พระสัทธรรม ๓
(พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
สัทธรรม แปลว่า
ธรรมของสัตบุรุษ หมายถึง ธรรมอันดี ธรรมที่แท้ ธรรมของสัตบุรุษ เป็นพระพุทธพจน์ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า
เรียกโดยเคารพว่า “พระสัทธรรม” เป็นหลักหรือแก่นของศาสนามี
๓ ประการ คือ
๑. ปริยัติ คือ พระธรรมคำสั่งสอนหรือพระธรรมวินัย
อันจะต้องเล่าเรียน เป็นภาคทฤษฎี เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของการปฏิบัติแจ่มแจ้ง
ถูกต้อง อันเป็นองค์ประกอบสำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือแสงประทีปแห่งชีวิตว่า
จะทำอย่างไร และเมื่อปฏิบัติตามแล้ว จะได้ผลอย่างไร ถือว่าเป็นหลักการเบื้องต้นของการศึกษาทางพระพุทธศาสนา
๒. ปฏิบัติ คือ
ลงมือปฏิบัติตามพระธรรมวินัย คือมรรคมีองค์ ๘ หรือหลักไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา
ด้วยความเพียรอย่างต่อเนื่อง มั่นคง เพื่อพัฒนาจิตไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน
๓. ปฏิเวธ คือ
ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติ หรือผลอันพึงเข้าถึง บรรลุด้วยการปฏิบัติ
ตามพระธรรมวินัยหรือหลักไตรสิกขา คืออริยมรรค ๔ อริยผล ๔ นิพพาน ๑ เป็นอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี
พระอานาคามี และพระอรหันต์
เป้าหมายสูงสุดของพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา
คือ นิพพาน ซึ่งเป็นบรมสุข ดังพระพุทธพจน์ "นิพพานํ ปรมํ สุขํ"
สุขอื่นใดเสมอพระนิพพานนั้นไม่มี เป็นสุขที่
ปราศจากกิเลสตัณหาทั้งปวงโดยสิ้นเชิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น