ขันธ์ 5
(จาก
ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์)
สภาวะของขันธ์ ๕ (รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เมื่อมนสิการโดยอนัตตา เห็นอนัตตา นิมิตปรากฏเป็นภัยอันพิลึกทั้งรูปธรรม และนามธรรมโดยเปล่า โดยสูญ
๑.
เปรียบประดุจบ้านร้าง
อันว่างเปล่าหาคนอยู่ไม่ได้
๒.
เปรียบประดุจพยับแดด ปรากฏเป็นแสงระยับ ๆ แล้วแลเคลื่อนหายไป บัดเดี๋ยวใจ ไม่ยั่งยืน
สังขารธรรม
ที่พาสัตว์ท่องเที่ยวไปในภพต่าง ๆ ก็เป็นภัยอันพิลึกแก่พระโยคาพจร ที่พิจารณาพระอนัตตา และกระทำมนสิการโดยอนัตตา
เมื่อพิจารณาเห็นภัยของสังขารธรรมอยู่เนืองๆ
ทำให้มาก ๆ ในขันธสันดานแล้ว ย่อมสิ้นรัก
สิ้นใคร่ สิ้นความปรารถนา อาลัย ในสังขารธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง ภพทั้ง ๓ ก็ปรากฏเป็นประดุจ ขุมถ่านเพลิงอันเป็นเปลวรุ่งโรจน์
๑. มหาภูตรูป ทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม)นั้น ก็ปรากฏประดุจอสรพิษทั้ง ๔ ตัว ล้วนมีพิษอันพิลึก
๒. ปัญจขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์นั้น ปรากฏประดุจนายเพชฌฆาตทั้ง ๔ ถือดาบเงือดเงื้อไว้ คอยอยู่ที่จะฟาดฟันให้บรรลัย
๓. อายตนะภายในทั้ง ๖ คือ จักขาวายตนะ(ตา) โสตายตนะ(หู)
ฆานายตนะ(จมูก) ชิวหายาตนะ(ลิ้น) กายายตนะ(กาย) มนายตนะ(ใจ)นั้น ปรากฏประดุจบ้านร้าง บ้านเซ
บ้านเปล่าสูญสิ้นทั้ง ๖ บ้าน
๔. อายตนะภายนอกทั้ง ๖ คือ
รูปายตนะ(รูป) สัททายตนะ (เสียง) คันธายตนะ(กลิ่น)
รสายตนะ(รส) โผฏฐัพพายตนะ(สัมผัส)
ธัมมายตนะ(ธรรมารมณ์)นั้น ก็ปรากฏประดุจโจร
๖ คน
อันมีฝีมือกล้าหยาบช้าทารุณ
เข้าบ้านไหนก็จะฆ่าชาวบ้านนั้น ให้ถึงซึ่งความพินาศฉิบหาย
วิญญาณฐิติ
๗ (ภูมิที่ตั้งของวิญญาณ ๗ ภูมิ ) และสัตตาวาส ๙ (ภพที่อยู่ของสัตว์ ๙
ภพ)นั้น ปรากฏประดุจเพลิง ๑๖ กอง
ไหม้เป็นเปลวโดยรอบ
กอปรด้วยรัศมีเพลิงรุ่งโรจน์โชตนาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น