น อบรมถึงที่สุดแล้ว วันๆนึกเห็นแต่ตัวอย่างเดียว ตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง ไม่เห็นอย่างอื่นเลย แต่เมื่อก่อนเห็นแต่อย่างอื่นทั้งวัน แต่ไม่เห็นตัวเองเลย ก็คือจิตวิ่งไปข้างนอก เป็นจิตที่วิ่งตามอารมณ์ต่างๆ การเห็นตัวเองอย่างเดียว กลายเป็นจิตที่นิ่งไม่วิ่งออกข้างนอกเลย วิ่งกับนิ่งอยู่คนละขั้วกันเท่านั้นเอง มัวแต่บังคับให้จิตสงบ การบังคับอย่างเดียวไม่ได้ เพราะจิตไม่ยอมรับ แม้ขณะนั้นจิตสงบจริงก็เป็นสงบแบบไม่ยอมรับ ยามออกจากสมาธิจิตก็หาเรื่องคิดอีก สมาธิที่มีอยู่ก็เสื่อมได้ เพราะการคิดมากๆ จิตถูกดึงออกข้างนอก
การมองเห็นตัวเองทำให้เกิดญาณแล้วจิตยอมรับ จิตสมัครใจที่จะหยุด เป็นจิตนิ่งอยู่กับตัวด้วย แสดงว่าคลายความเห็นผิดออก ก็เป็นผู้มีความเห็นถูกมีสัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เมื่อเป็นดังนี้แล้ว จิตนั้นถูกอบรมแล้ว สมาธิที่เกิดขึ้นนั้นยังความสุขมาให้มากที่สุด เขาย่อมพอใจในความสุขชนิดนั้น การกระทำอันใดที่ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนของสมาธิได้ เขาจะกลัวมาก เช่นว่าการที่เขาพูดทำอะไรที่ไม่ดีก่อให้เกิดความเป็นโทษขึ้นมา ทำให้ความเดือดร้อนมาถึงตน เป็นเครื่องร้อนใจทำให้ใจสั่นสะเทือนในการกระทำของตนที่ทำเอาไว้ ทำให้การสั่นสะเทือนของจิตแกว่งเกิดทุกข์ใจขึ้นมา เขาจะเห็นโทษตรงนั้นแล้วสาวหาเหตุว่า ความทุกข์นั้นเกิดจากอะไร เช่น การไม่สุจริตในสัมมาอาชีวะ อาชีพหรือการงานของตนที่มีอยู่เป็นเหตุ ทำให้จิตแกว่งเกิดความทุกข์เพราะจิตสั่นคลอน เขาจะเห็นโทษและพร้อมที่จะละสิ่งนั้น ถ้าอย่างนั้น สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาวายาโม จะบริสุทธิ์ขึ้นเพราะเห็นภัย เพราะหวงแหนตรงนี้มาก สมบัติชิ้นนี้จะไม่ให้มีมลทินเลย คือ “จิตที่หนึ่งเดียวสว่างไสว” เขาจะรักษาไว้โดยที่ไม่ให้อะไรมาแตะต้อง คนนั้นจะเป็นผู้มีศีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ เขาจะเห็นโทษในตัวเอง กลายเป็นว่าการอบรมที่อยู่ในขอบเขตของมรรคมีองค์ ๘ เกิดขึ้น เพราะทะนุถนอมจิตหนึ่งเดียวดวงนั้น ไม่ให้อะไรกล้ำกลายได้ เพราะเห็นโทษของการกระทำผิดของตน
กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ก็เกิดขึ้น คนนั้นจะเป็นผู้มีศีลที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ เป็นการฝึกจิตที่เข้าไปสู่ระบบ และอีกอย่างหนึ่ง คือ การสิ้นไปของราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นรากเหง้าเค้ามูลของอกุศลกรรมทั้งหลาย เรียกว่า “อกุศลมูล” พังพินาศลงไป ย่อมเห็นความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนใคร ความหลงมีประการต่างๆ เหล่านั้นข้ามพ้นแล้ว ไม่นำสิ่งอื่นเข้ามาเปรอะเปื้อน การเบียดเบียนที่เป็นอกุศลต่างๆ ก็มีไม่ได้ คนนั้นจะเหลือจิตที่บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรเป็นอะไร กิริยาของจิตไม่มี กรรมอันเกิดจากกาย วาจา ก็เป็นแค่กิริยา การฝึกสมาธิแบบสมถะ การที่จะทำจิตให้นิ่งนั้น จิตก็นิ่งได้ เมื่อจิตนิ่งแล้วคลายตัวออกมา ส่วนหนึ่งจะนิ่งอยู่ อีกส่วนหนึ่งออกไปคิด จะมีสองส่วนแบ่งภาคกัน ฉะนั้น ส่วนที่คิดเราคอยจะดับ แล้วให้จิตมาอยู่ตรงส่วนที่นิ่งนี้ ถ้าคนนั้นบอกว่าคิดไปก็ดับ รู้แล้วก็ดับ ปกติเรารู้หรือไม่รู้ ถ้าเพ่งตัวคิดจิตก็ดับแล้ว ถึงจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจเพ่งไปตรงๆก็ดับ คนนั้นคิดว่าการดับอย่างนี้ถูกต้องแล้ว ความจริงยัง ถูกแต่ไม่ถูกที่สุด ถูกที่สุด คือ ดับไปเลยไม่เกิดอีก ไม่ใช่เกิดๆ ดับๆ ไปเรื่อยๆ
ถ้าคิดว่าแก้ไม่ได้หรอก เรื่องของความคิดก็คิดไป เกิดแล้วดับ ก็มีคนที่เขาแก้ได้ มีคนทำได้จะว่าอย่างไร คนๆนั้นเขาแก้ไม่ได้ เพราะสติปัญญาเขามีแค่นั้นเขาก็แก้ไม่ได้ แต่คนอื่นเขาแก้ได้มากกว่านั้น คือ เขาดับได้หมดเลย อุปมาว่า ถ่านไฟแดงๆ อีกคนหนึ่งจับแล้วไม่ปล่อยไหม้มือ แต่อีกคนจับแล้วก็ปล่อยๆ เหมือนคิดแล้วค่อยดับเรื่อยๆ กับอีกคนหนึ่งไม่จับเลยทิ้งไปเลย มือก็ไม่ต้องจับ รู้ว่าถ่านไฟร้อนจะจับทำไม? เมื่อไม่มีการจับแต่แรกการปล่อยก็ไม่ต้องทำ ขั้นตอนที่หนึ่งไม่มีแล้ว ขั้นตอนที่สองจะมีได้ยังไง คนนี้สูงสุด คือ ไม่ต้องจับ ไม่ต้องส่งจิตออกไปเลย คนนี้ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะความรู้ของเขาสูงมาก ทำได้อย่างไร จิตนิ่ง กายไม่นิ่ง คือ จิตนิ่งตัวเคลื่อนไหวเป็นกิริยา เพราะยังไม่ตาย เขาจะต้องเดินอยู่ในโลกนี้ต้องสัญจรอยู่ในโลก มีชีวิตอยู่แต่จิตไม่ได้ไปไหนตลอด ๒๔ ชั่วโมง แม้แต่ความฝันก็ไม่มี นอนก็เห็นตัวเองหลับก็เห็นตัวเอง ตื่นขึ้นมาก็เห็นตัวเอง เห็นตัวเองอย่างเดียววันยันค่ำ แล้วไม่เบื่อหรือ? ไม่เบื่อ ! รสชาติหนึ่งเดียวที่ไม่มีความเบื่อในตัวของเขาเอง
ถ้าไม่จับเลย ไม่คิดเลย ก็ต้องเห็นตัวแจ้ง
ถ้าไม่เห็นตัวคนๆ นั้น ก็ได้แค่คิดแล้วก็ดับๆ ไม่จบ
ถ้าจะให้จิตเป็นหนึ่งเดียวถาวรก็ต้องเห็นตัวแจ้ง แน่นอนต้องทุกข์ อยากจะได้แต่ว่าทำยาก
แล้วก็ไม่อยากจะทำ ช่วยไม่ได้ ของยากก็พยายามอธิบายให้ง่ายก็ยังดีกว่าไม่เข้าใจเลย
ข้อสอบโยมกับข้อสอบพระเป็นข้อสอบเดียวกัน ไม่สนใจว่า ใครเป็นอะไร
เราจะมีเวลาฝึกขนาดไหนอยู่ที่ความพร้อมของบุคคลนั้น
เรามีการงานแต่ไม่ได้อ่านหนังสือจะไปสอบแข่งกับเขาได้อย่างไร คนอื่นเขาเรียนอยู่ตลอดเวลาเขาก็สอบได้ เพราะมีเวลาโดยตรงทำข้อสอบเดียวกันไม่มีเว้น เราตั้งอารมณ์อยู่กลางๆไม่ได้
แต่จำเป็นต้องพยายามตั้งไว้ตรงนั้น แต่ก็ไม่ต้องตั้งไว้ตรงนั้นอย่างเดียว ถึงแม้ว่าตั้งจิตอยู่ในอารมณ์กลางๆ
แล้วดูสุขดูทุกข์แล้วคอยดับก็ไม่พอ
แล้วค้นหาเหตุอย่างไรก็ไม่พอ มีทางเดียวเราตั้งจิตไว้กลางๆ ไม่ให้คิดออกข้างนอก
แต่ก็ไม่ให้เข้าข้างใน(ไม่ต้องเข้าสมาธิเป็นแค่มีสติอยู่) เอาการเห็นตัวแจ้งอย่างเดียวเป็นหลักสำคัญที่สุดแล้วจะสำเร็จประโยชน์
เพราะการเห็นแจ้งตัว(ขันธ์ ๕)เป็นเหตุของความทุกข์ทั้งหมด เป็นสาเหตุที่เราเข้าใจไม่ได้ ฉะนั้น อริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คำว่า นิโรธ(การดับทุกข์)ความหมายอีกนัยหนึ่ง
คือ ทำให้แจ้ง
การดับทุกข์เมื่อเห็นแจ้งตัวแล้วจะดับในตัวเองคือตัวเดียวกันกับที่มืดนั่นแหละ
ถ้าเราเอาจิตยืนตรงนี้แล้วคิดอะไรก็คอยดับ คิดอะไรก็รู้ รู้แล้วก็ดับ จะค้นหาสาเหตุก็ไม่พบ การที่ไม่เน้นความเห็นแจ้งขันธ์ ๕ ไปไม่รอด จุดสำคัญ อยู่ที่การเห็นแจ้งตัวเองอย่างเดียว ถ้าเห็นแจ้งตัวจะพบว่าสาเหตุมาจากอุปาทานนั่นเอง อุปาทานไม่ได้หมายถึง อุปาทานข้างนอก แต่เป็นอุปาทานข้างในจิต อันเกิดสาเหตุของอุปาทานข้างนอก เพราะข้างนอกมาจากข้างใน ทำลายข้างในข้างนอกก็หายเอง ทำลายที่รากใบก็เหี่ยวแห้งเอง แต่ทำลายที่ใบ รากยังดีก็ไม่เหี่ยวแห้ง ทำลายต้นรากก็ไม่ตายงอกขึ้นมาได้อีก แต่ทำลายที่ราก ใบก็ตาย ต้นก็ตายเอง สาเหตุมาจากอุปาทานขันธ์ ๕ ข้างในนั่นเอง ข้างในเป็นปัจจัยให้ไปข้างนอกเป็นผลอันมีข้างในเป็นเหตุ เกิดแต่เหตุก็ทำให้แจ้งขันธ์ ๕ ปัญหาก็จบ
ปัญหา คือ ทำยากเท่านั้นเอง ไม่ยากอย่างไรก็ต้องยาก ไม่งั้นกิเลสหลอกมนุษย์ไม่ได้หรอก มนุษย์ฉลาดต้องยากๆ ไว้ก่อน อย่าท้อ ! ต้องฉลาดฮึดสู้ ! ฉลาดแล้วจะให้เขาหลอกได้ยังไง กิเลสหลอกไม่ใช่มนุษย์อย่างเดียว หลอกยันเทวดาโน่นแหละ โดนหลอกหมด ใครจะเรียนรู้จบเมืองนอกมาก็ถูกหลอกทั้งนั้น กิเลสเป็นใหญ่จะรู้ได้ก็ คือ เรามาเรียนรู้อย่างนี้แหละ
ถ้าทำเท่าไหร่แล้วแก้ไม่ได้ก็เชื่อพระพุทธเจ้าได้ยากเหมือนกันนะ แต่ทำแล้วแก้ได้สำเร็จ ไม่ให้เชื่อก็ไม่ได้ เพราะมีเหตุผลอยู่ ฉะนั้น ความเชื่อตรงนี้ เป็นความเชื่อที่มีเหตุผลในตัวเอง ไม่ใช่เชื่อลอยๆ ทำแล้วตาลืมขึ้นมา ตาบอดกลับเป็นตาที่ดีได้ เราจะไม่เชื่อหมอยาได้อย่างไรว่า ยาของเขาดี เมื่อตาหายบอดแล้ว เราก็รู้คุณว่าใครเป็นผู้รักษา เราก็ต้องเคารพนับถือคนนั้น พื้นฐานของความเชื่อตรงนี้ เกิดจากผลภายในออกมาก่อน เป็นผลออกมาให้เห็นอีกทีหนึ่ง จึงเชื่อในพระรัตนตรัย ถ้ายังเข้าไม่ถึงใจดวงนี้ แม้ใครจะถือศีลมาฟังธรรมมากมายขนาดไหน ก็ยังเข้าไม่ถึงพระรัตนตรัยเป็นเพียงผิวเผินเท่านั้น การเข้าถึงใจ คือ พระอริยบุคคลเบื้องต้นขึ้นไป มีญาณออกมา คือ ตาในเปิดก่อน ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้ว มีดวงตาเห็นธรรม จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ตาหายบอดแล้วจึงจะเข้าใจ
ถ้าเราเอาจิตยืนตรงนี้แล้วคิดอะไรก็คอยดับ คิดอะไรก็รู้ รู้แล้วก็ดับ จะค้นหาสาเหตุก็ไม่พบ การที่ไม่เน้นความเห็นแจ้งขันธ์ ๕ ไปไม่รอด จุดสำคัญ อยู่ที่การเห็นแจ้งตัวเองอย่างเดียว ถ้าเห็นแจ้งตัวจะพบว่าสาเหตุมาจากอุปาทานนั่นเอง อุปาทานไม่ได้หมายถึง อุปาทานข้างนอก แต่เป็นอุปาทานข้างในจิต อันเกิดสาเหตุของอุปาทานข้างนอก เพราะข้างนอกมาจากข้างใน ทำลายข้างในข้างนอกก็หายเอง ทำลายที่รากใบก็เหี่ยวแห้งเอง แต่ทำลายที่ใบ รากยังดีก็ไม่เหี่ยวแห้ง ทำลายต้นรากก็ไม่ตายงอกขึ้นมาได้อีก แต่ทำลายที่ราก ใบก็ตาย ต้นก็ตายเอง สาเหตุมาจากอุปาทานขันธ์ ๕ ข้างในนั่นเอง ข้างในเป็นปัจจัยให้ไปข้างนอกเป็นผลอันมีข้างในเป็นเหตุ เกิดแต่เหตุก็ทำให้แจ้งขันธ์ ๕ ปัญหาก็จบ
ปัญหา คือ ทำยากเท่านั้นเอง ไม่ยากอย่างไรก็ต้องยาก ไม่งั้นกิเลสหลอกมนุษย์ไม่ได้หรอก มนุษย์ฉลาดต้องยากๆ ไว้ก่อน อย่าท้อ ! ต้องฉลาดฮึดสู้ ! ฉลาดแล้วจะให้เขาหลอกได้ยังไง กิเลสหลอกไม่ใช่มนุษย์อย่างเดียว หลอกยันเทวดาโน่นแหละ โดนหลอกหมด ใครจะเรียนรู้จบเมืองนอกมาก็ถูกหลอกทั้งนั้น กิเลสเป็นใหญ่จะรู้ได้ก็ คือ เรามาเรียนรู้อย่างนี้แหละ
ถ้าทำเท่าไหร่แล้วแก้ไม่ได้ก็เชื่อพระพุทธเจ้าได้ยากเหมือนกันนะ แต่ทำแล้วแก้ได้สำเร็จ ไม่ให้เชื่อก็ไม่ได้ เพราะมีเหตุผลอยู่ ฉะนั้น ความเชื่อตรงนี้ เป็นความเชื่อที่มีเหตุผลในตัวเอง ไม่ใช่เชื่อลอยๆ ทำแล้วตาลืมขึ้นมา ตาบอดกลับเป็นตาที่ดีได้ เราจะไม่เชื่อหมอยาได้อย่างไรว่า ยาของเขาดี เมื่อตาหายบอดแล้ว เราก็รู้คุณว่าใครเป็นผู้รักษา เราก็ต้องเคารพนับถือคนนั้น พื้นฐานของความเชื่อตรงนี้ เกิดจากผลภายในออกมาก่อน เป็นผลออกมาให้เห็นอีกทีหนึ่ง จึงเชื่อในพระรัตนตรัย ถ้ายังเข้าไม่ถึงใจดวงนี้ แม้ใครจะถือศีลมาฟังธรรมมากมายขนาดไหน ก็ยังเข้าไม่ถึงพระรัตนตรัยเป็นเพียงผิวเผินเท่านั้น การเข้าถึงใจ คือ พระอริยบุคคลเบื้องต้นขึ้นไป มีญาณออกมา คือ ตาในเปิดก่อน ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้ว มีดวงตาเห็นธรรม จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ตาหายบอดแล้วจึงจะเข้าใจ
ฉะนั้น
การเข้าใจก็ยากอยู่แล้ว ดวงตาเห็นธรรม คือ ตาในเปิดแล้วไม่เสื่อมไม่หาย เป็นดวงตาที่สว่างมาก ทีแรกไม่สว่าง
เป็นดวงตาที่มืด นานเข้าๆ เมื่อเห็นแจ้งตัวจิตสว่างไสวมาก มีแสงสว่างออกทั้งตัวแต่เป็นสิ่งที่รู้คนเดียว
เป็นปัจจัตตังรู้เห็นเฉพาะตน เทวดารู้ได้ มนุษย์ดวงตาหยาบจึงมองไม่เห็น แต่เจ้าตัวจะรู้ได้เอง ธรรมชาติของจิตที่เป็นสมาธิจะสว่างไสว
แม้ว่าเราจะไม่เห็นตัวแจ้งแค่จิตนิ่งเป็นสมาธิก็สว่างได้ แต่สว่างแบบไม่เห็นตัวเอง
จิตที่มีสติเห็นแจ้งขันธ์ ๕ แล้วจะกลายเป็นมหาสติ เกิดเป็นสมาธิสว่างไสว และเห็นตัวเองชัดแจ้งด้วย
ธรรมชาติของจิตที่สงบก็สว่างในตัวเองอยู่แล้ว การที่จิตเป็นสมาธิสว่างไสวจนคุ้นเคยก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา จิตเป็นสิ่งอัศจรรย์ แปลก ! เป็นของแก้ได้ ถ้าเราไม่มีความรู้ตรงนี้และถ้าไม่มีใครสอนในโลกนี้ รู้ไม่ได้เลย มนุษย์และเทวดาก็รู้ไม่ได้ ข้อสอบยากจะรู้เองได้อย่างไร ขนาดสอนให้รู้ยังไม่รู้เลย สอนทุกอย่างแต่ยังไม่รู้ ต้องมาฟังคนมาบรรยาย บรรยายก็ยังรู้ไม่ได้อีก แต่ยังพอเข้าใจก็ยังดี เห็นแจ้งแล้วตาในเปิดเป็นอันใช้ได้ ถึงแม้คนนั้นจะไม่เรียนกัมมัฏฐานไม่รู้ตัวหนังสือเลย ตาในเขาเปิด เขาก็เห็นได้ก็จบ แม้ว่าจะไม่รู้เรื่องอภิธรรม ธรรมะที่ลึกซึ้งแต่ตาในเขาเปิดได้ แม้แต่อ่านหนังสือก็ไม่ออก หากตาในเปิดแล้วก็รู้จริงแท้ ถึงจะไม่รู้ภาษาธรรมะ แต่เขารู้จริง ตาเขาหายบอดได้ เป็นนามธรรมเป็นเรื่องของใจ
การบัญญัติคำสอนก็มาจากตรงนั้นอีกทีหนึ่ง เป็นภาษาหนังสือ ภาษาธรรมจริงๆ แล้วเป็นนามธรรม คนที่เรียนรู้ธรรมะมากมาย แต่ไม่มีตรงนี้ไม่ชื่อว่ารู้ บางคนคิดว่าคนรู้มากๆปฏิบัติธรรมจะได้ดีกว่าคนที่ไม่รู้มาก แต่พอรู้ คนรู้มาก รู้น้อย อยู่ที่การเข้าใจต่างหาก เช่น หมอกับชาวนาเป็นไข้หวัดเหมือนกัน เอายาพาราเซตามอลไปทาน หมอรู้มากกับชาวนารู้น้อยทานยาเท่ากันเป็นยาอย่างเดียวกัน หมอรู้มากหายเร็วกว่าหรือชาวนารู้น้อยหายช้ากว่า มันไม่เกี่ยว ! หมอรู้มากก็หายเท่ากับชาวนาที่รู้น้อย ความรู้เป็นแค่ส่วนประกอบ ธรรมชาติร่างกายเป็นอย่างอันเดียวกัน ป่วยไข้อย่างเดียวกัน ฉะนั้น พระภิกษุไปขอธรรมะหรือกัมมัฏฐานจากพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงแสดงว่า อะไรเป็นขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เรา จงทำให้แจ้ง ให้เบื่อหน่ายว่า นั่นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ก็ให้ไปทำกัมมัฏฐาน ๕ คือ เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ ทำให้เห็นแจ้งขันธ์ ๕ รู้ตรงนี้ก็คือรู้ความจริงหมดแล้ว การเข้าไปรู้จะทำให้เข้าใจ แม้ไม่รู้หนังสือก็สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้ การรู้หนังสือดีๆอาจไม่พ้นทุกข์ เพราะรู้มากเกินจนเอาอะไรเป็นหลักไม่ได้ รู้มากเกินแต่ความเป็นจริงไม่ปรากฏ ความรู้กลายเป็นสัญญาคือ ความจำก็ไปไม่รอด
เพศฆราวาสมองดูริบหรี่เพราะไม่มีเวลาทำได้มากพอ พระภิกษุก็ทำได้ยากเพราะใหม่ๆ สมาธิคอยจะเสื่อมอยู่เรื่อยๆ เมื่อบารมีของโสดาบันมากพอ การครองเรือนไม่ใช่การครองเรือนแล้ว จะยินดีอยู่ในการครองเรือนนั้นไม่ใช่ ต้องพร้อมที่จะออกทุกเมื่อด้วย เพราะว่าภายในบ่งบอกถึงราคะ โทสะ โมหะ จางคลายออกทุกขณะ สมัยพุทธกาลนางวิสาขาหรือคนอื่นๆที่เป็นฆราวาสบรรลุธรรม ส่วนมากจะเป็นไปตามที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาเอาไว้ ความปรารถนานั้นค้ำเอาไว้ ไม่เช่นนั้นคนนั้นออกบวชแน่ ความปรารถนามีอยู่แล้ว แต่ตั้งความปรารถนาไว้ตรงนั้นก็เป็นไปตามนั้น ถ้าบวชก็ไม่ใช่มหาอุบาสิกา ตำแหน่งนี้ก็ต้องหลุดไป ดังนั้น ตำแหน่งนี้ก็ต้องอยู่ เมื่อได้ตั้งความปรารถนาไว้แล้วอย่างนั้น จึงเป็นเฉพาะรายเท่านั้นเอง จริงๆแล้วไม่มีใครอยู่เลย จะไหลไปตามกระแส เพราะว่าตรงนี้ลงกระแสแล้ว จะไหลตามคอยจะออกให้พ้นจากทุกข์
ธรรมชาติของจิตที่สงบก็สว่างในตัวเองอยู่แล้ว การที่จิตเป็นสมาธิสว่างไสวจนคุ้นเคยก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา จิตเป็นสิ่งอัศจรรย์ แปลก ! เป็นของแก้ได้ ถ้าเราไม่มีความรู้ตรงนี้และถ้าไม่มีใครสอนในโลกนี้ รู้ไม่ได้เลย มนุษย์และเทวดาก็รู้ไม่ได้ ข้อสอบยากจะรู้เองได้อย่างไร ขนาดสอนให้รู้ยังไม่รู้เลย สอนทุกอย่างแต่ยังไม่รู้ ต้องมาฟังคนมาบรรยาย บรรยายก็ยังรู้ไม่ได้อีก แต่ยังพอเข้าใจก็ยังดี เห็นแจ้งแล้วตาในเปิดเป็นอันใช้ได้ ถึงแม้คนนั้นจะไม่เรียนกัมมัฏฐานไม่รู้ตัวหนังสือเลย ตาในเขาเปิด เขาก็เห็นได้ก็จบ แม้ว่าจะไม่รู้เรื่องอภิธรรม ธรรมะที่ลึกซึ้งแต่ตาในเขาเปิดได้ แม้แต่อ่านหนังสือก็ไม่ออก หากตาในเปิดแล้วก็รู้จริงแท้ ถึงจะไม่รู้ภาษาธรรมะ แต่เขารู้จริง ตาเขาหายบอดได้ เป็นนามธรรมเป็นเรื่องของใจ
การบัญญัติคำสอนก็มาจากตรงนั้นอีกทีหนึ่ง เป็นภาษาหนังสือ ภาษาธรรมจริงๆ แล้วเป็นนามธรรม คนที่เรียนรู้ธรรมะมากมาย แต่ไม่มีตรงนี้ไม่ชื่อว่ารู้ บางคนคิดว่าคนรู้มากๆปฏิบัติธรรมจะได้ดีกว่าคนที่ไม่รู้มาก แต่พอรู้ คนรู้มาก รู้น้อย อยู่ที่การเข้าใจต่างหาก เช่น หมอกับชาวนาเป็นไข้หวัดเหมือนกัน เอายาพาราเซตามอลไปทาน หมอรู้มากกับชาวนารู้น้อยทานยาเท่ากันเป็นยาอย่างเดียวกัน หมอรู้มากหายเร็วกว่าหรือชาวนารู้น้อยหายช้ากว่า มันไม่เกี่ยว ! หมอรู้มากก็หายเท่ากับชาวนาที่รู้น้อย ความรู้เป็นแค่ส่วนประกอบ ธรรมชาติร่างกายเป็นอย่างอันเดียวกัน ป่วยไข้อย่างเดียวกัน ฉะนั้น พระภิกษุไปขอธรรมะหรือกัมมัฏฐานจากพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงแสดงว่า อะไรเป็นขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เรา จงทำให้แจ้ง ให้เบื่อหน่ายว่า นั่นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ก็ให้ไปทำกัมมัฏฐาน ๕ คือ เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ ทำให้เห็นแจ้งขันธ์ ๕ รู้ตรงนี้ก็คือรู้ความจริงหมดแล้ว การเข้าไปรู้จะทำให้เข้าใจ แม้ไม่รู้หนังสือก็สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้ การรู้หนังสือดีๆอาจไม่พ้นทุกข์ เพราะรู้มากเกินจนเอาอะไรเป็นหลักไม่ได้ รู้มากเกินแต่ความเป็นจริงไม่ปรากฏ ความรู้กลายเป็นสัญญาคือ ความจำก็ไปไม่รอด
เพศฆราวาสมองดูริบหรี่เพราะไม่มีเวลาทำได้มากพอ พระภิกษุก็ทำได้ยากเพราะใหม่ๆ สมาธิคอยจะเสื่อมอยู่เรื่อยๆ เมื่อบารมีของโสดาบันมากพอ การครองเรือนไม่ใช่การครองเรือนแล้ว จะยินดีอยู่ในการครองเรือนนั้นไม่ใช่ ต้องพร้อมที่จะออกทุกเมื่อด้วย เพราะว่าภายในบ่งบอกถึงราคะ โทสะ โมหะ จางคลายออกทุกขณะ สมัยพุทธกาลนางวิสาขาหรือคนอื่นๆที่เป็นฆราวาสบรรลุธรรม ส่วนมากจะเป็นไปตามที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาเอาไว้ ความปรารถนานั้นค้ำเอาไว้ ไม่เช่นนั้นคนนั้นออกบวชแน่ ความปรารถนามีอยู่แล้ว แต่ตั้งความปรารถนาไว้ตรงนั้นก็เป็นไปตามนั้น ถ้าบวชก็ไม่ใช่มหาอุบาสิกา ตำแหน่งนี้ก็ต้องหลุดไป ดังนั้น ตำแหน่งนี้ก็ต้องอยู่ เมื่อได้ตั้งความปรารถนาไว้แล้วอย่างนั้น จึงเป็นเฉพาะรายเท่านั้นเอง จริงๆแล้วไม่มีใครอยู่เลย จะไหลไปตามกระแส เพราะว่าตรงนี้ลงกระแสแล้ว จะไหลตามคอยจะออกให้พ้นจากทุกข์
ตัวเราเปื้อนของสกปรกเน่าเหม็นแล้วเรามาชำระล้างยังไม่หมด
จะพอใจหรือ? เมื่อยังมีกลิ่นเน่าเหม็น
หรือเราป่วยไข้แล้ว หาย ๘๐% อีก ๒๐% ขยักไว้ก่อน
จะทำอย่างนั้นหรือ? คนๆ นั้น ก็ยังไม่สบายใจ มีมากก็ทุกข์มาก
มีน้อยก็ทุกข์น้อย อยากให้ไข้หายหมด ฉะนั้น ตรงนั้นเขาก็ไม่อยากหยุดหรอก เหมือนเราทานข้าวไปแล้วไม่ทานให้อิ่มเหลือไว้ก่อน
จะไม่กินให้อิ่มเลยหรือ?
ฉันใดก็เหมือนกับคนที่เข้าไปเห็นตัวแจ้งแล้ว เขาก็อยากจะพ้นทุกข์ เพราะเขาเบื่อ คนที่ตั้งความปรารถนาก็จะค้ำเอาไว้ก็เป็นรายๆไป
ส่วนมากจะไม่อยู่ เพศฆราวาสเป็นเพศที่ทำได้ยาก ถูกโซ่ตรวนตรึงเอาไว้มาก
แต่ไม่เป็นไรทำอย่างไรได้เราสร้างมาแล้ว
ต้องมองไปพิจารณาไปแล้วคำถามคำตอบจะมีในตัวเราเอง แล้วก็จะมองหาทางเอง ขอให้ข้างในทำไปมากขึ้น
ไต่เต้าขึ้นไปเรื่อยๆ ตามกำลังแล้ว เขาจะมองความเหมาะสมเอง
เขามองว่าทางเส้นเก่านั้นเป็นทางที่ลุ่มหลง เป็นความไม่รู้แจ้ง เพราะตัวเองหลงมาก่อน แล้วก็พิจารณาว่า ถ้าตัวของเราทั้งหมดไม่เที่ยง เป็นของไม่มีตัวตนที่แท้จริง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราก็ดี ซึ่งเป็นประตูทางออกของจิตดวงนี้ เมื่อตัวทั้งตัวไม่เที่ยง ประตูเหล่านี้จะเที่ยงได้อย่างไร เขาจะเคลียร์เรื่องหูเรื่องตาไปด้วย เขาจะเคลียร์ขันธ์ ๕ อายตนะ ถ้าอย่างนั้นเรามีชีวิตอยู่ ตัวทั้งหมดก็เป็นของไม่เที่ยง ญาณทั้งหมดปรากฏเป็นพยานในตัวเอง ตัวเรามีอยู่ก็จริงตัวเราไม่เที่ยงก็จริง เราทำงานอยู่เรายังไม่ตาย แล้วจะหาทางออกหรืออุบายออกอย่างไรในสิ่งเหล่านี้ จิตจะมองเห็นชัดว่า ตาไม่เที่ยงจะเห็นลูกตาวิ่งไปวิ่งมา ญาณจะเป็นผู้บอก เพราะตาในเห็นแจ้งแล้วว่า ของสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เขาก็จะเห็นชัดเจนว่าตานี้ไม่เที่ยงจริงๆเมื่อไม่เที่ยง สุขทุกข์อันใดที่อาศัยตาวิ่งออกประตูทางจิตจะเที่ยงได้อย่างไร ความสุขความทุกข์อันนั้น ก็เป็นของว่างเปล่า
เมื่อตาว่างเปล่าความสุขความทุกข์ก็ว่างเปล่า อุบายออกจากตาคือว่า ถ้าอย่างนั้นตาทำงานไปแต่จิตอย่าออกจากตาเลย เพราะออกไปก็เท่ากับจิตหลงโลก คือ อวิชชานั่นเอง ทางที่ดีก็คือ จงละจิตนั้นออกจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจปิดลง จิตพิจารณาถึงความถูกต้องแล้ว ตาสักแต่ว่าตา หูสักแต่ว่าหูก็เกิดขึ้น เหมือนบ้านเรามีประตูอยู่ ๖ ประตู แต่เปิดประตูไว้ประตูเดียวคือใจ แต่จิตเราก็ไม่ออกโดยอาศัยประตู ประตูก็เหมือนหน้าต่างมองเห็นสิ่งต่างๆทางหน้าต่าง แต่จิตเราจะไม่ออกไป
เขามองว่าทางเส้นเก่านั้นเป็นทางที่ลุ่มหลง เป็นความไม่รู้แจ้ง เพราะตัวเองหลงมาก่อน แล้วก็พิจารณาว่า ถ้าตัวของเราทั้งหมดไม่เที่ยง เป็นของไม่มีตัวตนที่แท้จริง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราก็ดี ซึ่งเป็นประตูทางออกของจิตดวงนี้ เมื่อตัวทั้งตัวไม่เที่ยง ประตูเหล่านี้จะเที่ยงได้อย่างไร เขาจะเคลียร์เรื่องหูเรื่องตาไปด้วย เขาจะเคลียร์ขันธ์ ๕ อายตนะ ถ้าอย่างนั้นเรามีชีวิตอยู่ ตัวทั้งหมดก็เป็นของไม่เที่ยง ญาณทั้งหมดปรากฏเป็นพยานในตัวเอง ตัวเรามีอยู่ก็จริงตัวเราไม่เที่ยงก็จริง เราทำงานอยู่เรายังไม่ตาย แล้วจะหาทางออกหรืออุบายออกอย่างไรในสิ่งเหล่านี้ จิตจะมองเห็นชัดว่า ตาไม่เที่ยงจะเห็นลูกตาวิ่งไปวิ่งมา ญาณจะเป็นผู้บอก เพราะตาในเห็นแจ้งแล้วว่า ของสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เขาก็จะเห็นชัดเจนว่าตานี้ไม่เที่ยงจริงๆเมื่อไม่เที่ยง สุขทุกข์อันใดที่อาศัยตาวิ่งออกประตูทางจิตจะเที่ยงได้อย่างไร ความสุขความทุกข์อันนั้น ก็เป็นของว่างเปล่า
เมื่อตาว่างเปล่าความสุขความทุกข์ก็ว่างเปล่า อุบายออกจากตาคือว่า ถ้าอย่างนั้นตาทำงานไปแต่จิตอย่าออกจากตาเลย เพราะออกไปก็เท่ากับจิตหลงโลก คือ อวิชชานั่นเอง ทางที่ดีก็คือ จงละจิตนั้นออกจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจปิดลง จิตพิจารณาถึงความถูกต้องแล้ว ตาสักแต่ว่าตา หูสักแต่ว่าหูก็เกิดขึ้น เหมือนบ้านเรามีประตูอยู่ ๖ ประตู แต่เปิดประตูไว้ประตูเดียวคือใจ แต่จิตเราก็ไม่ออกโดยอาศัยประตู ประตูก็เหมือนหน้าต่างมองเห็นสิ่งต่างๆทางหน้าต่าง แต่จิตเราจะไม่ออกไป
อุบายออก
คือ ไม่ออกจากประตู เพราะประตูนั้นก็ไม่เที่ยง
ใช้ประตูแต่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของประตู “เราใช้หูใช้ตาทำงานไป แต่จิตไม่ได้ออกหู
ออกตา จิตดวงนั้นก็สงบระงับ” เคลียร์เรื่องหูเรื่องตาสำเร็จ ทั้งๆที่ตาก็มีอยู่ หูก็มีอยู่
ยังมีชีวิตอยู่ ตา หู มีเหมือนไม่มี
จิตนั้นดับสนิทไม่ได้ออกจากหูจากตานั้น
แต่ก็ทำงานได้โดยที่จิตไม่วิ่งออกจากตา
เหมือนคนชะโงกหน้าต่าง แต่ต้องไม่ออกทางหน้าต่าง ทำประตูให้เป็นหน้าต่างไปเลย ถ้าอย่างนี้จนมุมแน่ๆ จิตจนมุมแล้ว จิตยอมรับในตัวเอง จิตยอมหยุดเอง
เพราะมีความเห็นถูก
ความเห็นถูก
เป็นเครื่องทำให้เขาเกิดความเข้าใจใหม่
เปลี่ยนระบบความเห็นใหม่ออกมาแล้ว จิตจะเป็นไปตามความเห็นนั้น
จิตเองก็อยากจะดีเมื่อไปพบทางถูกก็จะดีได้ โดยที่เขาจะเห็นโทษว่า เขาเดินทางผิดเขาหลงโลก จิตคนนั้นจะเป็นจิตที่สงบระงับถาวรจริงๆ
เคลียร์เรื่องหูเรื่องตาเสร็จ ทั้งที่ยังไม่ตายก็เหมือนตายแล้ว ไม่เป็นคนหลงโลก จิตคนนั้นจะเป็นจิตที่สงบระงับถาวรจริงๆ
เคลียร์เรื่องหูเรื่องตาเสร็จ ทั้งที่ยังไม่ตายเหมือนตายแล้ว คนนั้นจะเป็นหนึ่งเดียวในโลกนี้ โดยที่ไม่ต้องมีความคิดอะไร คนนั้นสงบระงับเป็นสมาธิทั้งวัน เมื่ออบรมบริบูรณ์แล้วในที่สุดไม่ต้องทำความเพียรเลย ผลนั้นก็ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอัตโนมัติ นี่คือ
ความบริบูรณ์ของการอบรมจิต
ฉะนั้น ตรงนี้หายสิ้นสงสัย เราคาดหวังและปรารถนาว่า ขอให้จิตของเรามีความสงบอย่างเดียว เข้าสมาธิก็สงบ คลายจากสมาธิก็สงบ อยู่ในสภาวะใดๆ ก็สงบ บัดนี้ ความสงบนั้นเกิดขึ้นแล้วกับคนๆนี้ เขาจะไม่หวนกลับไปสู่สภาพเดิมๆ อย่างที่เคยเป็นมาก่อน จะไม่อยู่ในสภาพนั้นอีก จิตที่อบรมแล้วไม่สามารถฟื้นคืนไปสู่ภาวะเดิมๆอีก เขาเห็นโทษแล้วออกจากทางเดิมนั้น จิตไม่ท่องเที่ยวต่อไป คนนั้นจะเป็นชาติสุดท้าย จิตหลุดออกจากเครื่องพันธนาการ ออกจากอารมณ์น้อยใหญ่ เหลือแต่จิตดวงเดียวล้วนๆที่ไม่มีอะไรเจือปน จิตดวงนั้นจะมีอิสรภาพในตัวเอง ถึงที่สุดคือปล่อยวางโลกไว้ แล้วมองโลกอย่างชาญฉลาด
ฉะนั้น ตรงนี้หายสิ้นสงสัย เราคาดหวังและปรารถนาว่า ขอให้จิตของเรามีความสงบอย่างเดียว เข้าสมาธิก็สงบ คลายจากสมาธิก็สงบ อยู่ในสภาวะใดๆ ก็สงบ บัดนี้ ความสงบนั้นเกิดขึ้นแล้วกับคนๆนี้ เขาจะไม่หวนกลับไปสู่สภาพเดิมๆ อย่างที่เคยเป็นมาก่อน จะไม่อยู่ในสภาพนั้นอีก จิตที่อบรมแล้วไม่สามารถฟื้นคืนไปสู่ภาวะเดิมๆอีก เขาเห็นโทษแล้วออกจากทางเดิมนั้น จิตไม่ท่องเที่ยวต่อไป คนนั้นจะเป็นชาติสุดท้าย จิตหลุดออกจากเครื่องพันธนาการ ออกจากอารมณ์น้อยใหญ่ เหลือแต่จิตดวงเดียวล้วนๆที่ไม่มีอะไรเจือปน จิตดวงนั้นจะมีอิสรภาพในตัวเอง ถึงที่สุดคือปล่อยวางโลกไว้ แล้วมองโลกอย่างชาญฉลาด
ที่สุดแล้วการปฏิบัติ
คือ การปล่อยวาง หมายถึง การปล่อยวางอารมณ์ของโลกออกไปจากจิต แล้วจิตไม่ต้องเข้าไปหาอารมณ์อีก
จึงเป็นการปล่อยวางที่ถูกต้อง
การปล่อยวางนี้ยั่งยืนถาวรในตัวเอง
บางคนว่า คิดอะไรก็คิดไป แล้วก็ปล่อยวาง ไม่ต้องไปสนใจ อย่าไปใส่ใจ
อย่าไปทุกข์กับสิ่งนั้นมาก อันนั้นไม่ใช่การปล่อยวาง
แต่เข้าใจว่าตนเองปล่อยวาง แท้จริงไม่ปล่อยวางเลย การคิดแล้ว เกิดแล้วดับก็ไม่พ้นความปรุงแต่ง
เกิดๆ ดับๆ ไม่มีที่สิ้นสุด แต่คนที่อบรมจิตดับอารมณ์ได้โดยที่ไม่มีเกิดเลย
เป็นจิตหนึ่งเดียวตลอดเวลา อารมณ์ที่จิตวิ่งไปข้างนอกไม่มีเลย ไม่มีอารมณ์ นั่นคือ คนปล่อยวางแท้ๆ เป็นคนไม่คิด อดีตไม่มี
ปัจจุบันก็ไม่คิด เป็นได้อย่างไร
เห็นตัวจบแน่ๆ ไม่เห็นจบไม่ลง
“ข้อสอบนี้ยาก ไม่เช่นนั้นจะขังมนุษย์ได้อย่างไร แค่รู้ไม่ได้ ต้องเห็นจึงจะจบ” การเห็นเลือนรางตอนเริ่มต้นเท่านั้น แต่เมื่อเห็นแล้วตาในเห็นชัดยิ่งกว่าตาเนื้ออีก ไม่ได้อยู่ที่คนสูงอายุแล้วเห็นไม่ค่อยชัด ไม่เกี่ยวกับสายตา จิตรู้จิตเห็นมีค่าเท่ากันสว่างอย่างเดียว ฆราวาสทำได้ยากมากเพราะไม่มีเวลาพอ เพศสมณะหรือบรรพชิตเกิดขึ้นด้วยเหตุอันบำเพ็ญเพียรด้วยยากนี้ การเป็นพระจึงอุบัติขึ้นด้วยเหตุนี้ การอบรมจิตต้องทำตลอด ๒๔ ชั่วโมง ไม่ให้ว่างเลย พระสงฆ์จึงเป็นเพศที่บังคับให้ทำอย่างนี้โดยตรง ผู้ที่ไม่มีเวลาบวช หรือไม่ได้บวชไม่เป็นไร แต่จะมีเวลาทำอย่างนี้ได้หรือไม่เท่านั้นเอง
“ข้อสอบนี้ยาก ไม่เช่นนั้นจะขังมนุษย์ได้อย่างไร แค่รู้ไม่ได้ ต้องเห็นจึงจะจบ” การเห็นเลือนรางตอนเริ่มต้นเท่านั้น แต่เมื่อเห็นแล้วตาในเห็นชัดยิ่งกว่าตาเนื้ออีก ไม่ได้อยู่ที่คนสูงอายุแล้วเห็นไม่ค่อยชัด ไม่เกี่ยวกับสายตา จิตรู้จิตเห็นมีค่าเท่ากันสว่างอย่างเดียว ฆราวาสทำได้ยากมากเพราะไม่มีเวลาพอ เพศสมณะหรือบรรพชิตเกิดขึ้นด้วยเหตุอันบำเพ็ญเพียรด้วยยากนี้ การเป็นพระจึงอุบัติขึ้นด้วยเหตุนี้ การอบรมจิตต้องทำตลอด ๒๔ ชั่วโมง ไม่ให้ว่างเลย พระสงฆ์จึงเป็นเพศที่บังคับให้ทำอย่างนี้โดยตรง ผู้ที่ไม่มีเวลาบวช หรือไม่ได้บวชไม่เป็นไร แต่จะมีเวลาทำอย่างนี้ได้หรือไม่เท่านั้นเอง
ที่จริงประตูนั้นไม่ได้ปิด เปิดอยู่เสมอ
แต่ฆราวาสพะรุงพะรังด้วยภาระ เขาไม่สามารถจะลากโซ่ตรวนนั้นออกให้ตัวเองไปสู่ประตูนั้นได้
พระพุทธองค์ทรงออกผนวชเพราะทรงเห็นว่าเพศฆราวาสเป็นเพศที่มากด้วยธุลี ไม่ปลอดโปร่งเหมือนเพศสมณะ
จริงๆ แล้ว การทำความเพียรไม่ได้หยุดเลย เมื่อบวชเป็นพระแล้วไม่ทำอย่างนี้ก็สำเร็จประโยชน์ไม่ได้
การทำความเพียรต้องต่อเนื่องตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน
ไม่รู้กี่ปีก็ตาม ทำความเพียรต่อเนื่องกัดไม่ปล่อย คนนั้นจึงจะเห็นผลแค่วันหนึ่งทำเกิน ๑๒ ชั่วโมง
แล้วจะเอาอะไรกิน หากไม่ทำอย่างนั้นสมาธิจะเสื่อม
ถ้าทำไม่มากพอเหมือนกับเราหาเงินมาร้อยบาทแล้วเมื่อไหร่จะได้เก็บ ต้องจ่ายครั้งละน้อยๆ จึงจะได้เก็บเป็นก้อนโตได้
เหมือนกันจิตที่คอยจะสร้างข้างในให้เกิด
แล้วคอยจะส่งจิตออกนอกก็จะล้างความเห็นตัวเองออกอีก
ดึงกันไปดึงกันมาผลสุดท้ายไม่ได้อะไรสักอย่าง
ไม่เป็นไรออกบวชหรือไม่ ฟังไว้ก่อน
แล้วชีวิตของเราจะหาทางแก้ปัญหาของตัวเองได้
ทำให้ได้ก่อนเดี๋ยวขยับฐานะไปเอง
วันนี้ จิตบอกขอหยุดงานสักวัน ขอหยุดคิด เพราะคิดมานานแล้ว จิตไม่ได้บอกอย่างนั้น จิตคิดมานานแล้ว
คิดมาโดยตลอด และจะคิดอย่างเดียว ไม่ว่าวันพระ
วันโกน ไม่ว่าวันไหนๆ ถ้าเป็นนักปฏิบัติจริงแล้ว กัดไม่ปล่อย จนกว่าจะถึงที่สุด แล้วทางไม่ใช่ราบรื่นอย่างที่อธิบาย
กิเลสมีอำนาจอยู่เต็มหัวใจเหมือนหนูสู้กับช้าง
แต่ถ้าหนูโตเท่าช้างได้เมื่อไหร่ ช้างก็ช้างเถอะ โค่นอำนาจได้
เราเริ่มจากศูนย์เลยที่จะสู้เขา แต่กัดไม่ปล่อยล้มช้างได้
โค่นระบบเดิมจัดระบบใหม่มีอำนาจเอง ไม่ขึ้นต่อใคร เป็นการล้างระบบเก่าออกจากใจให้หมด
คิดหรือว่างานจะเล็กน้อย กิเลสไม่ใช่ครอบงำแต่มนุษย์เท่านั้น
ไม่เว้นแม้แต่เทวดา อินทร์ พรหม ก็ถูกครอบงำด้วย ถ้าอำนาจกิเลสไม่มาก จะปิดตามนุษย์ได้อย่างไร
มนุษย์ฉลาดหากกิเลสไม่ฉลาดพอ จะหลอกมนุษย์ได้อย่างไร หลอกมนุษย์จนมึนงง หาทางออกไม่ได้
เรายังคิดว่าเราฉลาด ถ้าไม่มีคำสอนพระพุทธเจ้าไม่ต้องพูดถึงเลย
แม้มีคำสอนก็ยังรู้ตามไม่ได้ ไม่มีคำสอนพระพุทธองค์จะรู้ได้หรือ?
บางครั้งครูบาอาจารย์สอนหรือใครสอน แต่เวลาฝึกทำ ต้องทำทุกอย่าง ต้องหาทางทำให้ได้ ยังไม่มีใครสอนละเอียดลอออย่างนี้เลย
ต้องทำให้มีผลออกมา จำเป็นต้องทำ เชื่อมากก็ไม่ดี
ไม่เชื่อก็ไม่ดี เวลาทำต้องทำทุกอย่างเพื่อเอาตัวรอด
อันไหนที่เราจะได้เปรียบเราทำไว้ก่อน ทำแล้วจิตที่ถูกอบรมดีแล้ว โค่นอำนาจกิเลสได้
การประพฤติปฏิบัติอย่างไรก็แล้วแต่
จิตไม่เป็นหนึ่งตลอดกาลถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่ใช่ที่สุด แต่ถ้ากิเลสหมดได้ ใครจะบอกว่าผิด กิเลสราคะ ความเป็นหญิงเป็นชาย
ความยินดีราคะทำให้หมดได้ตาลืมๆ นี่แหละไม่ใช่ว่าตาหลับ เกินมนุษย์แล้วที่จะเป็นได้ จิตไม่ให้ปรุงแต่งเกินมนุษย์แล้ว
แต่ทำได้ ถ้าทำถูก ถูกผิดอยู่ที่ไหน? ไม่รู้ ดูผลที่ออกมาเป็นจริงดีกว่า ถ้าทำแล้วจะพบว่ากิเลสหมดได้ด้วยกัมมักฐาน
๕ อบรมจิตทำได้ยากต้องอดทนทำความเพียรเดินจงกรม
ถ้ายืดออกเป็นเส้นคงรอบโลกหลายรอบแล้ว แทบจะเดินวนรอบโลกได้เลย
สู้ด้วยลำแข้งของตัวเองนั่นแหละ นั่งๆ อยู่ไม่ใช่ว่าจะสบาย หลับน้อย นอนน้อย
กินก็น้อย สู้แต่เรื่องอารมณ์ อย่างอื่นหนักวางได้ อารมณ์หนักจะวางตรงไหน? ใจก็ต้องหาที่วางให้ได้ก็ถึงที่สุดทุกข์ได้ ถ้าอบรมจิตบริบูรณ์แล้ว ไม่ต้องทำความเพียรก็ไม่มีแปรสภาพ ผลนั้นยั่งยืนจริง ๆ เป็นสมาธิที่หนึ่งเดียวตลอดกาล เราต้องการอย่างนั้นไม่ใช่หรือ?
ความปรุงแต่งทำอะไรไม่ได้เลย
เพราะไม่มีภาพอะไรที่จะเกิดขึ้นมีในจิตเลย ภาพที่จิตถูกนึกขึ้นมาถูกทำลายหมด นึกไม่เป็น
เห็นแต่ตัวเอง เปลี่ยนระบบจากบวกเป็นลบเลย จากหน้ามือเป็นหลังมือเลย แล้วจิตจะอยู่อีกตำแหน่งหนึ่ง ความเห็นของโลกนั่นวางไว้ ตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ถูกชำระหมดเลย
มีสภาพเหมือนของใช้เหมือนเราเปิดไฟหน้ารถ มีหน้าที่ส่องก็ส่องไฟออกไป ใช้เป็นเครื่องมองได้
แต่จิตไม่ออกข้างนอก ไม่ใช่เป็นทาสกิเลส แต่เป็นนายเขาอีกทีหนึ่ง แต่เมื่อก่อนเราเป็นทาสกิเลสมาโดยตลอด
ที่สุดจิตดวงนี้จะเงียบเป็นจิตที่สงบโดยสมัครใจ สงบโดยการยอมรับของจิตเองว่า ต้องการทำอย่างนี้
เราจึงไม่มีปัญหาในการอบรมจิต เมื่อจิตถูกอบรมแล้วก็เป็นอันจบ แต่เมื่อก่อนยังไม่เห็นแจ้งขันธ์ ๕ บอกจิตอย่าคิดมาก
อย่าคิดในทางไม่ดี จิตไม่สนใจ เขาจะคิดอย่างเดียว
เราก็ทุกข์ใจอยากจะสงบ แต่จิตก็ออกไป จิตไม่ยอมรับเลย แต่อบรมจิตแล้วจิตยอมรับ เราจะบังคับหรือไม่บังคับ
จิตก็ยอมรับแล้วก็ไม่ออกไปข้างนอกไม่ต้องคุม สมาธิก็เป็นหนึ่งเดียว
เพราะจิตหายอยากที่จะเที่ยว
เบื่อแล้วก็วางโลกไว้ให้คนโลกทำกันไป เราก็มองดูเฉยๆ นั่นคือ ปล่อยวาง มองดูโลกโดยความเป็นโลก
วางโลกไว้ไม่เอาจิตไปเกลือกกลั้วกับโลก
คือ การปล่อยวางที่แท้จริง เป็นการปล่อยวางที่ถูกต้องแล้วก็จะไม่กลับไปอีก ถ้าอบรมไม่พอ บอกตรงๆ ว่ายาก
! บอกกันตรงๆ ไม่อำพรางกัน
ขี้เกียจขี้คร้านก็ไม่ได้ ขยันอยู่นั่นแหละ วันๆเดินจงกรมเจริญญาณ
นั่งสมาธิเจริญญาณ ไม่รู้กี่ปีก็ตามไม่ทิ้งงานนี้ กัดไม่ปล่อยจนกว่าชีวิตจะหาไม่นั่นแหละ
“การเห็นนิมิต คือ จิตสร้างขึ้นมาไม่ต้องไปสนใจ เห็นมากก็เรื่องมาก เขาไม่สนใจหรอก สนใจแต่การเห็นตัวเองอย่างเดียว” การเห็นตัวเองไม่ใช่นิมิต แต่เป็นอนิมิต เรียกว่า “อนิมิตสมาธิ” เป็นสมาธิที่หานิมิตไม่ได้ เป็นตัวเราเองที่จิตไม่ได้ออกไปไหน วนเวียนอยู่ในร่างกายของเรา แต่นิมิตอีกอย่างจิตคิดอยู่ข้างนอก เป็นสมาธิที่จิตนิ่ง แต่จิตเคลื่อนที่ออกไปรู้ข้างนอก จิตออกเที่ยวในรูปของนิมิต ไม่เป็นสมาธิจิตก็เที่ยวอยู่แล้ว เป็นสมาธิก็เที่ยว ตัวนิ่งได้แต่จิตออกเที่ยวได้ เที่ยวทั้งๆ ที่นิ่งๆ ลอยไปเป็นนิมิต แต่การเห็นตัวเองจิตอยู่กับตัวไม่ออกไป ไม่ไป ไม่มา การเห็นนี้เรียกว่า “ญาณทัสสนะ เป็นสัมมาญาณ” จะนำไปสู่ญาณทัสสนวิสุทธิ ไปสู่วิมุตติได้ในที่สุด คือ การรู้เห็นแจ้งขันธ์ ๕ เท่านั้น
สมาธิใดที่ไม่รู้แจ้งอย่างนี้ก็ไม่ดับ สงบแต่ก็ไม่สงัด จงรู้เถิดว่าสมาธิแบบสมถกัมมัฏฐานทำได้แค่นั้น วนไปวนมาหาทางออกไม่พบ ไม่เป็นการแก้ปัญหา ทำอย่างไรก็เหมือนอย่างนี้ไม่ได้ เป็นคนละที่กัน พระพุทธองค์ทรงออกบวชทีแรกไปเรียนกับท่านอาฬารดาบส และอุทกดาบส ก็ทำสมาธิให้จิตนิ่งแต่เมื่อคลายจากสมาธิก็กลับไปอย่างเดิมอีก ทางนี้ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ต้องมีทางอีกเส้นหนึ่งที่มีอยู่ผลในการดับทุกข์ได้ในที่สุด คือ การเจริญสติให้เกิดญาณทัสสนะ จิตถูกเก็บข้างในยึดไว้กับกาย แล้วต่อมาทำสมาธิแบบสมถกัมมัฏฐานให้บริบูรณ์ได้เป็นการเจริญฌานให้เกิดขึ้นภายหลัง ภิกษุนี้สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย กามก็ไม่เหลือแล้ว อกุศลก็ไม่มีเหลือแล้ว สมาธิจิตก็ไม่ออกนอกแล้ว ไม่ทำสมาธิแต่จิตไม่ออกเที่ยว สมาธิแบบสมถกัมมัฏฐานที่มาเจริญขึ้นภายหลังกลายเป็นสมาธิที่ชอบ การทำสมาธิทีแรกไม่ชอบ แต่เจริญสมาธิสมถกัมมัฏฐานทีหลังเป็นสมาธิชอบ มรรคมีองค์ ๘ จึงเอาสมาธิไว้ท้ายสุด คือ สัมมาสมาธิ
“การเห็นนิมิต คือ จิตสร้างขึ้นมาไม่ต้องไปสนใจ เห็นมากก็เรื่องมาก เขาไม่สนใจหรอก สนใจแต่การเห็นตัวเองอย่างเดียว” การเห็นตัวเองไม่ใช่นิมิต แต่เป็นอนิมิต เรียกว่า “อนิมิตสมาธิ” เป็นสมาธิที่หานิมิตไม่ได้ เป็นตัวเราเองที่จิตไม่ได้ออกไปไหน วนเวียนอยู่ในร่างกายของเรา แต่นิมิตอีกอย่างจิตคิดอยู่ข้างนอก เป็นสมาธิที่จิตนิ่ง แต่จิตเคลื่อนที่ออกไปรู้ข้างนอก จิตออกเที่ยวในรูปของนิมิต ไม่เป็นสมาธิจิตก็เที่ยวอยู่แล้ว เป็นสมาธิก็เที่ยว ตัวนิ่งได้แต่จิตออกเที่ยวได้ เที่ยวทั้งๆ ที่นิ่งๆ ลอยไปเป็นนิมิต แต่การเห็นตัวเองจิตอยู่กับตัวไม่ออกไป ไม่ไป ไม่มา การเห็นนี้เรียกว่า “ญาณทัสสนะ เป็นสัมมาญาณ” จะนำไปสู่ญาณทัสสนวิสุทธิ ไปสู่วิมุตติได้ในที่สุด คือ การรู้เห็นแจ้งขันธ์ ๕ เท่านั้น
สมาธิใดที่ไม่รู้แจ้งอย่างนี้ก็ไม่ดับ สงบแต่ก็ไม่สงัด จงรู้เถิดว่าสมาธิแบบสมถกัมมัฏฐานทำได้แค่นั้น วนไปวนมาหาทางออกไม่พบ ไม่เป็นการแก้ปัญหา ทำอย่างไรก็เหมือนอย่างนี้ไม่ได้ เป็นคนละที่กัน พระพุทธองค์ทรงออกบวชทีแรกไปเรียนกับท่านอาฬารดาบส และอุทกดาบส ก็ทำสมาธิให้จิตนิ่งแต่เมื่อคลายจากสมาธิก็กลับไปอย่างเดิมอีก ทางนี้ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ต้องมีทางอีกเส้นหนึ่งที่มีอยู่ผลในการดับทุกข์ได้ในที่สุด คือ การเจริญสติให้เกิดญาณทัสสนะ จิตถูกเก็บข้างในยึดไว้กับกาย แล้วต่อมาทำสมาธิแบบสมถกัมมัฏฐานให้บริบูรณ์ได้เป็นการเจริญฌานให้เกิดขึ้นภายหลัง ภิกษุนี้สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย กามก็ไม่เหลือแล้ว อกุศลก็ไม่มีเหลือแล้ว สมาธิจิตก็ไม่ออกนอกแล้ว ไม่ทำสมาธิแต่จิตไม่ออกเที่ยว สมาธิแบบสมถกัมมัฏฐานที่มาเจริญขึ้นภายหลังกลายเป็นสมาธิที่ชอบ การทำสมาธิทีแรกไม่ชอบ แต่เจริญสมาธิสมถกัมมัฏฐานทีหลังเป็นสมาธิชอบ มรรคมีองค์ ๘ จึงเอาสมาธิไว้ท้ายสุด คือ สัมมาสมาธิ
ดังในพระไตรปิฎกมีกล่าวไว้ว่า
“ภิกษุสงัดแล้วจากกาม
สงัดแล้วจากอกุศลทั้งหลาย ยังปฐมฌานให้เกิด ทุติยฌาน ตติยฌาน จนถึงจตุตถฌาน แล้วก็น้อมไปในเรื่องวิชชา ๓ รู้ชาติภพของตนเอง
รู้อิทธิวิธีต่างๆ” อันนี้อีกโซนหนึ่งแล้วมาจัดไว้สุดท้าย ทำสมาธิแบบสมถกัมมัฏฐานเป็นสมาธิแบบโลกีย์ ทำทีแรกก็เกิดได้แต่ละกิเลสไม่ได้ บางครั้งคนทำสมาธิจะไปรู้เห็นอย่างอื่นด้วย
รู้เห็นภพชาติของตนเอง รู้วาระจิตคนก็มี แต่รู้แล้วไปไม่รอด แต่ถ้ามารู้ทีหลังจะเป็นความรู้ที่สมบูรณ์ที่สุด
รู้ได้รอด และเป็นอาสวักขยญาณ(ความรู้ที่ทำกิเลสให้สิ้นไป)ด้วย
เรามาจัดลำดับใหม่ให้ถูกต้องสับไปสับมา การเจริญสมาธิภายหลังจึงเป็นสมาธิที่ชอบ มีการจัดระบบระเบียบใหม่แต่ต้องมีญาณออกมา
ญาณตัวนี้เกิดขึ้นเองไม่ได้ ความแปลกอยู่ที่การรู้แจ้งขันธ์
๕ โดยตรง คือ รู้อาการ ๓๒ ตรงนี้ไม่ทำไม่เห็น ถึงจะมีสมาธิดิ่งลึกมากก็ไม่เห็น
เพราะจะเป็นตัวรู้อย่างเดียว คือ จิตนิ่ง
จนสามารถนั่งสมาธิเป็นคืนเป็นวันได้ หรือหลายๆ วันได้
เมื่อคลายออกจากสมาธิจิตก็คิดเหมือนเดิม
ละกิเลสไม่ได้ เป็นสมาธิที่เข้าไปหลบอยู่
เพราะไม่ได้หันหน้าเข้าหาปัญหาและไม่ได้แก้ไข
การเจริญสติแล้วเห็นตัวแจ้งทำให้เกิดญาณ จิตถูกเก็บยึดไว้กับกาย จึงเป็นการเคลียร์ความคิด เคลียร์อารมณ์ออกได้ แล้วจึงเข้าสมาธิสมถกัมมัฏฐานภายหลัง การสะสางความคิด จิตรู้เห็นและยอมสารภาพว่าตัวเองผิด จึงเกิดการยอมรับของจิต เคลียร์ความคิด เคลียร์อารมณ์ออกหมด แล้วมาทำสมาธิสมถกัมมัฏฐานอีกทีหนึ่งก็ทำได้โดยไม่ยาก เพราะอารมณ์ถูกเคลียร์หมดจึงไม่ติดข้องในอารมณ์ ถ้าไม่เจริญญาณให้เกิดขึ้น จิตส่งออกนอกตลอด ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ถ้าเราไม่อบรมจิตให้เจริญญาณ ก็หาจุดจบไม่ลง
การฝึกจิตอบรมจิตนั้นฝึกอย่างเดิม แต่อิริยาบถเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่จิตไม่ได้เปลี่ยนการกระทำ ทำความเพียรใช้สติเจริญญาณให้เกิดขึ้น การปฏิบัติหรืออินทรีย์ของคนนั้นอยู่ระดับไหนก็จะทำตรงนั้นต่อ แม้การยืน เดิน นั่ง นอน ก็ทำอย่างเดิม
การที่วัดสังฆทานสอนให้เดินจงกรม ย่างหนอ เหยียดหนอ อบรมจิตพุทโธ เป็นการอบรมคนใหม่ เราจะทำตนเป็นคนใหม่อยู่ตลอดก็ไม่พัฒนาขึ้นเลย เขาต้องมีระเบียบออกมาให้ฝึกอย่างนี้ เพราะมีคนใหม่เข้ามาเรื่อยๆ นานาจิตตังก็ต้องยืนพื้นหลักนั้นไว้ ความจริงเราเรียนมาตั้งนานแล้ว ก็ต้องเปลี่ยนไปแล้วแต่รู้เฉพาะตัวเอง เราจะมาเปลี่ยนตรงนี้ไม่ได้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งที่จะต้องยืนไว้อย่างนี้ เราต้องรู้ด้วยตัวของเราเอง ไม่ใช่ยี่สิบปีก็พุทโธอยู่นั่น ไม่ไปไหนเลยยัง ก ไก่ ข ไข่ อยู่ คนมาใหม่เรื่อยๆ ก็ต้องยืนพื้นฐานของการฝึกไว้ เราต้องเข้าใจนี่บอกความลับให้ ต้องวิวัฒนาการไปแล้ว
การมองตัวเองไม่ได้หมายถึง การเพ่งอย่างเดียว จิตจะอยู่ไม่นาน สมมติว่าเราเลี้ยงเด็กซนๆ จับให้นิ่งบอกว่า อย่าไปไหน ให้อยู่ตรงนี้ เขาจะอยู่ได้แป๊บเดียว แล้วก็ยุกยิกๆ จะไปแล้ว ธรรมชาติของเขานิ่งไม่ได้ เพราะอยู่ในวัยกำลังซน จิตก็เหมือนกันบังคับให้เพ่งตรงนี้ อย่าไปไหน เพ่งอยู่แป๊บเดียวก็ไปแล้ว เราต้องมีอุบายเข้าไปสำทับอีกทีว่า ให้จิตมองเพ่งไปด้วย แล้วก็อารัมภบทไปด้วย หมายถึงว่าเราต้องพิจารณาเป็นท้องเรื่อง เรื่องใด เรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการกล่อมจิตให้คล้อยตาม จะเจริญสติให้เกิดญาณได้อย่างไม่เบื่อ ถ้าซ้ำซากจิตก็เบื่อ พอเริ่มเบื่อก็เปลี่ยนท้องเรื่องใหม่ ทำให้เกิดรสชาติทำไปได้เรื่อยๆ
การเจริญสติแล้วเห็นตัวแจ้งทำให้เกิดญาณ จิตถูกเก็บยึดไว้กับกาย จึงเป็นการเคลียร์ความคิด เคลียร์อารมณ์ออกได้ แล้วจึงเข้าสมาธิสมถกัมมัฏฐานภายหลัง การสะสางความคิด จิตรู้เห็นและยอมสารภาพว่าตัวเองผิด จึงเกิดการยอมรับของจิต เคลียร์ความคิด เคลียร์อารมณ์ออกหมด แล้วมาทำสมาธิสมถกัมมัฏฐานอีกทีหนึ่งก็ทำได้โดยไม่ยาก เพราะอารมณ์ถูกเคลียร์หมดจึงไม่ติดข้องในอารมณ์ ถ้าไม่เจริญญาณให้เกิดขึ้น จิตส่งออกนอกตลอด ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ถ้าเราไม่อบรมจิตให้เจริญญาณ ก็หาจุดจบไม่ลง
การฝึกจิตอบรมจิตนั้นฝึกอย่างเดิม แต่อิริยาบถเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่จิตไม่ได้เปลี่ยนการกระทำ ทำความเพียรใช้สติเจริญญาณให้เกิดขึ้น การปฏิบัติหรืออินทรีย์ของคนนั้นอยู่ระดับไหนก็จะทำตรงนั้นต่อ แม้การยืน เดิน นั่ง นอน ก็ทำอย่างเดิม
การที่วัดสังฆทานสอนให้เดินจงกรม ย่างหนอ เหยียดหนอ อบรมจิตพุทโธ เป็นการอบรมคนใหม่ เราจะทำตนเป็นคนใหม่อยู่ตลอดก็ไม่พัฒนาขึ้นเลย เขาต้องมีระเบียบออกมาให้ฝึกอย่างนี้ เพราะมีคนใหม่เข้ามาเรื่อยๆ นานาจิตตังก็ต้องยืนพื้นหลักนั้นไว้ ความจริงเราเรียนมาตั้งนานแล้ว ก็ต้องเปลี่ยนไปแล้วแต่รู้เฉพาะตัวเอง เราจะมาเปลี่ยนตรงนี้ไม่ได้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งที่จะต้องยืนไว้อย่างนี้ เราต้องรู้ด้วยตัวของเราเอง ไม่ใช่ยี่สิบปีก็พุทโธอยู่นั่น ไม่ไปไหนเลยยัง ก ไก่ ข ไข่ อยู่ คนมาใหม่เรื่อยๆ ก็ต้องยืนพื้นฐานของการฝึกไว้ เราต้องเข้าใจนี่บอกความลับให้ ต้องวิวัฒนาการไปแล้ว
การมองตัวเองไม่ได้หมายถึง การเพ่งอย่างเดียว จิตจะอยู่ไม่นาน สมมติว่าเราเลี้ยงเด็กซนๆ จับให้นิ่งบอกว่า อย่าไปไหน ให้อยู่ตรงนี้ เขาจะอยู่ได้แป๊บเดียว แล้วก็ยุกยิกๆ จะไปแล้ว ธรรมชาติของเขานิ่งไม่ได้ เพราะอยู่ในวัยกำลังซน จิตก็เหมือนกันบังคับให้เพ่งตรงนี้ อย่าไปไหน เพ่งอยู่แป๊บเดียวก็ไปแล้ว เราต้องมีอุบายเข้าไปสำทับอีกทีว่า ให้จิตมองเพ่งไปด้วย แล้วก็อารัมภบทไปด้วย หมายถึงว่าเราต้องพิจารณาเป็นท้องเรื่อง เรื่องใด เรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการกล่อมจิตให้คล้อยตาม จะเจริญสติให้เกิดญาณได้อย่างไม่เบื่อ ถ้าซ้ำซากจิตก็เบื่อ พอเริ่มเบื่อก็เปลี่ยนท้องเรื่องใหม่ ทำให้เกิดรสชาติทำไปได้เรื่อยๆ
ทำไมต้องทำความเพียร ๒๔
ชั่วโมง ไม่งั้นไม่คุ้มไม่พอเยียวยาสงบไม่พอ ต้องทำอารมณ์ให้ขาดไปเลย
จิตถูกอบรมในตัวเราจนเห็นตัวเองชัดเจนขึ้นตามลำดับ จนถึงระดับหนึ่งเรียกว่า “สักกายทิฏฐิ”
เห็นตัวเองไม่ใช่ตัวเอง ร่างกายเป็นเพียงแต่ธาตุ ๔ ประชุมกันอยู่ การละสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ก็เกิดขึ้น
เขาจะเข้าใจขันธ์ ๕
ว่าไม่ใช่ตัวตนของเรา แต่ว่าความสว่างของจิตและความเห็นแจ้งไม่พอเหมือนตาบอดมาก่อนแล้วเริ่มเห็นรางๆ เห็นระดับ ๕๐ % คนนั้นจะไปสู่ความรู้แจ้งในที่สุด แล้วก็ทำอย่างเดิมนั้นต่อไปอีก ดวงตาดวงนั้นก็จะค่อยๆ แจ้งออกๆ
จนในที่สุดแจ้งมากจนตาเนื้อสู้ไม่ได้ แจ้งทั้งวันทั้งคืนตลอดเวลา ทำให้จิตเราหนีระบบธรรมชาติเดิมที่มีอยู่ พ้นจากอำนาจนั้นออกมา จนไม่มีอำนาจนั้นต่อไปอีกแล้ว จิตเราจะอิสรภาพที่สุดไม่ขึ้นตรงต่ออะไร
เปลี่ยนทางเดินเปลี่ยนระบบไม่มีภาพอะไรเลยมีแต่ภาพตัวเอง
แล้วภาพตัวเองจะดับอารมณ์ทั้งหมด ทำให้สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิที่ยั่งยืนไม่เสื่อม เป็นสมาธิแบบโลกุตตระ
ไม่เสื่อมในตัวเองตลอดชีวิตเลย เป็นสมาธิหนาแน่นตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง จิตเป็นหนึ่งเดียว
พร้อมทั้งการเห็นสรีระของตนขึ้นมา ก็ค้นหาความเป็นสัจจะหรือความจริงที่มีอยู่ว่า ตัวของตัวเองแท้จริง
คือ อะไร?
จิตเป็นพยานอยู่แล้วย่อมเห็นความว่างเปล่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เขาจะเห็นกองแห่งรูปก่อน แล้วเขาจะเข้าใจว่ารูปไม่เที่ยง เวทนานั้นจะเที่ยงได้อย่างไร สัญญาจะเที่ยงได้อย่างไร ? เมื่อตัวเองทั้งตัวทั้งร่างไม่เที่ยงแล้ว ความสุขความทุกข์อันใดที่อาศัยจิตเสวยนั้น ความทุกข์นั้นจะเที่ยงได้อย่างไร? เป็นปัญญาและเป็นญาณในตัว และมีการเห็นเป็นเครื่องบ่งบอกเป็นพยานแล้วก็วิเคราะห์ตามนั้น จิตจะเห็นอยู่ตลอดเวลา แล้ววิเคราะห์ความถูกต้องถึงความเป็นจริง สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของว่างเปล่า แล้วเห็นคุณ เห็นโทษ เห็นอุบายออกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของว่างเปล่า ควรหรือหนอที่เราจะส่งจิตไปในอารมณ์ต่างๆ อยู่อย่างเดิมนั้น จิตก็ตอบตามความเป็นจริงว่า ไม่ควรเลย ! อุบายออกก็คือ เลิกคิดเถอะ เลิกนึก เลิกส่งจิตไปในอารมณ์ทั้งหลาย ถึงส่งจิตไปก็ไม่ได้อะไร โลกนี้อนัตตา วางความเห็นอย่างนั้น แล้วจิตเป็นผู้เลือกทางเดินของตัวเอง สมัครใจเองที่จะหยุด ยอมหยุดเห็นความผิดของตนเอง ใจยอมที่จะหยุด จึงเป็นความหยุดที่ยั่งยืนได้
ตอนที่เราฝึกสมาธิใหม่ๆ จิตหยุดแบบบังคับแต่จิตไม่ยอมรับ เวลาเผลอจิตออกไปอีกแล้ว เวลามีอารมณ์แรงๆ จิตบังคับไม่อยู่ จิตออกไปอีกแล้วนี่คือปัญหา การแก้ปัญหาตรงนี้ต้องยั่งยืน โดยให้ตัวจิตเองต้องยอมรับขึ้นมา ถ้าจิตยอมรับแล้วเราจะไล่ให้จิตออกไปข้างนอกจิตก็ไม่ไป เพราะเห็นโทษว่า ถ้าไปก็โง่สิ จิตเปลี่ยนความเห็นแล้ว เอาจิตไปแก้ปัญหาที่จิต จนจิตเข้าไปรู้เห็นแจ้งขันธ์ ๕ แล้วจิตจะยอมรับและแก้ปัญหาเอง ทำให้การที่เราจะกั้นจิตว่า เจ้าอย่าออกไปนะ อย่าไปเที่ยวนะ ก็ไม่ต้องพูดเลยเพราะจิตเองสมัครใจที่จะหยุดแล้ว การห้ามของเราไม่มีผลอะไร? ไม่ห้ามจิตก็ไม่ไปอยู่แล้ว นี่คือสมาธิที่ยั่งยืนในตัวเอง เพราะจิตยอมรับว่า “ไปก็โง่ ! หลงโลก” ญาณเป็นเหตุผลที่ทำให้เขายอมจำนน ถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอจิตจะไม่ยอมหยุด
จิตเป็นพยานอยู่แล้วย่อมเห็นความว่างเปล่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เขาจะเห็นกองแห่งรูปก่อน แล้วเขาจะเข้าใจว่ารูปไม่เที่ยง เวทนานั้นจะเที่ยงได้อย่างไร สัญญาจะเที่ยงได้อย่างไร ? เมื่อตัวเองทั้งตัวทั้งร่างไม่เที่ยงแล้ว ความสุขความทุกข์อันใดที่อาศัยจิตเสวยนั้น ความทุกข์นั้นจะเที่ยงได้อย่างไร? เป็นปัญญาและเป็นญาณในตัว และมีการเห็นเป็นเครื่องบ่งบอกเป็นพยานแล้วก็วิเคราะห์ตามนั้น จิตจะเห็นอยู่ตลอดเวลา แล้ววิเคราะห์ความถูกต้องถึงความเป็นจริง สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของว่างเปล่า แล้วเห็นคุณ เห็นโทษ เห็นอุบายออกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของว่างเปล่า ควรหรือหนอที่เราจะส่งจิตไปในอารมณ์ต่างๆ อยู่อย่างเดิมนั้น จิตก็ตอบตามความเป็นจริงว่า ไม่ควรเลย ! อุบายออกก็คือ เลิกคิดเถอะ เลิกนึก เลิกส่งจิตไปในอารมณ์ทั้งหลาย ถึงส่งจิตไปก็ไม่ได้อะไร โลกนี้อนัตตา วางความเห็นอย่างนั้น แล้วจิตเป็นผู้เลือกทางเดินของตัวเอง สมัครใจเองที่จะหยุด ยอมหยุดเห็นความผิดของตนเอง ใจยอมที่จะหยุด จึงเป็นความหยุดที่ยั่งยืนได้
ตอนที่เราฝึกสมาธิใหม่ๆ จิตหยุดแบบบังคับแต่จิตไม่ยอมรับ เวลาเผลอจิตออกไปอีกแล้ว เวลามีอารมณ์แรงๆ จิตบังคับไม่อยู่ จิตออกไปอีกแล้วนี่คือปัญหา การแก้ปัญหาตรงนี้ต้องยั่งยืน โดยให้ตัวจิตเองต้องยอมรับขึ้นมา ถ้าจิตยอมรับแล้วเราจะไล่ให้จิตออกไปข้างนอกจิตก็ไม่ไป เพราะเห็นโทษว่า ถ้าไปก็โง่สิ จิตเปลี่ยนความเห็นแล้ว เอาจิตไปแก้ปัญหาที่จิต จนจิตเข้าไปรู้เห็นแจ้งขันธ์ ๕ แล้วจิตจะยอมรับและแก้ปัญหาเอง ทำให้การที่เราจะกั้นจิตว่า เจ้าอย่าออกไปนะ อย่าไปเที่ยวนะ ก็ไม่ต้องพูดเลยเพราะจิตเองสมัครใจที่จะหยุดแล้ว การห้ามของเราไม่มีผลอะไร? ไม่ห้ามจิตก็ไม่ไปอยู่แล้ว นี่คือสมาธิที่ยั่งยืนในตัวเอง เพราะจิตยอมรับว่า “ไปก็โง่ ! หลงโลก” ญาณเป็นเหตุผลที่ทำให้เขายอมจำนน ถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอจิตจะไม่ยอมหยุด
ฉะนั้น การอบรมจิตตรงนี้ เป็นที่มาของการอบรมมรรคมีองค์ ๘
อันเดียวกัน เมื่อเป็นดังนี้แล้ว กิเลสเก่าก่อนที่มีอยู่ เช่น ราคะ ชัดเจนว่าคนเราเกิดมาก็มีกิเลสราคะที่ยึดเกาะจิตใจของเรามาทุกภพทุกชาติ
เราจะเห็นว่าธรรมชาตินี้แก้ไขได้อยู่ที่จิตดวงเดียวนี้เท่านั้น
จิตที่คิดไปเริ่มแรกนั้น กิเลสตัวนี้มีหน้าตาอย่างไร
ต้องสร้างภาพขึ้นมาก่อนเป็นที่ตั้งของความงาม แต่ภาพนั้นจะเกิดไม่ได้ เพราะนึกถึงเราเข้ามาแทน
ภาพข้างนอกนั้นนึกไม่ออก แล้วภาพที่มาแทนนั้นยังไม่พอ การทำอย่างนั้นเป็น “การทำลายราคะ” เจ้าตัวปัญหาของธรรมชาติให้ย่อยยับ กิเลสหมดแน่ๆ
สังเกตได้ชัดเจนในตัวของผู้ปฏิบัติเอง
สิ่งเหล่านี้ทีแรกเป็นธรรมชาติที่ใครแก้ไขไม่ได้ จริงๆ แล้วแก้ไขได้
เราจะทึ่งในคำสอนของพระพุทธองค์ว่า เป็นไปได้อย่างไร?
เป็นของที่แก้ได้ไม่ใช่ว่าจิตเรากับกิเลสจะเป็นเนื้อเดียวกันก็ไม่ใช่ แสดงว่าทั้งสองสิ่งนี้ไม่ได้อยู่ด้วยกันมาก่อน
แต่มาอยู่ด้วยกันทีหลัง
และสามารถจะแกะเอาทั้งสองสิ่งนี้ออกจากกันได้ ถ้าผ้านั้นเป็นผ้าสีนี้อยู่แล้ว เราซักอย่างไรขจัดอย่างไรสีก็ต้องไม่ออก แต่ผ้าที่มีสีอย่างนี้เดิมแท้ก็เป็นสีขาว กลับกลายเป็นสีนี้เพราะมีสีปนเปื้อนต่างหาก เมื่อขจัดสิ่งปนเปื้อนออกแล้วผ้าก็ขาว เป็นผ้าที่ไม่มีสีอะไร
เป็นสีในตัวเอง ส่วนสีขาวที่เปรอะเปื้อนไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่เป็นของปนกันอยู่
ฉันใด ก็เหมือนกันกิเลสกับจิตก็เป็นสิ่งคนละอัน แต่เป็นของปนกันอยู่
แต่ปนกันเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ
ความเป็นอยู่ของคนที่เกิดมาในโลกนี้ ทุกอย่างเป็นธรรมชาติของกิเลส เราต้องทิ้งไว้ในโลกนี้จริงๆ ถ้าเราไม่ทิ้งก็จะไม่เป็นจิตหนึ่งเดียวอย่างนี้ ถ้าเราต้องการเป็นผู้มีจิตหนึ่งเดียวก็ต้องทิ้งให้หมด เสียดายไม่ได้เพราะอยู่ด้วยกันไม่ได้ ฉะนั้น ตรงนี้เป็นเหตุปัจจัยว่า สมาธิที่เกิดขึ้นโดยการทำอย่างนี้ เป็นสมาธิที่ยั่งยืนโดยตัวของสมาธิเอง แท้จริงจิตดวงนี้ไม่ได้เป็นจิตที่เคลื่อนไหวอะไร ? เป็นของไม่ได้เลื่อนไหลไปไหน? นิ่งอยู่ในตัวเองแต่ที่ไม่นิ่งเพราะมีเหตุปัจจัยต่างหาก บางคนอาจจะงงว่าเอ๊ะ ! จิตนี้เราเห็นว่า จิตคิดตลอด ไม่เห็นนิ่งเลย ก็เพราะเรามีกิเลสครอบงำอยู่ แท้จริงจิตเป็นของนิ่ง ธรรมชาติของรถยนต์เป็นของนิ่งไม่ได้วิ่ง แต่ที่วิ่งเพราะมีเหตุปัจจัยอันเดียวกัน การที่รถวิ่งไม่ใช่เพราะรถวิ่งได้เอง แต่มีเหตุปัจจัย คือ มีน้ำมันและมีคนขับ มีอุปกรณ์พร้อมจะเอื้ออำนวยให้วิ่งได้ องค์ประกอบของการวิ่งจึงเกิดขึ้น ตัวรถจอดนิ่งอยู่ถ้าไม่ขับ แสดงว่าตัวรถจริงๆไม่ใช่ของวิ่งแต่ที่วิ่งเพราะมีเหตุปัจจัย จิตเองก็เหมือนกันจิตรู้เมื่อจิตนิ่งได้สมาธิขึ้นมา ก็รู้ว่าจิตจริงๆ เป็นของประภัสสรในตัวเอง ไม่ได้วิ่งไปไหนเลย แต่จิตวิ่งไปเพราะกิเลสต่างหากที่พาให้จิตวิ่ง เอากิเลสออกสิ เอาน้ำมันเชื้อเพลิงออกอย่าขับเลยรถนั้น รถก็นิ่งอยู่ตรงนั้นอันเดียวกัน
สมาธิโลกุตตระนี้ ถ้าใครฝึกได้ก็เป็นสมาธิหนึ่งเดียวตลอดชีวิต ไม่ต้องประคองจิตยอมรับยอมสมัครใจที่จะหยุด เพราะเห็นโทษว่าโลกนี้ไม่มีอะไร เกิดความเบื่อหน่ายความจริง คือ การเบื่อหน่ายตัวเองไม่ใช่เบื่อหน่ายอะไร เพราะในโลกนี้ทั้งหมดแล้ว เรารักสิ่งใดชอบสิ่งใด สิ่งนั้นก็คือรักตัวเองชอบตัวเองนั่นเอง การเบื่อหน่ายโลกนี้ให้หมด เพื่อให้จิตคลายความยินดีเหล่านั้นออก ถ้าเราไม่คลายความยินดีในตัวเองออกได้ไม่มีทางเลย ถ้าเราจะให้จิตเบื่อหน่ายคลายโลกหรือคลายอารมณ์ของโลกออก เราจะต้องรู้แจ้งตัวเองให้เห็นชัด แล้วก็เบื่อหน่ายตัวเอง ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหา เบื่อหน่ายจนคลายความยินดีในตัวเองออก ดังนั้น พระอริยบุคคลจึงต้องละสักกายทิฏฐิ ต้องละตรงนี้ไปเรื่อยๆ การเบื่อหน่ายคลายความยินดีในตัวเองออกได้เท่าใด เราจักเบื่อหน่ายความเป็นโลกทั้งโลกนี้ออก เบื่อความเป็นหญิงเป็นชายออก เอาอารมณ์ที่จะคิดนั้นออก แล้วถึงที่สุด คือ สงบเกิดจากความเบื่อหน่ายขันธ์ ๕ นั่นเอง เบื่อหน่ายในที่นี้ไม่ใช่ไม่อยากเห็นจงเกลียดจงชัง แต่เป็นการทำให้เห็นแจ้งขันธ์ ๕ แล้วละความยินดีในตน ถอนความยึดมั่นขันธ์ ๕ ถอนอุปาทานอย่างไร แต่ถ้าไม่เห็นแจ้งขันธ์ ๕ ก็ไม่มีทางคลายความยึดมั่นในตัวตนได้ พิจารณาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีอะไร ถ้าไม่เห็นแจ้งขันธ์ ๕ ไม่มีทางออก ไม่มีอุบายออก เข้าใจอยู่ พิจารณาก็ถูกอยู่ แต่ทางออกไม่มี จิตก็ออกไม่ได้แต่ถ้าเห็นแจ้งขันธ์ ๕ ออกได้ เมื่อเห็นแจ้งแล้วเราอยู่ตรงนั้นเลย กายเราเป็นเครื่องอยู่ของจิตก็เป็นสมาธิยั่งยืนอยู่อย่างนั้น สมาธิตรงนี้สามารถลิดรอนอำนาจกิเลสที่มีอยู่ให้หมดได้จริงๆ สังเกตความเป็นหญิงเป็นชายหรือราคะดับได้จริงๆ ดับได้โดยที่จิตไม่ได้สร้างภาพอะไรขึ้นมาเลย มิหนำซ้ำการบรรลุแจ้งขันธ์ ๕ ว่าไม่ใช่ตัวตนของเราด้วย
ความเป็นอยู่ของคนที่เกิดมาในโลกนี้ ทุกอย่างเป็นธรรมชาติของกิเลส เราต้องทิ้งไว้ในโลกนี้จริงๆ ถ้าเราไม่ทิ้งก็จะไม่เป็นจิตหนึ่งเดียวอย่างนี้ ถ้าเราต้องการเป็นผู้มีจิตหนึ่งเดียวก็ต้องทิ้งให้หมด เสียดายไม่ได้เพราะอยู่ด้วยกันไม่ได้ ฉะนั้น ตรงนี้เป็นเหตุปัจจัยว่า สมาธิที่เกิดขึ้นโดยการทำอย่างนี้ เป็นสมาธิที่ยั่งยืนโดยตัวของสมาธิเอง แท้จริงจิตดวงนี้ไม่ได้เป็นจิตที่เคลื่อนไหวอะไร ? เป็นของไม่ได้เลื่อนไหลไปไหน? นิ่งอยู่ในตัวเองแต่ที่ไม่นิ่งเพราะมีเหตุปัจจัยต่างหาก บางคนอาจจะงงว่าเอ๊ะ ! จิตนี้เราเห็นว่า จิตคิดตลอด ไม่เห็นนิ่งเลย ก็เพราะเรามีกิเลสครอบงำอยู่ แท้จริงจิตเป็นของนิ่ง ธรรมชาติของรถยนต์เป็นของนิ่งไม่ได้วิ่ง แต่ที่วิ่งเพราะมีเหตุปัจจัยอันเดียวกัน การที่รถวิ่งไม่ใช่เพราะรถวิ่งได้เอง แต่มีเหตุปัจจัย คือ มีน้ำมันและมีคนขับ มีอุปกรณ์พร้อมจะเอื้ออำนวยให้วิ่งได้ องค์ประกอบของการวิ่งจึงเกิดขึ้น ตัวรถจอดนิ่งอยู่ถ้าไม่ขับ แสดงว่าตัวรถจริงๆไม่ใช่ของวิ่งแต่ที่วิ่งเพราะมีเหตุปัจจัย จิตเองก็เหมือนกันจิตรู้เมื่อจิตนิ่งได้สมาธิขึ้นมา ก็รู้ว่าจิตจริงๆ เป็นของประภัสสรในตัวเอง ไม่ได้วิ่งไปไหนเลย แต่จิตวิ่งไปเพราะกิเลสต่างหากที่พาให้จิตวิ่ง เอากิเลสออกสิ เอาน้ำมันเชื้อเพลิงออกอย่าขับเลยรถนั้น รถก็นิ่งอยู่ตรงนั้นอันเดียวกัน
สมาธิโลกุตตระนี้ ถ้าใครฝึกได้ก็เป็นสมาธิหนึ่งเดียวตลอดชีวิต ไม่ต้องประคองจิตยอมรับยอมสมัครใจที่จะหยุด เพราะเห็นโทษว่าโลกนี้ไม่มีอะไร เกิดความเบื่อหน่ายความจริง คือ การเบื่อหน่ายตัวเองไม่ใช่เบื่อหน่ายอะไร เพราะในโลกนี้ทั้งหมดแล้ว เรารักสิ่งใดชอบสิ่งใด สิ่งนั้นก็คือรักตัวเองชอบตัวเองนั่นเอง การเบื่อหน่ายโลกนี้ให้หมด เพื่อให้จิตคลายความยินดีเหล่านั้นออก ถ้าเราไม่คลายความยินดีในตัวเองออกได้ไม่มีทางเลย ถ้าเราจะให้จิตเบื่อหน่ายคลายโลกหรือคลายอารมณ์ของโลกออก เราจะต้องรู้แจ้งตัวเองให้เห็นชัด แล้วก็เบื่อหน่ายตัวเอง ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหา เบื่อหน่ายจนคลายความยินดีในตัวเองออก ดังนั้น พระอริยบุคคลจึงต้องละสักกายทิฏฐิ ต้องละตรงนี้ไปเรื่อยๆ การเบื่อหน่ายคลายความยินดีในตัวเองออกได้เท่าใด เราจักเบื่อหน่ายความเป็นโลกทั้งโลกนี้ออก เบื่อความเป็นหญิงเป็นชายออก เอาอารมณ์ที่จะคิดนั้นออก แล้วถึงที่สุด คือ สงบเกิดจากความเบื่อหน่ายขันธ์ ๕ นั่นเอง เบื่อหน่ายในที่นี้ไม่ใช่ไม่อยากเห็นจงเกลียดจงชัง แต่เป็นการทำให้เห็นแจ้งขันธ์ ๕ แล้วละความยินดีในตน ถอนความยึดมั่นขันธ์ ๕ ถอนอุปาทานอย่างไร แต่ถ้าไม่เห็นแจ้งขันธ์ ๕ ก็ไม่มีทางคลายความยึดมั่นในตัวตนได้ พิจารณาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีอะไร ถ้าไม่เห็นแจ้งขันธ์ ๕ ไม่มีทางออก ไม่มีอุบายออก เข้าใจอยู่ พิจารณาก็ถูกอยู่ แต่ทางออกไม่มี จิตก็ออกไม่ได้แต่ถ้าเห็นแจ้งขันธ์ ๕ ออกได้ เมื่อเห็นแจ้งแล้วเราอยู่ตรงนั้นเลย กายเราเป็นเครื่องอยู่ของจิตก็เป็นสมาธิยั่งยืนอยู่อย่างนั้น สมาธิตรงนี้สามารถลิดรอนอำนาจกิเลสที่มีอยู่ให้หมดได้จริงๆ สังเกตความเป็นหญิงเป็นชายหรือราคะดับได้จริงๆ ดับได้โดยที่จิตไม่ได้สร้างภาพอะไรขึ้นมาเลย มิหนำซ้ำการบรรลุแจ้งขันธ์ ๕ ว่าไม่ใช่ตัวตนของเราด้วย
ฉะนั้น
กามคุณที่เป็นความเพลิดเพลินของหมู่สัตว์ทั้งหลาย เวทนานั้นจะเที่ยงได้อย่างไร ในเมื่อจิตนี้ไม่เที่ยง เวทนานั้นจะเที่ยงได้อย่างไร เวทนาไม่เที่ยงแล้ว ควรหรือที่เราจะเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นคือตัวตน แท้จริงก็เป็นมายาอันหนึ่ง ทางที่ดี คือ ถ่ายถอนสิ่งนั้นออก เราก็ถ่ายถอนตามนั้น
จิตก็อยากดีแต่ต้องมีทางออกให้เขาจำนนต่อเหตุผล จิตจะออกได้เบื่อหน่ายคลายความเป็นโลกได้ เพราะการเห็นแจ้งตัวเองทั้งหมดออกมา
การเห็นนั้นจะเป็นสติสัมปชัญญะ เป็นความรู้ตัวทั่วพร้อม การเห็นเช่นนี้ทำให้จิตกับตัวของเราเป็นเนื้อเดียวกัน
จิตเราพิจารณาอาการ ๓๒ ตลอดเวลาซ้ำๆซากๆ นานเข้าๆ จิตจะแทรกซึมไปทุกขุมขนตามเนื้อตัวของเรา
ความจริงแล้วเราเห็นตรงไหน จิตก็ซึมอยู่ตรงนั้น ทำให้จิตถูกมัดไว้กับกายของเรา
ผูกรัดจิตติดกับตัวเราให้มากที่สุด กลายเป็นความรู้เห็นรู้ตัวทั่วพร้อมกลายเป็นสติสัมปชัญญะ สติพ่วงด้วยสติสัมปชัญญะ จนกลายเป็นมหาสติ เกิดเป็นสมาธิใหญ่โตหนาแน่นมากขึ้นมา และสมาธินี้ไม่เสื่อมตลอดชีวิตของคนๆนั้น
มีกายเดียวจิตเป็นหนึ่งเดียว จบกิจไม่ต้องทำความเพียรอีกต่อไป ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ถ้าไม่ทำความเพียรให้เกิดญาณบรรลุโลกุตตระสมาธิ
มัดจิตไว้กับตัวจนเป็นเนื้อเดียวกันเช่นนี้
จิตจะไม่มีเครื่องอยู่และจิตจะไม่อยู่กับตัว จิตก็ท่องเที่ยวไปในอารมณ์ไม่จบ ตายก็ไม่จบ ไม่ตายก็ไม่จบ ไม่ตายก็จิตก็ไม่เที่ยง เมื่อจิตเที่ยงไม่มีอารมณ์แล้วก็คือ
จบ ตายเป็นตาย เป็นชาติสุดท้ายไปเลย เพราะจิตเลิกแล้ว จิตจบการไปแล้ว ไม่ออกไปอีก
น่าเป็นห่วงมาก เรื่องการประพฤติปฏิบัติที่ไม่มากพอ
บางครั้งดวงตาในเปิดแล้วสมาธิก็ไม่เสื่อมแล้ว ถึงแม้สมาธิไม่เสื่อม ถ้าความเพียรหย่อนไม่ทำนานๆ
เข้าสมาธิจะร่นถอย สมมุติว่าทำได้ ๖๐% ความเพียรหย่อนลง ความคงอยู่ของสมาธิจะถอยร่นลงเหลือ ๕๕% หรือ ๕๐% แต่จะลดลงเหลือศูนย์นั้นเป็นไปไม่ได้
ถ้ารู้ตัวว่าที่ทำไว้ถอยร่นลงน้อยกว่าที่เคยทำไว้ เขาก็ทุกข์จะเพียรพยายามทำให้ได้มากขึ้นอีก ทุกข์ใจเองก็เพียรทำต่อไปเอง ตาดวงนี้เมื่อเปิดขึ้นแล้วเขาจะหยุดไม่ได้ เพราะรู้ว่าทุกข์ที่ยังหาทางออกไม่ได้ เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนไม่ได้
ตาดวงนี้เมื่อเปิดขึ้นแล้ว เขาจะหยุดไม่ได้ เพราะรู้ว่าทุกข์ เขาต้องการให้พ้น เกิดเบื่อเพราะความทุกข์ แต่ถ้าวนอยู่ในการทำแบบโลกิยสมาธิแบบเดิม
ก็วนอยู่อย่างนั้นไม่พ้นทุกข์ไปได้
การพิจารณากายจริงๆแล้วเป็นเรื่องของจิต
เพราะเกี่ยวเนื่องกัน
ผลที่ได้เป็นการแก้ความเห็นให้จิตยอมจำนน
ยอมรับความจริง จึงต้องพิจารณากายคตาสติ
การพิจารณาอาการ ๓๒ หรือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็นการอบรมตามมรรคมีองค์ ๘
เป็นอันเดียวกัน
เราต้องการให้จิตเป็นหนึ่ง แต่ทำไมต้องไปเห็นกายเหมือนว่า เราต้องการอย่างหนึ่ง
แต่กลับแก้อีกอย่างหนึ่ง ความจริง คือ
สิ่งเดียวกันเกี่ยวโยงกันอยู่ อุปมาดังว่า
เราต้องการมะม่วงสุก ผลไม้ที่สุกมีรสชาดหอมหวานอร่อย แต่ทำไมเราต้องไปบำรุงที่รากให้ปุ๋ยให้น้ำบำรุงเลี้ยงราก
ลำต้นและใบให้สมบูรณ์ก่อน
การที่จะให้ผลไม้ ต้นไม้
มีความงอกงามอุดมสมบูรณ์ในตัวของผลไม้เองก็ต้องทำเช่นนั้น
หากต้องการได้ผลดีก็ต้องดูแลที่รากก่อน แล้วจึงจะให้ผลที่บริบูรณ์ได้ อันเป็นที่มาของความเอร็ดอร่อยของผลไม้ดังต้องการ
ดังนั้น
การทำให้แจ้งขันธ์ ๕ คือ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ถ้าไม่แจ้งในขันธ์ ๕ ก็จะไปไม่ถึงซึ่งการพ้นทุกข์ เพราะขันธ์ ๕ เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง การไม่บำรุงรากของต้นไม้ก็ให้ผลไม่ดีเช่นกัน
การไม่ทำให้แจ้งขันธ์ ๕ ก็ไม่สามารถทำสมาธิให้ยั่งยืนได้ การเห็นแจ้งขันธ์ ๕ นำมาซึ่งสมาธิที่เป็นหนึ่งเดียวได้ เพราะการแจ้งในขันธ์
๕ เป็นที่มาของอุปาทานของจิตดวงนี้ คือ จิตยึดมั่นขันธ์ ๕ การเห็นแจ้งขันธ์ ๕ จึงเป็นการคลายปมของอุปาทานของจิตดวงนี้ กลายเป็นเอกเทศเป็นจิตดวงเดียวได้ ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งโยงใยกันอยู่
ธรรมชาตินั้น(กิเลส)ฉลาด ซ่อนเงื่อนซ่อนปมที่เรานึกไม่ถึงว่าจะเป็นเช่นนั้น
แต่ฉลาดอย่างไรก็ไล่ตามทันอยู่ ความเพียรพยายามทำซ้ำๆ ซากๆ ทำให้มากๆ นานๆเข้า ความลับจะเปิดออกมาให้รู้เห็นได้เอง แต่ทำได้ยาก
พระกับโยมข้อสอบอันเดียวกัน น่าเห็นใจฆราวาสไม่มีเวลาทำเพียงพอ
เพราะต้องทำมาหากินเลี้ยงตัวเองและครอบครัว
เพศสมณะจึงเกิดขึ้นมาด้วยเหตุอันทำได้ยากนี้
สุดท้ายนี้ก็ขอให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรม
ได้รู้เห็นแจ้งในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีบุญวาสนาบารมีทำความเพียรยิ่งๆขึ้นไป มีดวงตาเห็นธรรม ทำให้แจ้งขันธ์
๕ พ้นทุกข์ และเข้าถึงมรรคผลนิพพาน
ทุกท่าน ทุกคนเทอญ……...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น