ธรรมะหลวงปู่มั่น
ภูริทัตโต
(สรุปจากหนังสือ
“มุตโตทัย” หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
ผู้ใดสำรอกอวิชชาได้ ย่อมเข้าสู่แดนอันเกษม มีปรินิพพานเป็นที่สุด
ลูกของอวิชชา คือ สังขาร (การคิดปรุงแต่ง เป็นอาการของจิต)
หลานของอวิชชา คือ นิวรณ์ ๕ (กิเลส - ตัวปิดกั้นจิต
มิให้บรรลุถึงความดี)
เหลนของอวิชชา คือ อโยนิโสมนสิการ (การไม่น้อมจิตคิดพิจารณาธรรม โดยแยบคาย)
โหลนของอวิชชา คือ วัฏกิเลส วัฏกรรม วัฏสังสาร
มนุษย์มีบิดามารดาเป็นแดนเกิด
นโม แยกเป็น ๒ ธาตุ คือ
๑. น - ธาตุน้ำ
(แม่) ๒.โม – ธาตุดิน (พ่อ)
ฐีติภูตํ คือ
จิตเดิมแท้ เป็นแดนเกิดของ "อวิชชา" เพราะมีความหลง ซึ่งเป็นตัวดั้งเดิมของสังสารวัฏฏ์ จิตหายหลงเมื่อใด
ก็จะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดเมื่อนั้น
(อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้งในหลักธรรมอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์
การดับทุกข์ และข้อปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์
วิชชา คือ
ความรู้แจ้งในหลักธรรมอริยสัจ ๔ ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว เหตุแห่งทุกข์ได้กำหนดละแล้ว
การดับทุกข์ได้ทำให้แจ้งแล้ว และข้อปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ได้เจริญแล้ว)
วิชชา
และอวิชชา จึงเกิดที่ฐีติภูตํ เช่นเดียวกัน
ฐีติภูตํ คือ จิตเดิมแท้นั้น ไม่มีอาการของผู้หลุดพ้น
ฐีติภูตํ เป็นธรรมชาติใสสว่าง
แต่มืดมัวเพราะอุปกิเลส (เป็นของปลอม) ซึ่งจรมาทางทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ ผู้ปฏิบัติต้องทำลายของปลอมให้หมดสิ้นไป
ของปลอมก็ไม่สามารถเข้าถึงฐีติภูตํได้ แม้จะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ทางโลกอยู่
ก็ดุจน้ำกลิ้งบนใบบัว
( อุปกิเลส
๑๖ ได้แก่ โลภ พยาบาท โกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่บุญคุณท่าน ตีเสมอ
ริษยา ตระหนี่ มารยา โอ้อวด กระด้าง แข่งดี ถือตัว ดูหมิ่น มัวเมา และประมาท)
เป็นการสรุปย่อธรรมอันวิเศษได้อย่างยอดเยี่ยมเลยค่ะ
ตอบลบโมทนาสาธุค่ะ
ลบโมทนาสาธุค่ะ ถ้าคุณปฏิบัติธรรมมานานและได้ปฏิบัติมาทุกรูปแบบ แต่ยังตัดกิเลสไม่ขาด หรือหาทางจบไม่ได้ ขอแนะนำให้อ่าน "สุดยอดของแนวการปฏิบัติธรรมให้พ้นทุกข์ พิสูจน์ได้ในภพนี้ชาตินี้" ของพระอาจารย์จรัญ ทักขญาโณ วัดหลวงขุนวิน(สาขาวัดสังฆทาน จ.นนทบุรี) อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ในธรรมจากพระอริยสงฆ์ "http://tamma-anatta.blogspot.com" ได้ลงเสนอเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๖ คิดว่าจะเป็นประโยชน์มาก และหาทางออกได้ โมทนาสาธุค่ะ ขอให้คุณเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
ตอบลบ